13-8-16

rn

13-8-17

rn

13-8-18

rn

13-8-19

rn

 

rn

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2556 โดยนางนุชฎา  จำเริญสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร ได้รับเชิญจาก นายบรรจง  พงษ์ประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนพิจิตร อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ให้เข้าร่วมกิจกรรมของวิทยาลัยชุมชน โดยรับเชิญให้เป็นผู้กล่าวในพิธีการรับขวัญท้องข้าว ซึ่งเป็นพิธีแบบโบราณมีการตั้งบายศรีรับขวัญท้องข้าว ระหว่างการกล่าวพิธีมีการโห่ร้องเพื่อเอาฤกษ์ชัย มีการคล้องพระคล้องทองให้กับต้นข้าว มีการประพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นศิริมงคล ซึ่งเป็นการรับขวัญพระแม่โภสพให้สถิตย์ในเมล็ดข้าวทุกรวง และขอขมาต่อพระแม่ธรณี พระแม่คงคา โดยมีอาจารย์เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ให้การต้อนรับ สำหรับแปลงนาที่ใช้ในการสาธิตในครั้งนี้เป็นแปลงนาปลูกข้าวสาธิต ประมาณ 2 ไร่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนพิจิตร และเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจมาร่วมปฏิบัติจริง เรียนรู้จริง มีการแบ่งพื้นที่เพื่อทำการปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล ขุดร่องน้ำรอบแปลงนาเพื่อเลี้ยงปลา ซึ่งการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์โดยไม่มีการใช้สารเคมีแต่อย่างใด  เป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

rn

และวันที่ 21 กรกฎาคม 2556 นางนุชฎา  จำเริญสาร เข้าร่วมฟังการบรรยายเสวนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง เกษตรกรไทยในประชาคมอาเซียน โดยภายในงานมีเกษตรกรให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก มีการจำหน่ายสินค้าด้านเกษตร ได้แก่ ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบต่างๆ ของกลุ่มบึงสรรพงาย มีการสัมภาษณ์พร้อมบันทึกภาพวีดีโอ โดยอาจารย์ สมภาค ชูโชติ และคุณโอเลี้ยง จากรายการสภาโจ๊ก ต่อจากนั้นเป็นการพูดคุยและให้สัมภาษณ์โดยนายชาติชาย  เจียมศรีพงษ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงการให้เกษตรกรงดการใช้สารเคมีในรูปต่างๆ ตั้งแต่เรื่องการปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ต่างๆ  ฯลฯ การทำไร่นาสวนผสมแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของเกษตรกรเอง และเพื่อไม่ให้เกษตรกรทำนาแล้วได้เงินมา แล้วต้องนำมารักษาตัวเอง สำหรับในช่วงบ่ายมีการเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมกสิกรพิจิตรสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยมีผู้เข้าร่วมบรรยายในครั้งนี้ได้แก่ ดร.วิวัฒน์  ศิลย์กำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ อาจารย์เดชา  ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ  และอาจารย์วสันต์  พงษ์สุประดิษฐ์ ประธานสถาบันยู แคนดู อคาเดมี่ มหาวิทยาลัยเนรศวร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งในการเสวนาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อตัวเกษตรกรและผู้ที่สนใจในกิจกรรมด้านเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง