นที่ 15 ก.พ. 66 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมกรมการพัฒนาชุมชน นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการรองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. และผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูฯ รองผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูฯ ประชุมหารือร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน โดยมี นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน นายสุขศักดิ์ แหล่งหล้า ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน และนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรสมาชิก กฟก. ที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ให้ครบถ้วนตามกระบวนการที่ ครม.อนุมัติไว้

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า “การหารือกับกรมการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ SME Bank จำนวน 50,621 ราย ได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อเกษตรกรกลุ่มนี้เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว มติครม.ได้ระบุไว้ว่า ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานกับกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของตนในกรอบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรยืนยันเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวนกว่า 2 หมื่นราย และอยู่ในขั้นตอนเตรียมลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ หากเกษตรกลุ่มนี้ปรับโครงสร้างหนี้แล้วก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการตามที่ ครม.อนุมัติไว้ ซึ่งต้องทำงานเชื่อมโยงกับ พช. ที่เป็นหน่วยดูแลภารกิจเรื่องนี้”

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 347/2563 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) เพื่อขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มีหน่วยงานทุกภาคส่วนเป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการ ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน องค์กรในระดับท้องถิ่น เป็นผู้ขับเคลื่อนงานให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทุกกลุ่ม โดยทาง พช.เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะ

ภายหลังจากที่มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลในเบื้องต้น ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงาน และเห็นช่องทางที่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน สำหรับแนวทางการเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่นั้นจะต้องนำเสนอโดย พช. และ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพิจารณาเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการ ในส่วนของ กฟก. จะมีหนังสือประสานกับท่านอธิบดี พช. ในฐานะเลขานุการคณะ เพื่อพิจารณาประสานต่อฝ่ายนโยบายตามลำดับขั้นตอน และจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันต่อไปด้วย ทั้งนี้ พช. พร้อมประสานกับทุกหน่วยงานเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน