ขอนแก่น

วันที่ 18 มิถุนายน ที่ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  นายสมยศ ภิราญคำ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมผู้เกี่ยวข้อง ได้ร่วมเดินสายแก้หนี้เกษตรกรภาคอีสานใน กิจกรรมมอบเช็คชำระหนี้และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยในวันนี้ได้เดินทางมาที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อมอบเช็คเงินกองทุนฯ กว่า 26 ล้านบาท พร้อมมอบโฉนดคืนอีก 18 ราย

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในสมัยรัฐบาลชวน 2 มีการก่อตั้งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกร ด้วยการไปชำระหนี้แทนแล้วให้พี่น้องเกษตรกรมาผ่อนคืนกับกองทุนฯ นอกจากเกษตรกรจะไม่สูญเสียที่ดินทำกินแล้ว ยังสามารถฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้พึ่งพาตนเองได้ มาถึงวันนี้ตนซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนเห็นชอบร่างพรบ.กองทุนฟื้นฟูฯ โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรสำเร็จด้วยดีหลายเรื่อง

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในวันนี้ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้กับองค์กรเกษตรกรสมาชิกในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 19 โครงการ เป็นเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ 251 คน จำนวนเงิน 11,220,440 บาท และ มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกรสมาชิก จำนวน 27 ราย จาก 5 สหกรณ์ ประกอบด้วย 1.สหกรณ์การเกษตรกระนวน จำกัด 2.สหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด 3.สหกรณ์การเกษตรเมืองพล จำกัด 4.สหกรณ์การเกษตรน้ำพอง จำกัด และ 5.สหกรณ์การเกษตรอุบลรัตน์ จำกัด เป็นเงินจำนวน 14,351,604.11 บาท และเป็นที่น่ายินดีกับเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนกองทุนครบตามสัญญา จึงได้มอบโฉนดที่ดินคืนพร้อมประกาศเกียรติบัตรให้กับเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนครบถ้วนและปิดบัญชีกับกองทุนแล้ว รวมทั้งสิ้น 18 ราย

“นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ได้รักษาที่ดินทำกินไว้ให้ลูกหลาน และ ได้รับเงินสนับสนุนการฟื้นฟูอาชีพให้แก่องค์กรและสมาชิกซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พรบ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างครบวงจรทั้งด้านการฟื้นฟูอาชีพและการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้เกษตรกร ผมขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนผลักดันในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป”

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟู และ พัฒนาเกษตรกร ระบุว่า ปัจจุบันเกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร จำนวน 531,815 ราย ได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรแล้วจำนวน 29,469 ราย จำนวนเงิน 7,055.37 ล้านบาท และ ช่วยรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกรจำนวน 22,626 แปลง 161,134 ไร่  ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกที่ชำระหนี้ครบถ้วนถามสัญญาแล้ว จำนวน 8,159 ราย และ โอนหลักประกันคืนเกษตรกรแล้ว จำนวน 9,295 แปลง เนื้อที่ 68,988 ไร่

สำหรับจังหวัดขอนแก่นได้รับการชำระหนี้แทนแล้วจำนวน 453 ราย รักษาที่ดินของเกษตรกรจำนวน 111 แปลง เนื้อที่ประมาณ 938 ไร่ และโอนหลักประกันคืนเกษตรที่ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว จำนวน 121 ไร่ เนื้อที่ประมาณ 1,009 ไร่

อ่านต่อ

รองนายกรัฐมนตรี “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษรตกร(กฟก.) เป็นประธานมอบคืนโฉนดให้กับสมาชิกกฟก.อุดรฯ 30 รายที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูฯ 7.4 ล้านบาท พร้อมต่อลมหายใจเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ด้วยการมอบเช็คเงินชำระหนี้แทน 2 สหกรณ์ รวม 4.8 ล้านบาท  

วันที่ 17 มิถุนายน กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) จังหวัดอุดรธานี มีการจัดกิจกรรม “มอบเช็คชำระหนี้ให้กับสถาบันเจ้าหนี้ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) จังหวัดอุดรธานี” ที่ ห้องธนากร 1 ศูนย์ประชุมมณฑาทิพย์ฮอลล์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี และในงานนี้ยังมีบุคคลสำคัญ ได้แก่ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัด นายสมยศ ภิราญคำ รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฯ ตัวแทนจากองค์กร หน่วยงานราชการต่างๆ และ สมาชิกเกษตรกรเข้าร่วมงาน

นายสมยศ ภิราญคำ รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของงานนี้ 1.เพื่อเผยแพร่บทบาทหน้าที่และผลการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้านต่างๆ ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาค 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวทางการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรด้านต่างๆ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และ 3.เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในฐานะหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

สำหรับบทบาทของสำนักงานกองทุนฟื้นฟู และ พัฒนาเกษตรกร ในปัจจุบันด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตร จำนวน 55,588 องค์กร เกษตรกรสมาชิกจำนวน 5,646,695 ราย องค์กรเกษตรกรได้รับการสนับสนุนแล้ว จำนวน 10,811 องค์กร งบประมาณ 896,810,977 บาท แยกเป็นประเภทเงินอุดหนุน 9,588 แผน/โครงการ งบประมาณ 407,887,364 บาท และ ประเภทเงินกู้ยืม 1,253 โครงการ งบประมาณ 452,953,613 บาท โดยมีเกษตรกรได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการและได้ประโยขน์จากกระบวนการฟื้นฟูจำนวน 548,828 ราย

ข้อมูลด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร เกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร จำนวน 531,815 ราย 755,387 สัญญา เป็นเงิน 104,226.74 ล้านบาท ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ชำระหนี้แทนให้กับเกษตรกรที่เป็นหนี้สถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้งสิ้น 29,469 ราย 30,466 สัญญา จำนวนเงิน 7,055.37 ล้านบาท และ ช่วยรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกร จำนวนเงิน 22,626 แปลง 161,134 ไร่ 12.5 ตารางวา เมื่อเกษตรกรชำระหนี้คืนกองทุนครบถ้วนตามสัญญาแล้ว กองทุนจะโอนกรรมสิทธิ์หลักประกันคืนให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกที่ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำนวน 8,159 ราย และ โอนหลักประกันคืนเกษตรกรแล้วจำนวน 9,295 แปลง เนื้อที่ 68,988 ไร่ 73.7 ตารางวา

สำหรับจังหวัดอุดรธานีมีการขึ้นทะเบียนองค์กร จำนวน 1,316 องค์กร สมาชิกจำนวน 137,972 คน ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูอาชีพแล้วจำนวน 256 โครงการ จำนวนเกษตรผู้เข้าร่วมโครงการ 9,878 คน จำนวนเงิน 20,605,570 บาท ขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร จำนวน 11,128 ราย 15,483 สัญญา จำนวนเงิน 1,718,655,236.47 บาท ได้รับการชำระหนี้แทนแล้ว จำนวน 293 ราย 298 สัญญา จำนวนเงิน 43,017,018.77 บาท

อ่านต่อ

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายสวัสดิ์ ยาวฟุ่น ผู้แทนอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม ณ ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนาจลอง หมู่ 6 ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการบริหารโครงการ ขั้นตอนการปฏิบัติตามระเบียบ/หลักเกณฑ์ คู่มือการสนับสนุนโครงการของสำนักงานและข้อปฏิบัติอื่นๆ ในการดำเนินงานตามโครงการ จัดทำแผนการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการร่วมกับอนุกรรมการจังหวัด พร้อมทั้งจัดทำและลงนามสัญญาเงินกู้ยืมโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับองค์กร จำนวน 2 องค์กร คือ

  1. กลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านนาจลอง
    ชื่อโครงการ ปลูกกระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ
    สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 12 คน
    งบประมาณได้รับอนุมัติ 487,500 บาท
    ระยะเวลาการคืนเงิน 5 ปี (ปลอดดอกเบี้ย)
  2. กลุ่มเกษตรกรบ้านนาจลอง
    ชื่อโครงการ ปลูกกระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ
    สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 10 คน
    งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 450,000 บาท
    ระยะเวลาการคืนเงิน 5 ปี (ปลอดดอกเบี้ย)
อ่านต่อ

วันที่ 9 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 น. นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จังหวัดเชียงราย ได้หารือร่วมกับนายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เพื่อให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานของ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จังหวัดเชียงราย ในเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1 และมีกำหนดลงพื้นที่ร่วมกันกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ให้กับองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณตามโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ประเภทงบกู้ยืม (ไม่มีดอกเบี้ย) ดังนี้

1.กลุ่มทำไร่บ้านใหม่ร่องหวาย หมู่ 11 ต.ดงมหาวัน อ.เวียงเชียงรุ้ง โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ จำนวนเงิน 665,000 บาท
2.กลุ่มเกษตรผสมผสานร่องขุ่น หมู่ 6 ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล โครงการเลี้ยงโค จำนวนเงิน 600,000 บาท

อ่านต่อ

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.64 เวลา 11.00 น ที่ห้องประชุมบริษัท กลุ่มน้ำตาลไทย (TSM Group) โดยคณะทำงานเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้โรงงานน้ำตาล นำโดยนายนวคม เสมา รองประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร ได้เข้าพบหารือกับนายนพพร ว่องวัฒนะสิน ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฎิบัติการ กลุ่มน้ำตาลไทย เพื่อเจรจาหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ที่เป็นลูกหนี้กับโรงงานน้ำตาล กลุ่มน้ำตาลไทย ซึ่งผลการหารือครั้งนี้กลุ่มโรงงานน้ำตาลไทย ยินดีให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร โดยจะนำรายละเอียดข้อมูลหนี้ของเกษตรกรแต่ละรายไปพิจารณา หากรายไหนมีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกองทุน จะแจ้งให้ทราบ พร้อมกันนี้เห็นควรให้มีการจัดประชุมหารือกับโรงงานน้ำตาลในแต่ละภูมิภาคเพื่อทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์เงื่อนไขของกองทุนฯ ให้ทุกฝ่ายรับทราบต่อไป
ทั้งนี้คณะทำงานฯ จะได้ประสานเจรจากับบริษัท/โรงงานน้ำตาล รายอื่นๆต่อไป เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเป็นหนี้ที่จะนำไปสู่การฟ้องดำเนินคดี บังคับคดีและขายทอดตลาดทรัพย์สินต่อไป

อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 6 พ.ค.61 เวลา 10.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่างแผนบูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) และกำหนดแผนการขับเคลื่อน ณ ห้องประชุม 134 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายวิชัย ไตรสุรัตน์)สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ กฟก. และนายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร, กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมส่งเสริมสหกรณ์, กรมปศุสัตว์, กรมวิชาการเกษตร, กรมประมง, ดร.ปริญ พาณิชภักดิ์ ประธานคณะกรรมการขับธุรกิจการเกษตร (Agribusinesses) และผู้แทนสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน (สกร.) สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำหรับวัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างโครงการแผนบูรณาการที่ปลัด กษ. ได้รับทราบและเห็นชอบในหลักการไว้แล้ว และร่วมกันกำหนดแนวในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ผลตามที่กำหนดไว้

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ กฟก. ได้รายงานสรุปข้อมูลเบื้องต้นให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. กฟก. ตั้งแต่ปี 2542 ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 5.6 ล้านคน มีองค์กรเกษตรกรประมาณ 55,588 กลุ่มกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทุกกลุ่มที่ได้รับการช่วยเหลือจาก กฟก.จะต้องเข้าแผนฟื้นฟูฯ ในปี 2564 ได้รับอนุมัติงบประมาณตามแผนฟื้นฟูจำนวน 340 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้  

1) มอบหมายให้สำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน (สกร.) สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานแต่ละหน่วยงานปรับปรุงข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์

2) มอบให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จัดทำข้อมูลองค์กรเกษตรกร กฟก. และแผนโครงการฟื้นฟูอาชีพเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จะได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำ action plan ขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ต่อไป

อ่านต่อ

วันที่ 22 เมษายน 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดหนองบัวลำภู โดยนางสาวละมัย คำแสน พนักงานอาวุโส นางสาวจารุวรรณ บุญทัน พนักงานทั่วไป ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดหนองบัวลำภู ดำเนินการชำระหนี้แทนให้กับเกษตรกรจากสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองบัวลำภู จำนวน 2 ราย รวมเป็นเงิน 1,131,421.26 บาท หลักทรัพย์ 4 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ 1 แปลง 55 ตารางวา

อ่านต่อ