11-3-pr1174    11-3-pr1175

rn

11-3-pr1176    11-3-pr1177

rn

11-3-pr1178    11-3-pr1179

rn

11-3-pr1180    11-3-pr1181

rn

งบกู้ยืมกองทุนฟื้นฟูฯ สร้างรายได้ให้เกษตรกรสมาชิก เพียง 2 ปีเศษ ผลผลิตลูกวัว จาก 26 ตัว เพิ่มเป็น 48 ตัว สมาชิกได้ร่วมเรียนรู้ ร่วมบริหารจัดการ และร่วมแก้ปัญหา

rn

นายโกมิน พ่วงโพธิ์ ประธานกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียวบ้านดอนยาว เล่าให้ฟังว่า เดิมทีสมาชิกในกลุ่มมีอาชีพปลูกถั่วเขียวเป็นหลัก และทำปุ๋ยหมักชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะตนเองประสบปัญหาแพ้สารเคมีอย่างรุนแรง ต้องพักรักษาตัวอยู่หลายเดือน จนหันมาชักชวนสมาชิกในกลุ่มให้ทำปุ๋ยหมักใช้เอง ในปี 2549 ได้รับงบอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กร หลังจากได้รับงบประมาณก้อนแรก จากเดิมมีสมาชิกเพียง 50 คน ก็มีสมาชิกให้ความสนใจขอสมัครเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มขึ้นเป็น 83 คน

rn

เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ได้รับงบกู้ยืม เป็นเงิน 419,300 บาท เพื่อจัดทำโครงการเลี้ยงวัว มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 21 ราย วิธีบริหารจัดการเลี้ยงและการดูแลรักษาวัว ทางกลุ่มได้ตั้งคณะกรรมการ 3 คน เพื่อมาบริหารจัดการ จัดซื้อแม่พันธุ์วัวที่อยู่ระหว่างตั้งท้องพร้อมผสมพันธุ์ จำนวน 26 ตัว และพ่อพันธุ์วัวอีก 2 ตัว โดยในช่วงแรกได้แบ่งให้สมาชิกเลี้ยงรายละ 1 ตัว เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์นำมาผสมในคอกส่วนกลาง และเมื่อวัวออกลูกสมาชิกทุกคนที่ร่วมโครงการจะช่วยกันดูแล ทางกลุ่มเช่าที่ดิน 30 ไร่ เพื่อปลูกหญ้าแองโกล่า ใช้เป็นอาหารเลี้ยงวัว มีการแบ่งสมาชิกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 7 คน หมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนกันมาตัดหญ้าให้วัวกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

rn

แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มได้เปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลจากการแยกเลี้ยง มาเป็นการเลี้ยงแบบรวมฝูง โดยใช้บ้านของตนเองเป็นคอกเลี้ยงวัว จากเดิมมีวัว 26 ตัว ตอนนี้เพิ่มเป็น 48 ตัว ชำระหนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ งวดแรกเมื่อปี 2556 ซึ่งเป็นไปตามแผนการคืนเงิน ผลิตผลที่ได้จากการเลี้ยงวัวนอกจากเป็นลูกวัวแล้ว ยังมีมูลวัว ใช้เป็นปุ๋ยหมักในแปลงนาสมาชิก ส่วนฟางในแปลงนาของสมาชิกก็สามารถนำมาทำอาหารให้วัวในฤดูฝนได้อีกด้วย

rn

นายนภดล สัจจาสัย รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียวบ้านดอนยาว เป็นองค์กรแรกๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ที่ได้รับงบประมาณจากสำนักงาน ทั้งในส่วนของงบอุดหนุน และงบกู้ยืม โดยสำนักงานคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหา แต่หลักๆ คือสมาชิกในกลุ่มร่วมกันลงมือทำอย่างจริงจัง ทำให้โครงการประสบความสำเร็จน่าพอใจ สิ่งที่ได้ในตอนนี้คือ องค์กรมีความเข้มแข็ง สมาชิกมีรายได้เพิ่ม ซึ่งเป็นไปตามภารกิจหลักของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ต้องการเห็นความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรสมาชิก