วันที่ 10 เมษายน 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสุรชัย เบ้าจรรยา
พร้อมด้วย กรรมการบริหารกองทุนฯ เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก พนักงานและลูกจ้าง ร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระ เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ปีใหม่ไทยพร้อมถือโอกาสเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย และนอกจากนี้ยังร่วมกันรดน้ำดำหัวขอพรจากประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ นำโดย รองเลขาธิการ ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง โดยทุกคนร่วมใจใส่เสื้อลายดอกสีสันสดใส
ทั้งนี้ ประธานกรรมการบริหาร ได้กล่าวอวยพรให้ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างทุกคนพบกับความเจริญรุ่งเรือง
มีความสุข สุขภาพแข็งแรงอยู่ร่วมงานกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อเป็นกำลังหลักให้แก่เกษตรกรต่อไป
โดยกิจกรรมสำคัญดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย อีกทั้งยังเป็นโอกาสพิเศษที่ ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง จะได้สรงน้ำพระและรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ เพื่อเสริมสิริมงคลรับปีใหม่ไทย 2567 สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความรัก อบอุ่น ประทับใจและมีความสุข

อ่านต่อ

วันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมโรงแรม ดิ ไอเดิล โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ จังหวัดปทุมธานี นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานการประชุมสัมมนาเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2568 – 2572 ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2567 โดยมีคณะทำงานร่างยุทธศาสตร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาค 4 ภูมิภาค

นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหาร ในฐานะประธานคณะทำงานร่างยุทธศาสตร์ กล่าวเปิดงานในเวลา 13.00 น. ว่า การจัดสัมมนาเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 วันในครั้งนี้ เพื่อจะถอดบทเรียนจากการทำงานของ กฟก. ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา ด้วยการเปิดเวทีระดมความคิด นำเสนอโครงสร้างของแต่ละสำนัก เพื่อกลั่นกรองมาเป็นแผนยุทธศาสตร์การทำงานที่มีทิศทาง และมีความเป็นไปได้ เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันในทุกระดับ ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค องค์กรเกษตรกร สมาชิก พนักงาน ทุกกลไกเหล่านี้จะต้องเดินไปพร้อมกันตามอำนาจหน้าที่ การสนับสนุนให้องค์กรเกษตรกรเกิดความเข้มแข็ง เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตได้จริง เป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะฉะนั้น แผนยุทธศาสตร์ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้านี้ จะมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ นำไปสู่การของบประมาณสนับสนุนมาพัฒนาเกษตรกรตามเป้าหมายได้

สำหรับเนื้อหาในวันแรกเป็นการนำเสนอโครงสร้างองค์กรและการบริหารสำนักงาน และองค์กรเกษตรกรสมาชิก โดยผู้อำนวยการแต่ละสำนัก เพื่อทบทวนสภาพแวดล้อมภายในของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่มีสภาพแวดล้อมภายนอกมาเกี่ยวโยงด้วย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิน สังคม ในช่วงเย็นมีการทบทวนยุทธศาสตร์เดิมของปี 2563 – 2567 นำมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นได้ภายใต้ข้อจำกัด เพื่อนำไปสู่การยกร่างยุทธศาสตร์ใน 5 ปีข้างหน้านี้

อ่านต่อ


นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เข้าร่วมประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการ อธิบดี หัวหน้าส่วนราขการ รัฐวิสาหกิจ ในกำกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เสนองบประมาณผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 22 หน่วยงาน เพื่อเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการชี้แจงในการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี 2567 วาระ 2-3 สภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างวันพุธที่ 20 และวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุม 401 (พอร์รูม) อาคารรัฐสภา 1 สภาผู้แทนราษฎร

อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.45 น. ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานคณะกรรมการบริหาร พร้อมด้วยกรรมการบริหาร เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วน ประชุมร่วมกับสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านระบบ Zoom Conferance เพื่อพบปะสำนักกิจการสาขาภูมิภาค สำนักงานสาขาจังหวัด โดยได้กล่าวถึงแนวนโยบายดำเนินงานบริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ในการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรสมาชิกภายหลังการได้รับการจัดการหนี้เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเป็นระบบและเข้มแข็ง 3 เพิ่ม 2 ลด คือ 1.เพิ่มรายได้ 2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. เพิ่มปัจจัยการผลิต 4. ลดรายจ่าย 5. หนี้ ภายใต้งบประมาณที่ต้องขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อนำมาดูแลพี่น้องเกษตรกรสมาชิก จึงอยากฝากถึงสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศขอให้ทำหน้าที่เพื่อพี่น้องเกษตรกรอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการนี้คณะกรรมการบริหารมีแผนจะเดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานรวมทั้งให้กำลังใจพนักงานลูกจ้างสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศด้วย

อ่านต่อ

วันอังคารที่ 6 ก.พ. 67 ที่ห้องประชุมกรรมาธิการ CB 114 อาคารรัฐสภา 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยปลัดกระทรวงเกษตรฯ และหัวหน้าส่วนราชการในกระทรวง พร้อมด้วยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และผู้บริหารสำนักงาน ได้เข้าชี้แจงงบประมาณ ปี 67 ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วุฒิสภา โดยเลขาธิการกองทุนฯ ได้นำเสนอถึงเหตุผลและความจำเป็นในการของบประมาณปี 2567 จำนวน 815 ล้านบาท โดยมีแผนงานและกลุ่มเป้าหมายรองรับตามตัวชี้วัดและนโยบายของรัฐบาลซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภา ได้ให้ความเห็นชอบตามที่เลขาธิการฯ เสนอ จากนั้นขั้นตอนต่อไปงบประมาณปี 67 ของกองทุนฯ จะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษายุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในระหว่างวันที่ 20-21 ก.พ.นี้

อ่านต่อ

บอร์ดใหญ่ กฟก. แต่งตั้งบอร์ดบริหาร – บอร์ดหนี้ สานต่อภารกิจ
แก้หนี้ ฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกร

วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกภายหลังจากที่มีการแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้นำเสนอวาระที่สำคัญต่อที่ประชุมดังนี้

  1. รายงานการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 20 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งที่ 1022/2566 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 สัดส่วนผู้แทนเกษตรกร ประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 5 คน ภาคกลาง จำนวน 4 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 คน และภาคใต้ จำนวน 4 คน
  2. รายงานการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 11 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามในคำสั่ง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ประกอบด้วยผู้ทรงภาคราชการ จำนวน 5 คน และผู้ทรงภาคเอกชน จำนวน 6 คน
  3. พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด ดังนี้
    รายชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 7 คน ประกอบด้วย นายสุรชัย เบ้าจรรยา ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน นายบัณฑิต สวยงาม ผู้สาขาเศรษฐศาสตร์ นายสุวรรณ ปิ่นรัตน์ สาขาการเงินหรือการธนาคาร นายกิตติกร เชิดชู สาขาเกษตรศาสตร์ นายกิตติพล ตะพานแก้ว ผู้แทนเกษตรกรภาคกลาง นายกุญชร สุธรรมวิจิตร ผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    รายชื่อคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร จำนวน 21 คน ประกอบด้วย นายประเสริฐ ฝ่ายชาวนา สาขาเศรษฐศาสตร์ พลตำรวจตรี ธรรมนูญ มั่นคง สาขาการเงินหรือการธนาคาร นายสิทธัญ วงค์ปั๋น สาขาเกษตรศาสตร์ นายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ นายนเรศ รัศมีจันทร์ ผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ นายเอนก น้อยแสง ผู้แทนเกษตรกรภาคกลาง นายไชยภร แย้มปั้น ผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ นายยุทธศักดิ์ ยารังษี ผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ นายจารึก บุญพิมพ์ ผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางสาวภัคสุภรณ์ สวัสดิ์ศรี ผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางนิสา คุ้มกอง ผู้แทนเกษตรกรภาคกลาง นายนิคม ฤทธิ์ศรีเรือง ผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะกรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานภาคราชการที่กำหนดไว้ 7 คน
    โดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งทั้ง 2 ชุด จะเข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรสมาชิก ทั้งด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร รวมทั้งการบริหารสำนักงานในทุกด้านให้มีความต่อเนื่องแทนคณะกรรมการชุดเดิมที่หมดวาระไปแล้ว
อ่านต่อ

กฟก. ประกาศผลเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร 4 ภาค เตรียมเสนอรัฐมนตรีก.เกษตรฯ แต่งตั้งเป็นทางการเร็ว ๆ นี้
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเพื่อเป็นคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั่วประเทศมีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 4,957 หน่วย มีเกษตรกรสมาชิกที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 5.2 ล้านคน ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 669,148 คน คิดเป็น 12%
สำหรับผลการนับคะแนนที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งรายงานผลให้กรมการปกครองทราบ

รายชื่อผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) ได้แก่

1.นายรัฐภูมิ ขันสลี จาก จ.น่าน

2.นายไชยภร แย้มปั้น จาก จ.สุโขทัย

3.นายนเรศ รัศมีจันทร์ จาก จ.เชียงราย

4.นายยุทธศักดิ์ ยารังสี จาก จ.พะเยา

5.นายประสิทธิ์ บัวทอง จาก จ.พิจิตร


ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) ได้แก่

1.นายกิตติพล ตะพานแก้ว จาก จ.ลพบุรี

2.นายเอนก น้อยแสง จาก จ.ประจวบคีรีขันธ์

3.นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล จาก จ.สุพรรณบุรี

4.นางนิสา คุ้มกอง จาก จ.ชัยนาท


ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้แก่

1.นายศักดิ์ชาย พรหมโท จาก จ.อุดรธานี

2.นางสาวภัคสุภรณ์ สวัสดิ์ศรี จาก จ.ชัยภูมิ

3.นายจารึก บุญพิมพ์ จาก จ.ศรีสะเกษ

4.นายนิคม ฤทธิ์ศรีบุญ จาก จ.สกลนคร

5.นายกุญชร สุธรรมวิจิตร จาก จ.อุบลราชธานี

6.นายสราวุธ ศุภรมย์ จาก จ.ขอนแก่น

7.นายเทอดรัฐ นาหัวนิล จาก จ.หนองบัวลำภู


ผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 4 (ภาคใต้) ได้แก่

1.นายดรณ์ พุมมาลี จาก จ.พัทลุง

2.นายยูโซ๊ะ อาเก๊ะ จาก จ.ปัตตานี

3.นางพจมาน สุขอำไพจิตร จาก จ.ชุมพร

4.นายสมบูรณ์ จิตรเพ็ญ จาก จ.นราธิวาส


ในขณะนี้กรมการปกครองได้รายงานผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการให้กองทุนฟื้นฟูรับทราบแล้ว พร้อมเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อลงนามแต่งตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร ทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อให้ได้คณะกรรมการเข้ามาทำหน้าที่โดยเร็ว

อ่านต่อ

วันที่ 11 ก.ค. 2566 ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. นำคณะผู้บริหารและพนักงานสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเกษตรกรสมาชิกในการปลูกพืชสมุนไพรและแปรรูปส่งออกไปยังประเทศจีน มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ 2 ฉบับ

ฉบับแรก ระหว่าง สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กับ สมาคมพัฒนาการแพทย์ทางเลือกไทย-จีน ในมูลนิธิการแพทย์สยามบรมราชกุมารี นำโดย นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิยม ลออปักษิณ นายกสมาคมพัฒนาแพทย์ทางเลือกไทยจีนโดยมีนายกำพล มหานุกูล ประธานกรรมการบริหาร หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ เป็นพยาน

โดยหน้าที่ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.มีหน้าที่เตรียมความพร้อมของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.และจัดส่งข้อมูลของสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้กับสมาคมพัฒนาการแพทย์ทางเลือกไทย-จีน ในมูลนิธิการแพทย์สยามบรมราชกุมารี และหน้าที่ของสมาคมพัฒนาการแพทย์ทางเลือกไทย-จีน ในมูลนิธิการแพทย์สยามบรมราชกุมารี มีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อการปลูกพืชสมุนไพร การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป และการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อส่งแปรรูปที่โรงงานของประเทศจีนที่อยู่ในประเทศไทยและส่งออกสมุนไพรไทยแปรรูปไปยังประเทศจีน

ฉบับที่สองการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครสวรรค์ กับ บริษัท นายฮั่ง อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด นำโดย นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครสวรรค์ นายถาวร เผด็จสุวันนุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นายฮั่ง อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด โดยมี นายชนะชัย แซ่เล้า ประธานองค์กรกลุ่มโคขุนพัฒนาบ้านใหม่ หมู่ 18 จังหวัดนครสวรรค์ และ นายรัตนกุล โพธิ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 เป็นพยาน

โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครสวรรค์.มีหน้าที่เตรียมความพร้อมของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ รวบรวมข้อมูลพื้นที่ปลูกถั่วเขียว จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และจัดส่งข้อมูลของสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้กับบริษัท นายฮั่ง อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด และหน้าที่ของบริษัท นายฮั่ง อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด มีหน้าที่เป็นผู้จัดหาเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว มาให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดนครสวรรค์ และต้องรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร โดยบริษัทจะประกันราคารับซื้อ

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางพัฒนาอาชีพเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยการปลูกพืชสมุนไพร เพื่อรวบรวมผลผลิต แปรรูป ส่งออกประเทศจีน โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับ สมาคมพัฒนาการแพทย์ทางเลือกไทย-จีน ในมูลนิธิการแพทย์สยามบรมราชกุมารี มีพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นพื้นที่นำร่อง มีเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 2,000 ไร่ ภายใต้เงื่อนไข บริษัทนายฮั่ง อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ได้ตกลงรับซื้อถั่วเขียวผลผลิตของเกษตรกร ในแปลงต้นแบบที่ปลูกเพื่อคัดพันธ์เจือปนออก โดยนำเป็นเมล็ดพันธุ์ที่จะขยายพื้นที่ปลูกถั่วเขียวต่อไปในแปลงเครือข่ายสมาชิกต่อไป ขณะนี้ผลผลิตถั่วเขียวของเกษตรกรที่ร่วมโครงการจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว นับเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง เป็นก้าวสำคัญของ กฟก. กับหน่วยงานพันธมิตรที่ร่วมกันผลักดันให้เกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น

อ่านต่อ

วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 ที่ ฮอล 7 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สไกร พิมพ์บึงเลขาธิการสำนักงาน กฟก. และคณะผู้บริหาร ร่วมพิธีเปิดงานการตลาดสินค้าท้องถิ่นสีเขียว Thailand Local BCG Plus Expo 2023 จัดโดยกระทรวงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการกลาดสินค้าผู้ประกอบการรายย่อย(SME) เพื่อเปิดช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เปิดงานโดยปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายกีรติ รัชโน) ผู้ร่วมงานประกอบด้วย อธิบดีกรมต่างๆ ในกระทรวงพาณิชย์ พาณิชย์จังหวัดจากทั่วประเทศ ฑูตพาณิชย์จาก 48 ประเทศทั่วโลก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และแขกรับเชิญจากภาคราชการเอกชน และผู้ประกอบการสินค้ารายย่อย 200 ราย จากทั่วประเทศ โดยมีการถ่ายทอดสดพิธีเปิดไปยัง 48 ประเทศทั่วโลก ในงานมีการจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตทั้ง 200 ราย จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 7-9 กรกฎาคม 2566

อ่านต่อ