27-6-pr4604 27-6-pr460527-6-pr4606 27-6-pr460727-6-pr4608 27-6-pr460927-6-pr4610

rn

เมื่อวันที่ 13-17 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดโครงการศึกษาปฏิบัติการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยมี                นายเจริญ ศรีสุรักษ์ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการเตรียมงานพัฒนาโรงงานไฟฟ้าเทพา นายธงชัย สุวรรณวิหค ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ นายวันชัย สุวรรณวิหค หัวหน้าสำนักงากองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช พนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งหมด 15 คน เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงในครั้งนี้

rn

นายวันชัย สุวรรณวิหค หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครศรี เปิดเผยว่า ความเป็นมาของโครงการศึกษาปฏิบัติการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต เป็นการริเริ่มโดยคณะทำงานโครงการเตรียมงานพัฒนาโรงไฟฟ้าเทพา 2559 เล็งเห็นว่า เกษตรกรในชุมชน ในอำเภอเทพา,อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประกอบอาชีพทำสวนยางเป็นจำนวนมาก จึงควรจะมีโอกาสได้เรียนรู้การแปรรูปน้ำยางดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต นำไปสู่การรวมตัวกันทำโรงงานน้ำยางข้นในอนาคต จึงได้คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบของชุมชน ซึ่งมีบางรายเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสงขลา ร่วมกับพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต รวม 15คน เข้ามาเรียนรู้ ปฏิบัติการจริง ณ ศูนย์เรียนรู้แปรรูปยางพารา บ้านโคกพลา ตำบลทุ่งสัง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 129,750 บาท ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการร่วมกับศูนย์เรียนรู้

rn

กิจกรรมในวันเปิดการฝึกอบรม (วันที่ 13 มิถุนายน 2559) นายเจริญ ศรีสุรักษ์ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการเตรียมงานพัฒนาโรงงานไฟฟ้าเทพา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการเรียนรู้ของเกษตรกร และความร่วมมือกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายธงชัย สุวรรณวิหค ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงความเป็นมาการทำหมอนยาง,การตลาด และการรวมตัวของเกษตรกรชาวสวนยางทำโรงน้ำยางข้น

rn

ส่วนการปฏิบัติจริง ได้มีการสาธิตการทำหมอนยางจากน้ำยางพารา โดยมีส่วนผสม น้ำยางข้น 2 ถัง (400 ลิตร) สารเคมี 8 ชนิด เฉลี่ยอย่างละ 8-10 กิโลกรัม ได้หมอนยางพาราใช้การได้เกรด A ประมาณ 120 ใบ (ตามสูตรน้ำยางข้น 2.5 กิโลกรัม/หมอนยาง 1 ใบน้ำหนัก 1.3 กิโลกรัม) ทั้งนี้ หากมีเกษตรกรรายอื่นในจังหวัดสงขลาสนใจเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อร่วมเสนอแผนโครงการขอรับงบสนับสนุนในด้านการประกอบด้านการเกษตร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสงขลา ได้ในวันและเวลาราชการ (08.30 น.-16.30 น.)