นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร     เป็นประธานในพิธีมอบเช็คโครงการฟื้นฟูฯ เช็คชำระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดอำนาจเจริญ ณ ศูนย์เรียนรู้ผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตรไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

กิจกรรมในครั้งนี้มีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ที่ผ่านความเห็นชอบ 14 โครงการ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ  266 ราย  14 กลุ่มองค์กร เป็นเงิน  8,835,000 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทน 3 สหกรณ์ เป็นเงิน 2,835,240.19 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา 40 ราย

กองทุนฟื้นฟูฯ มีภารกิจสำคัญที่ช่วยเหลือเกษตรกร 2 ด้าน คือ การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มยื่นเสนอแผนและโครงการของบประมาณ เพื่อใช้พัฒนาอาชีพทางการเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้ให้พี่น้องเกษตรกรสมาชิก ทั้งกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และบุคคลค้ำประกัน สำหรับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร มีองค์กรเกษตรกร จำนวน  925  องค์กร สมาชิก 112,128 ราย ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการฟื้นฟูอาชีพแล้ว 253 โครงการ งบประมาณ 24.72 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการอนุมัติโครงการฟื้นฟูเพิ่มเติม จำนวน 14 องค์กร 14 โครงการ เป็นเงิน 8.83 ล้านบาท ด้านการจัดการหนี้ ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 892 ราย จำนวนเงิน 89.9 ล้านบาท รักษาที่ดินให้เกษตรกรได้ถึง 438 แปลง เนื้อที่ประมาณ 3,688 ไร่ และโอนหลักทรัพย์คืนเกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วน 210 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,576 ไร่ โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 16 ราย เป็นเงิน 4.7 ล้านบาท ได้รับอนุมัติปิดบัญชี จำนวน 132 ราย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร     เป็นประธานในพิธีมอบเช็คโครงการฟื้นฟูฯ เช็คชำระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดอุบลราชธานี ณ สุนีย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมในครั้งนี้มีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรที่ผ่านความเห็นชอบ 13 โครงการ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ  273 ราย 13 กลุ่มองค์กร เป็นเงิน 11,333,000 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทน 3 สหกรณ์ เป็นเงิน 30,796,773.23 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา 30 ราย

กองทุนฟื้นฟูฯ มีภารกิจสำคัญที่ช่วยเหลือเกษตรกร 2 ด้าน คือ การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มยื่นเสนอแผนและโครงการของบประมาณ เพื่อใช้พัฒนาอาชีพทางการเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้ให้พี่น้องเกษตรกรสมาชิก ทั้งกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และบุคคลค้ำประกัน สำหรับจังหวัดอุบลราชธานีมีองค์กรเกษตรกร 1,043 องค์กร สมาชิก 223,909 ราย ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการฟื้นฟูอาชีพแล้ว 194 โครงการ งบประมาณ 22.18 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการอนุมัติโครงการฟื้นฟูเพิ่มเติม จำนวน 13 องค์กร 13 โครงการ เป็นเงิน 11.33 ล้านบาท ด้านการจัดการหนี้ ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 408 ราย จำนวนเงิน 85.20 ล้านบาท รักษาที่ดินให้เกษตรกรได้ถึง 303 แปลง เนื้อที่ประมาณ 2,335 ไร่ และโอนหลักทรัพย์คืนเกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วน 87 แปลง เนื้อที่ประมาณ 681 ไร่ โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 35 ราย เป็นเงิน 33.40 ล้านบาท ได้รับอนุมัติปิดบัญชี จำนวน 30 ราย

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายสวัสดิ์ ยาวฟุ่น ผู้แทนอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม ณ ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนาจลอง หมู่ 6 ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการบริหารโครงการ ขั้นตอนการปฏิบัติตามระเบียบ/หลักเกณฑ์ คู่มือการสนับสนุนโครงการของสำนักงานและข้อปฏิบัติอื่นๆ ในการดำเนินงานตามโครงการ จัดทำแผนการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการร่วมกับอนุกรรมการจังหวัด พร้อมทั้งจัดทำและลงนามสัญญาเงินกู้ยืมโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับองค์กร จำนวน 2 องค์กร คือ

  1. กลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านนาจลอง
    ชื่อโครงการ ปลูกกระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ
    สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 12 คน
    งบประมาณได้รับอนุมัติ 487,500 บาท
    ระยะเวลาการคืนเงิน 5 ปี (ปลอดดอกเบี้ย)
  2. กลุ่มเกษตรกรบ้านนาจลอง
    ชื่อโครงการ ปลูกกระเทียมปลอดภัยจากสารพิษ
    สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 10 คน
    งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 450,000 บาท
    ระยะเวลาการคืนเงิน 5 ปี (ปลอดดอกเบี้ย)

รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

ตามที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีภารกิจเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน และฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรสมาชิกที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 5 ล้านคนนั้น

โดยในภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ได้เปิดให้กลุ่มองค์กรเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ยื่นเสนอแผนหรือโครงการ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนและพัฒนาอาชีพ ตามที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้อนุมัติงบประมาณ และคณะกรรมการบริหาร นำโดยนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหาร พิจารณาจัดสรรงบประมาณลงสู่กลุ่มองค์กรเกษตรกรสมาชิกที่ยื่นเสนอของบประมาณสนับสนุนอาชีพ และภายใต้การอนุมัติงบประมาณดังกล่าว จึงได้จัดให้มีเวทีพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของคณะกรรมการบริหาร

 สำหรับเวทีแรกในครั้งนี้ นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2 พร้อมด้วยนายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พนักงานสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อนุกรรมการจังหวัด ร่วมกันกลั่นกรองแผนและโครงการที่องค์กรเกษตรสมาชิกยื่นเสนอผ่านสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ​ ยโสธร​ สุรินทร์​ อุบลราชธานี​ บุรีรัมย์​ อำนาจ​เจริญ​ และมุกดาหาร​

เวทีในครั้งนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมศรีลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจัดเวทีระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2564 ผลการพิจารณากลั่นกรอง จะนำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาต่อไป

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 นายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูฯ ณ วัดน้ำแรม ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ร่วมกับเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดแพร่ ตามที่มีองค์กรเกษตรกรได้ยื่นเสนอแผนเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนพัฒนาอาชีพ ตามแผนของสำนักงานสาขา เพื่อขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนอาชีพให้กับสมาชิก

นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า ตามที่องค์กรเกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ในมาตรา 31 องค์กรเกษตรกรมีสิทธิขอรับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้ทำแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรยื่นต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาจังหวัดที่เป็นที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร และมาตรา 37/9 เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ โดยในปีงบประมาณ 2563 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 มีองค์กรเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ยื่นเสนอแผนหรือโครงการแล้ว จำนวน 1,538 องค์กร งบประมาณรวม 8,033,522,789 บาท

โดยเฉพาะในวันที่ 24-25 ธันวาคม 2563 ได้มีองค์กรเกษตรกรยื่นเสนอแผนหรือโครงการตามระเบียบใหม่    ที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้มีมติเห็นชอบระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วย การพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร การติดตามและประเมินผลการดำเนินการ การเบิกจ่ายเงิน และการใช้คืนเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2563 ไปเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 จำนวน 168 องค์กร เป็นเงินงบประมาณ 6,292,308,563 บาท โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 62 องค์กร งบประมาณ 2,287,237,222 บาท ภาคกลาง 36 องค์กร งบประมาณ 1,135,890,741 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 62 องค์กร งบประมาณ 2,860,622,329 บาท และภาคใต้ 8 องค์กร งบประมาณ 8,558,271 บาท

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะดำเนินการพิจารณาแผนหรือโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เบื้องต้นมีงบประมาณเพื่อใช้ในการฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรอยู่ 340 ล้านบาท จะอนุมัติให้หมดภายในไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2564 นี้ อย่างไรก็ตามสำนักงานได้จัดทำแผนของบกลางเพิ่มเติมสำหรับการฟื้นฟูอาชีพ จำนวน 3,290 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้นองค์กรเกษตรกรสามารถยื่นเสนอแผนหรือโครงการได้ ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดอันเป็นที่ตั้งขององค์กรได้ หากเกษตรกรต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนองค์กร การยื่นเสนอแผนหรือโครงการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดทั่วประเทศ ในเวลาราชการ  08.30 น. – 16.30 น. นายสไกรกล่าว

  1. ประกาศ สนง.เรื่อง มาตรการกำหนดระยะเวลาในการบริการองค์กรเกษตรกร ในการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนและเพิกถอนทะเบียนองค์กรปี 2563
  2. สำนักงานสาขาจังหวัด และสำนักกิจการสาขาภูมิภาค สามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่ เมนู ดาวน์โหลด-แบบฟอร์ม-สำนักฟื้นฟูฯ หน้าเว็บไซต์ หรือ กดลิงค์ ที่นี่

หมายเหตุ: หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการ และแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โปรดติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร