27-3-pr1194    27-3-pr1195

rn

27-3-pr1196    27-3-pr1197

rn

27-3-pr1198    27-3-pr1199

rn

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดอุทัยธานี และ สาขาจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดโครงการจัดประชุมเสนอแผนแม่บทองค์กรเกษตรกร จังหวัดอุทัยธานีและนครสวรรค์ เพื่อเสนอนโยบายการฟื้นฟูอาชีพพร้อมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์แสดงสินค้า OTOP อำเภอเมือง  จังหวัดอุทัยธานี โดยมีนางสุนันท์ พุ่มทอง ประธานอนุกรรมการจังหวัดอุทัยธานี ในนามคณะผู้จัดการประชุม เป็นประธานในพิธีเปิดประชุม

rn

นายประเสริฐ  เสริมสุขต่อ รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดอุทัยธานี เปิดเผยว่า   จังหวัดอุทัยธานี มีสมาชิกองค์กรเกษตรกรจำนวน 473 องค์กร มีสมาชิก 56,086 คน ได้รับการจัดการหนี้แทนแล้ว 604 ราย เป็นเงิน 70,594,084.03 บาท ได้รับอนุมัติงบประมาณประเภทงบอุดหนุนให้กับองค์กรเกษตรกร จำนวน 49 องค์กร ผู้เข้าร่วม 2,312 ราย งบประมาณ 1,426,504 บาท โดยงบประมาณดังกล่าวนำไปจัดทำแผนแม่บทและการอบรมสร้างองค์ความรู้ให้กับองค์กรเกษตรกร โดยการจัดทำแผนแม่บทในครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างองค์กรเกษตรกรในจังหวัด เพื่อยื่นเสนอต่อเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมทั้งมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างตัวแทนจากสำนักงานใหญ่ คือ ท่านรองเลขาธิการ นายสมยศ  ภิราญคำ และประธานอนุกรรมการจังหวัด เพื่อนำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการบริหาร ผ่านไปยังรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำนวย ปะติเส ในการวางแผนดำเนินงานในอนาคตของกองทุนฟื้นฟูฯ โดยเกษตรกรในภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด ได้ผนึกกำลังกันจัดทำแผนแม่บท เพื่อแก้ปัญหาทั้งด้านการฟื้นฟูฯ และการจัดการหนี้ของเกษตรกรไปพร้อมๆ กัน

rn

นางสุนันท์  พุ่มทอง ประธานอนุกรรมการจังหวัดอุทัยธานี เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า วัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ เพื่อต้องการให้องค์กรเกษตรกรทั้ง 40 องค์กร ที่มีมติร่วมกันในการเสนอแผนฟื้นฟูอาชีพหลักเป็นโครงการร่วมทุนกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ในการรวบรวม แปรรูป และจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในโครงการ  เพื่อสนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติและวัตถุประสงค์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และจัดการผลผลิตทางการเกษตรให้ครบวงจร  เป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถไถ่ถอนที่ดินกลับคืนจากสถาบันการเงินได้ เป็นการรักษาที่ดินไว้ให้เกษตรกร เป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรเกษตรกร โดยสร้างรายได้เป็นของตนเอง ไม่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว และเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นมีกำลังบริโภคสูงขึ้นตามมาอีกด้วย