27-3-pr1206    27-3-pr1207

rn

27-3-pr1208    27-3-pr1209

rn

27-3-pr1210    27-3-pr1211

rn

27-3-pr1216    27-3-pr1212

rn

27-3-pr1214    27-3-pr1215    

rn

นางนุชฎา จำเริญสาร รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 สำนักงานสาขาจังหวัดพิจิตร ร่วมกับองค์กรเกษตรกร 54 องค์กร เป็นเจ้าภาพจัดโครงการประชุมเสนอแผนแม่บทขององค์กรเกษตรกรจังหวัดพิจิตร เพื่อสนองเจตนารมณ์ของ พรบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ที่ต้องการให้เกษตรกรรวมกันเป็นกลุ่มในการจัดการผลผลิตทางการเกษตรให้ครบวงจร และเพื่อเป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถไถ่ถอนที่ดินทำกินคืนจากสถาบันการเงิน ซึ่งที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ มีงบประมาณจำกัด หากเกษตรกรกู้ยืมเพื่อนำไปประกอบอาชีพในลักษณะองค์กรเล็กๆ ก็จะทำให้งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง จึงต้องการเพิ่มศักยภาพขององค์กรเกษตรกร ด้วยการสร้างรายได้จากการร่วมกันทำ ไม่ต้องอาศัยพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลฝ่ายเดียว และจากการที่รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว ประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ทำให้เกษตรกรถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบ กดราคา ส่งผลให้ขาดทุนซ้ำซ้อน ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เกษตรกรจึงต้องการรวมกลุ่มกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อรวบรวมผลผลิต สร้างรายได้กันเองในเขตพื้นที่ใกล้เคียง จึงทำให้เกิดโครงการครั้งนี้ขึ้นมา

rn

ที่ผ่านมา สำนักงานสาขาจังหวัดพิจิตร มีสมาชิกองค์กรเกษตรกรทั้งหมด 545 องค์กร มีสมาชิก 58,577 คน ขึ้นทะเบียนเกษตรกร 8,183 ราย มูลหนี้รวม 1,231,568,858.11 บาท ได้รับการจัดการหนี้ 532 ราย มูลหนี้รวม 58,524,353.42 บาท และรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรไว้ได้ 1,363 ไร่ 3 งาน 62 ตรว. ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 องค์กรเกษตรกรได้รับงบอุดหนุน 54 องค์กร มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4,691 ราย รวมงบประมาณทั้งจังหวัด 2,894,347 บาท

rn

ในโอกาสนี้ นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีที่องค์กรเกษตรกรมีการกำหนดยุทธศาสตร์การวางแผนพัฒนาอาชีพและการแก้ไขปัญหาหนี้สินในอนาคต ซึ่งหวังว่าด้วยภารกิจและความมุ่งมั่นของกองทุนฟื้นฟูฯ จะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรเกษตรกร ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรมีชีวิตอยู่ดีกินดี ตามเจตนารมณ์ของ พรบ.ฉบับนี้ และจากที่ได้ร่วมโครงการนี้เป็นครั้งที่ 3 คือครั้งแรกที่จังหวัดตาก ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดอุทัยธานี และครั้งที่ 3 ครั้งนี้ที่จังหวัดพิจิตร ก็ได้เห็นถึงพลังความร่วมมือร่วมใจของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างว่ามีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ครบวงจรอย่างแท้จริง