ประกาศสำนักงาน เรื่องรับสมัครสอบแข่งขันบุคคลเพื่อเป็นลูกจ้างกลุ่มงานบริการ(ขับรถยนต์) ปฏิบัติงานสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 2

rnดาวน์โหลด

แจ้งให้สำนักงานสาขาจังหวัด ดำเนินการออกใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร (กฟก.5) สำหรับมอบให้องค์กรเกษตรกร ตามแบบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร (กฟก.5) และตัวอย่างการออกใบทะเบียน ตามเอกสารที่แนบ

rn

หนังสือ  กฟก 0100/ว 2522

rn

แบบฟอร์ม กฟก.5 (ออกให้องค์กร)

rn

แบบฟอร์มทะเบียนคุม กฟก.5

ขอเชิญร่วมงาน “บุญแจกข้าว” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แด่ คุณรณชิต ทุ่มโมง

rn

ณ ศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายสมัชชาเกษตรกรรายย่อย เขตพนมดงรัก ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

rn

ในวันที่ 5-7 มกราคม 2556

การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานและลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

ดาวน์โหลดรายละเอียดและบัญชีรายชื่อผู้จะเป็นสมาชิก

rn

 

rn

DSCN3771-1DSCN3772-2DSCN3774-2

จังหวัดระยอง

rn

งบกู้ยืมในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

rn

ของกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา 

rn

งบประมาณ 160,000 บาท 

rnry55-1rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดระยองได้รับอนุมัติแผนและโครงการฯ ในงบกู้ยืมจำนวน 160,000 บาท ชื่อโครงการ“ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ”  ขององค์กรเกษตรกร   กลุ่มอำเภอแกลงบูรพาจำนวน 1 โครงการ ทางองค์กรเกษตรกรจัดประชุมสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ       โดยมีนายธนสรรค์  สีสมรักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดระยอง ได้แนะนำวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติในการดำเนินงานในโครงการให้แก่เกษตรกรสมาชิกรับทราบ ณ  ที่ทำการขององค์กรเกษตรกรดังกล่าวเมื่อวันที่  1 พฤษภาคม 2555 และจัดทำสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่      14 พฤษภาคม  2555  ที่ผ่านมา

rn

rnry55-2ry55-3rn

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดระยองร่วมจัดทำสัญญากู้ยืมเงินในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีนายดอกไม้   ใจหาญประธานองค์กรเกษตรกรกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา    และคณะกรรมการร่วมลงนาม

rnry55-4rn

นายทองอบ  ถนอมวงศ์ รองประธานกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาขาจังหวัดระยองได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจดูลานหมักปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  ซึ่งเป็นบริเวณบ้านของนายวิรัตน์  ทองหล่อ เกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ณ ต.พังราด อ.แกลง จ.ระยอง  โดยเกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นชาวสวนชาวไร่ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่หมักได้จะนำมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

rnry55-5 ry55-6rn

นายธนสรรค์  สีสม  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดระยองได้มอบเช็คเงินกู้ยืมงวดที่ 1 ให้แก่นายดอกไม้  ใจหาญ ประธานองค์กรเกษตรกรกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดมุกดาหาร  

rn

ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร (บริเวณโรงเรียนมุกดาลัย) ถ.พิทักษ์พนมเขต อ.เมือง จ.มุกดาหาร ๔๙๐๐๐ 

rn

 

rn

**** สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.มุกดาหาร  ยังคงเดินหน้าเชิงรุก ปีงูใหญ่ 2555 ต่อไป ในการชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตร ล่าสุดได้อนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 23 ราย เป็นเงินกว่า 1,407,680.96 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบหกสตางค์) ประกอบ 2 สหกรณ์  ****

rn

rn

นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร ยังให้ความสำคัญในการชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อต้องการให้พี่น้องเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในด้านงานจัดการหนี้  ได้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกรเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จากที่ผ่านมา ล่าสุดได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร จำนวน   23  ราย  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,407,680.96 บาท  (หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบหกสตางค์) แยกเป็น  

rn

หนี้สหกรณ์การเกษตรนิคมพัฒนา  จำกัด 14 ราย เป็นจำนวนเงิน  622,423.04บาท 

rn

(หกแสนสองหมื่นสองพันสี่ร้อยยี่สิบสามบาทสี่สตางค์)  

rn

เช็คลงวันที่  30  เมษายน 2555

rn

หนี้สหกรณ์นิคมดอนตาล จำกัด 9 ราย เป็นจำนวนเงิน 785,257.92 บาท 

rn

(เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันสองร้อยห้าสิบเจ็ดบาทเก้าสิบสองสตางค์)

rn

เช็คลงวันที่  30  เมษายน 2555

rn

ซึ่งสมาชิกเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน กล่าวถึงความรู้สึกว่า ดีใจมากที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เข้ามาช่วยเหลือ   เพราะเป็นหนี้ที่ค้างชำระกับเจ้าหนี้มานานแล้ว  และกังวลเรื่องดอกเบี้ยด้วย ดังนั้น เจ้าตัวพร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ โดยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูฯ  เพื่อปรับกระบวนทัศน์ /ปรับแนวคิดการดำเนินชีวิตแบบใหม่  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสำนักงานสาขา จ.มุกดาหาร  มีแผนฟื้นฟูฯไว้รองรับอยู่แล้ว  ต่อไป

rn

rn

หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  ยังมีสหกรณ์ฯ   ซึ่งเป็นเจ้าหนี้  ได้ยื่นเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการรับชำระหนี้แทน
มาเพิ่มเติมอีกอย่างต่อเนื่อง  จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของสาขาจังหวัด  ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนเกือบ 100
%  เป็นจำนวนกว่า สามแสนกว่าบาท ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ แน่นอน

rn

นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดมุกดาหาร  อยากเพิ่มเติม   ก็คือ การรับชำระหนี้คืนจากสมาชิกเกษตรกรที่กองทุนฟื้นฟูฯได้ชำระหนี้แทนแล้วนั้น เกษตรกรบางรายก็ให้ความสำคัญและยังคงเข้ามาจ่ายชำระเงินคืนให้กับกองทุนฟื้นฟู ณ  สาขาจังหวัดมุกดาหารเมื่อครบกำหนดอย่างต่อเนื่อง  ส่วนบางรายที่ยังไม่ได้มาชำระเงินคืนทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟู สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้มีแผนงานในการติดตามการชำระหนี้คืนให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ   อย่างต่อเนื่อง   ได้แก่ การตรวจสอบการครบกำหนดรอบการชำระหนี้     ของสมาชิกแต่ละรายที่ได้รับการชำระหนี้แทน และต้องมาชำระหนี้คืนให้กับทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า  รวมถึงการลงพื้นที่พบปะ เยี่ยมเยือนสมาชิกรายองค์กร/รายบุคคล เพื่อเป็นการให้กำลังใจ และสอบถามความเป็นอยู่ ของการดำเนินชีวิต   เป็นต้น

rn

เมื่อได้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร เสร็จสิ้นแล้ว ในส่วนของสาขาจังหวัดที่จะต้องทำก็คือ การจัดทำนิติกรรมสัญญา แต่ละรายให้สมบูรณ์ ซึ่งสาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการจัดทำนิติกรรมสัญญา เสร็จสิ้นครบทุกรายแล้วทั้งสองสหกรณ์

rn

อีกประเด็นหนึ่ง หัวหน้าสำนักงานยังคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ทั้งที่เซ็นต์ ปคน.3 ไปแล้ว ยังคงติดตามผลการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ส่วนที่ยังไม่ได้เซ็นต์สัญญา ปคน.3 หัวหน้าสำนักงานก็ให้ความสำคัญ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯและรอการอนุมัติรายชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันเจ้าหนี้ ต่อไป

rn

ส่วนโครงการเงินกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท ที่ได้อนุมัติผ่านทั้งหมด 12 องค์กร ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร กำลังดำเนินการจัดทำ เรื่องเงื่อนไข กฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรให้สมาชิกมีความเข้าใจ ในกระบวนการต่างๆร ก่อนทำสัญญารับเงินกู้ยืมนำไปบริหารจัดการในองค์กร และทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีการกำหนดการฝึกอบรมโครงการ “ พัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืม” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม ณ โรงแรมธารจินดา รีสอร์ท

rn

ส่วนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่าน ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้จัดประชุมคณะกรรมการจังหวัด ครั้งที่ 4/2555 ได้ประชุมหารือเรื่อง ต่างๆดังหนี้
– การจัดการหนี้
NPA และหนี้นิติบุคคลอื่นให้กับพี่น้อง
– การชำระหนี้แทนเกษตรกรที่ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่
– ชี้แจงการดำเนินงานโครงการกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท
– การรับรองการขึ้นทะเบียนหนี้และทะเบียนองค์กรให้กับสมาชิก
– ชี้แจงเงินสนับสนุน 7,000 บาท สำหรับสมาชิกที่ได้รับสิทธิโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ
ทั้งนี้ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้รับเกียรติจากทาง ผู
้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ 3 พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการในครั้งนี้ด้วย
ทางคณะอนุกรรรมการจังหวัดมุกดาหารได้ฝากให้ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ 3 เป็นตัวแทนผลักดันในการขับเคลื่อน การอนุมัติเงินฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ
(เงิน 7,000) รวมถึงรายชื่อสมาชิกที่ผ่านการอบรมแล้วแต่ยังไม่ได้เซ็นต์ ปคน3. เพราะรายชื่อไม่ตรงกับทางสถาบันเจ้าหนี้ ตลอดจนร่วมปรึกษาหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.วิญญู สะตะ ได้ฝากยุทธศาสตร์ การสะสางงานเก่าที่ยังค้างคาให้ดำเนินการลุล่วงไปได้ด้วยดี พร้อมทั้งการดำเนินงานภายในสาขา ประกอบด้วย

rn

– การบริหารงานสำนักงาน
– งานด้านการฟื้นฟูอาชีพ

rn

– งานด้านการจัดการหนี้
– โครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ
– งานเฉพาะกิจของสาขาจังหวัด

rn

rn

(*_*)   สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร จะยังคงเดินหน้าต่อไป  เพราะความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องเกษตรกร คือหัวใจสำคัญของเรา (*_*)

ratbury

rn

เมื่อวันที่  18  เมษายน  2554  นายธวัชชัย  สำโรงวัฒนา  อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน  ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  พร้อมคณะฯ ได้ไปเป็นประธานในพิธีเปิดงานนิทรรศการ  “พระราชดำริจากยอดเขาสู่ชาวเลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในวโรกาสมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  7  รอบ”  ซึ่งสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดราชบุรีจัดขึ้น  ระหว่างวันที่ 18-20  เมษายน  2554  ณ ศาลาอเนกประสงค์วัดดอนเสลา  ตำบลท่าผา  อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี

rn

ในโอกาสนี้  นายธวัชชัย  สำโรงวัฒนา พร้อมคณะฯ ได้แวะตรวจเยี่ยมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดราชบุรี  และให้ข้อคิดในการปฏิบัติงานแก่พนักงานและลูกจ้าง  โดยมี นายสุพจน์  แสงประทุม  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2  จังหวัดราชบุรี  ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี  และ นายมนตรี  ทองปรีชา  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดราชบุรี  พร้อมด้วยพนักงานและลูกจ้างให้การต้อนรับโดยพร้อมเพรียง

news_290454-1

rn

เมื่อวันที่  28  เมษายน 2554 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้จัดประชุมหารือร่วมกรรมการผู้แทนเกษตรกร และผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  และที่ปรึกษากองทุนฟื้นฟูฯ ครั้งที่ 3/ 2554 โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. …. การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รวมทั้งพิจารณาการสรรหารักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกร ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

 

**** หลักเกณฑ์การดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ****

rn

     คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อสรุปการหารือระหว่างกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ. ธนาคารกรุงไทย) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้ง 6 ข้อ ดังนี้

rn

     1. การดำเนินการเริ่มต้นจะดำเนินการกับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ซึ่งเกษตรกรลูกหนี้จำนวนนี้มีประมาณ 80,000 ราย ซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. บมจ. ธนาคารกรุงไทย ธอส. และ ธ.ออมสิน โดยสถานะหนี้เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ 31 ธันวาคม 2552 โดยกำหนดต้นเงินไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อราย และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว เกษตรกรลูกหนี้จะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มกับสถาบันการเงินในโครงการทั้ง 4 ธนาคาร

rn

     2. การปรับโครงสร้างหนี้ จะเป็นการพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ต้นเงินและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมด เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายแล้ว

rn

     3. การผ่อนชำระ เกษตรกรลูกหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องผ่อนชำระอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามฤดูการขายผลผลิตเรียบร้อยแล้ว และไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี เว้นแต่เกษตรกรลูกหนี้ประสงค์จ่ายเป็นรายเดือน โดยให้ 3 ฝ่าย คือ เกษตรกรลูกหนี้ สถาบันเจ้าหนี้ และกองทุนฟื้นฟูฯ หารือร่วมกันเพื่อตกลงกันเป็นราย ๆ

rn

     4. อัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ยคือ MRR ของต้นเงินเดิมแต่ธนาคารเรียกเก็บเพียง MRR-3 ของต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งหลังปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยดอกเบี้ยที่ไม่เรียกเก็บจะได้รับการลดให้ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรลูกหนี้ได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายแล้ว

rn

     5. การผิดนัดชำระ จะใช้หลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคือ 90 วัน นับจากวันครบกำหนดชำระ และธนาคารสามารถดำเนินคดีตามปกติได้ โดยมีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้

rn

       5.1 กรณีประสบภัยพิบัติ ไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระ แต่ต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงว่าประสบภัยพิบัติจริง และในระหว่างระยะการกู้ 15 ปีนั้น ระยะเวลาที่ประสบภัยพิบัติต้องรวมกันไม่เกิน 2 ปี (จำนวนครั้งไม่จำกัด)

rn

       5.2 กรณีเกษตรกรมีปัญหาสุขภาพ ต้องมีเอกสารรับรองและจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

rn

       5.3 กรณีมีเหตุอันควรให้พิจารณาผ่อนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

rn

     โดยกรณีข้อยกเว้นดังกล่าว จะมีคณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณา และหากสุดท้ายเกษตรกร ลูกหนี้กลับมาเป็นเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เกษตรกรลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้ตามนิติกรรมเดิม ซึ่งจะถูกเรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่พักไว้ทั้งหมด (ตามข้อ 2) และดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้เรียกเก็บในส่วนของหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว (ตามข้อ 4)

rn

     6. สำหรับลูกหนี้ที่มีหลักประกันและหลักประกันมีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้ที่ได้รับการพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) นั้น เพื่อความถูกต้อง รอบคอบ และรัดกุม เห็นควรเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายในประเด็นความรับผิดชอบของกรรมการธนาคารที่จะอนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรที่จะทำให้ธนาคารได้รับคืนเงินต้นต่ำกว่ามูลค่าหลักประกัน
เรื่องเดิม ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างบูรณาการ ได้เสนอการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้มีการปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ต้นเงินและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายแล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประสานงานกับธนาคารทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ. ธนาคารกรุงไทย) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 

rn

อ่านเพิ่มเติม

rn