11-10-1

rn

                          11-10-3    11-10-2

rn

                          11-10-4   11-10-5

rn

                          11-10-6   11-10-7

rn

เมื่อวันที่  9 ตุลาคม 2556 นายสไกร  พิมพ์บึง รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานในการประชุมการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร กรณีใช้เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.หรือ ส.ป.ก. 4-01 ค้ำประกันการกู้ยืม ธ.ก.ส. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุน ส.ป.ก. (นางวรรณนภา บุญสุข) ซึ่งเป็นตัวแทนจากสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ร่วมเสนอแนวทางร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรที่ใช้เอกสารสิทธิ์ของ ส.ป.ก. หรือ ส.ป.ก. 4-01 ค้ำประกันการกู้ยืม ธ.ก.ส. ซึ่ง ส.ป.ก.ยินดีให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  โดยให้ กฟก. ชำระหนี้แทนเกษตรกรให้ ธ.ก.ส. และให้ ธ.ก.ส. ส่งมอบเอกสารสิทธิ์ ให้กับ กฟก. เก็บไว้ และเกษตรกรสมาชิกที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาชำระหนี้คืน กฟก.  แต่ทั้งนี้ต้องทำเป็นบันทึกข้อตกลงในการดำเนินงาน (MOU) ระหว่าง ส.ป.ก. กับ กฟก. โดยทั้งสองหน่วยงานจะต้องนำเรื่องนี้เข้าหารือกับผู้เกี่ยวข้องก่อน เช่น ส.ป.ก. จะต้องนำเข้าหารือกับคณะอนุกรรมการโครงการและการเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส่วน กฟก.จะต้องนำเข้าหารือกับคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร และคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน

rn

ผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุน ส.ป.ก.ยังกล่าวอีกว่ารู้สึกดีใจที่มีผู้แทนเกษตรกรทั่วทุกภาคมาให้ความเห็น  ร่วมกันหารือทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้  ซึ่งในส่วนของ สปก. เองก็มีความยินดีที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์  และไม่เสียสิทธิ์ในที่ดินทำกิน  ตามเจตนารมณ์ของ สปก.และกฟก. ก็ตรงกันในด้านการสนับสนุนให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน  ซึ่งสปก.เองก็จะกลับไปดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้บรรลุผล คาดว่าน่าจะมีความคืบหน้าประมาณเดือนตุลาคม 2556  จากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดใหญ่ประมาณเดือนธันวาคม

rn

ด้านกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (นายยศวัจน์  ชัยวัฒนสิริกุล) กล่าวว่าต้องขอขอบคุณ สปก. ที่ให้ความร่วมมือ  ซึ่งหลักการทำงาน  วิธีการ รวมทั้งเจตนารมณ์มีความชัดเจนตรงกัน  ซึ่งเราอยากจะผลักดันให้มีการทำเกษตรกรรมควบคู่ไปกับภาคอุตสาหกรรม  และในวันนี้ต้องขอขอบคุณตัวแทนจาก สปก. ที่ช่วยกันหาทางออกเพื่อเก็บรักษาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรต่อไป

rn

ตัวแทนจากคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร  (นายวรเชษฐ์  เชิดชู)  กล่าวว่าผลการหารือในครั้งนี้จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร  ซึ่งคณะกรรมการจัดการหนี้ฯ จะเป็นกลไกในการผลักดันเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรบรรลุอย่างเป็นรูปธรรม

rn

ในส่วนของตัวแทนเกษตรกร (นายชรินทร์  ดวงดารา) ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย  กล่าวว่าเกษตรกรที่นำที่ดินทำกินโดยใช้เอกสารสิทธิ์ สปก. มาค้ำประกันการกู้ยืม ธ.ก.ส. มีถึง 1,500 ราย  อยากจะให้นำจำนวนนี้มาเป็นกรณีตัวอย่างว่าการดำเนินการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ  ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ  เช่น สปก. จัดสรรที่ดินทำกิน  ธ.ก.ส. สนับสนุนเรื่องเงินทุน แต่ต้องไม่ใช่การค้าเงิน  ต่อไปนี้ควรเป็นการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันอย่างบูรณาการ  นอกจากนี้ กฟก. เองก็สามารถให้การสนับสนุนด้านเงินทุนได้จริง  แต่ทั้งนี้ต้องมีการร่วมมือกันอย่างจริงจัง

rn

นายสไกร  พิมพ์บึง  รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  กล่าวปิดท้ายว่าอยากเห็นความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่แก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร  จับมือกันเพื่อผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ  ในนามของ กฟก. ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ธ.ก.ส.  ผู้แทนเกษตรกร สปก. ที่ร่วมกันให้ความร่วมมือกับ กฟก. ในการแก้ไขปัญหาในสังคมภาคการเกษตรเป็นอย่างดี