10-7-PR1015 10-7-PR101610-7-PR1017    10-7-PR102110-7-PR1014    10-7-PR102210-7-PR1026    10-7-PR101210-7-PR1013    10-7-PR101810-7-PR1019    10-7-PR102410-7-PR1025    10-7-PR1020

rn

นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 26 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครนายก ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบภัยแล้ง และขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปก่อนนั้น

rn

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ได้รับการชำระหนี้แทน และครบกำหนดชำระเงินคืนตามสัญญา ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งครั้งนี้ สำนักงานจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิก พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการช่วยเหลือ ดังนี้ ให้เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้จากกองทุนฟื้นฟูฯ ไปแล้ว แจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดที่ตนเองสังกัด โดยมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และสำเนาประกาศจังหวัดโดยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.)ยืนยันว่าประสบปัญหาภัยแล้ง โดยให้สำนักงานสาขาจังหวัดรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่แจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันการชำระหนี้นำเข้าที่ประชุมอนุกรรมการจังหวัดให้การรับรองและนำส่งให้สำนักงานใหญ่ เพื่อสำนักงานใหญ่จะรวบรวมรายชื่อดังกล่าวเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือต่อไป

rn

ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับการชำระหนี้แทนแล้ว ทั้งสิ้น 28,503 ราย เป็นเงิน 5,814,316,440.79 บาท (ห้าพันแปดร้อยสิบสี่ล้านสามแสนหนึ่งหมื่นหกพันสี่ร้อยสี่สิบบาทเจ็ดสิบเก้าสตางค์) โดยเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งใน 26 จังหวัด มีจำนวนทั้งสิ้น 12,351 ราย เป็นหนี้รวม 2,704,652,013.35 บาท   (สองพันเจ็ดร้อยสี่ล้านหกแสนห้าหมื่นสองพันสิบสามบาทสามสิบห้าสตางค์) ซึ่งจากนี้ไปหากสถานการณ์ภัยแล้งยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานจนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ จะส่งผลให้เกษตรกรกลุ่มนี้ไม่มีรายได้และไม่สามารถชำระเงินคืนตามสัญญาให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ สำนักงานมีความเห็นใจและเข้าใจเป็นอย่างดีถึงความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร จึงได้ออกมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว โดยจะเสนอผ่อนผันการชำระเงินคืนเป็นเวลา 1 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยและค่าปรับแต่อย่างใด ส่วนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ได้มีมาตรการอนุมัติงบอุดหนุน เพื่อนำไปพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กร โดยผ่านวิธีการทดลองปฏิบัติจริง องค์กรละ 30,000 บาท องค์กรเกษตรกรที่สนใจสามารถเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณดังกล่าวได้ที่สำนักงานสาขาจังหวัด ” นายวัชระพันธุ์ กล่าว

rn

ทั้งนี้  สำหรับเกษตรกรท่านใดที่ประสบความเดือดร้อนและยังไม่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟูฯ สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ในวันเวลาราชการ ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่