10-6-2

rn

ไทยนำเข้ายาฆ่าหญ้ามากสุดในภูมิภาค เหตุขี้เกียจกำจัดเอง อึ้ง! ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง 100 กก. โดนแมลงแค่ 1 กก. ที่เหลือฟุ้งในอากาศ สะสมในพืช ดิน น้ำ และร่างกาย นักวิชาการระบุแบนสารเคมียากเหตุข้อมูลสุขภาพไม่เพียงพอ ภาคเอกชนชี้แบนแล้วโดนดันเข้าตลาดมืดทันที แล้วแอบมาขายให้เกษตรกร

rn

น.ส.แสงโฉม ศิริพานิช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวระหว่างการเสวนา “ระดมพลังร่วมยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อันตราย!!!” ในเวทีสานงานเสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระหว่างวันที่ 28-29 พ.ค. 2556 เนื่องในโอกาสครบรอบ 12 ปี การดำเนินงานของ สสส. ว่า ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้าที่มีการนำเข้ามากกว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น และประเทศอื่นในภูมิภาคโดยรอบ อาทิ พม่า กัมพูชา เวียดนาม อินเดีย จีน ปากีสถาน และเนปาล เป็นต้น เนื่องจากต้องการเน้นความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการฆ่าหญ้า ทั้งนี้ ในการฉีดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชครั้งหนึ่งจำนวน 100 กิโลกรัม พบว่า มีโอกาสฉีดถูกแมลงเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนอีก 99 กิโลกรัมที่เหลือ จะปลิวไปในอากาศ 30 กิโลกรัม ระเหยไป 10 กิโลกรัม พลาดแมลงเป้าหมาย 15 กิโลกรัม และตกค้างอยู่บนพืช  อยู่ในดิน ในน้ำอีก 41 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ทุกวันนี้ลูกหลานของเกษตรกรจำนวนหนึ่ง ประสบปัญหาทางด้านสุขภาพตั้งแต่แรกคลอด เนื่องจากมีการถ่ายทอดสารพิษจากแม่ไปสู่ลูก

rn

น.ส.แสงโฉม กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาในการยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่รัฐยังมีข้อมูลสุขภาพที่ไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง แลนเนท ที่มักปรากฏเป็นข่าวหลายครั้งจากการนำมาใช้ฆ่าตัวตาย ทำร้ายผู้อื่น หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างใช้งาน แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไม่พยายามผลักดันให้ยกเลิกสารเคมีตัวนี้ แต่เนื่องจากมีข้อมูลสุขภาพที่ไม่เพียงพอ เช่น คนที่มาแจ้งว่าใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วเกิดผลเสียต่อสุขภาพก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากการใช้สารเคมีชนิดใด ทางบริษัทจึงสามารถขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวได้ต่อไป เพียงแต่ระบุว่าจะใส่สีลงไป เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้งาน 

rn

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้มีการขับเคลื่อนมานานแล้ว โดยเฉพาะสารเคมีที่มีอันตรายสูง 4 ชนิด คือ คาร์โบฟูราน ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น และเมโทมิล แต่พบว่ายังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อมูลและกลั่นกรองความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ได้แจ้งกลับมายังกรมวิชาการเกษตรที่เสนอให้ยกระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 4 ชนิดดังกล่าวเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงตามสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ รวมถึงให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนทำการประเมินความเสี่ยงมาก่อน ทำให้ยังไม่สามารถยกระดับเป็นวัตถุอันตรายนิดที่ 4 ได้ ทั้งทีมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นแล้ว 

rn

“ที่สำคัญต่างประเทศล้วนยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 4 ชนิดนี้แล้ว หากไทยสามารถยกเลิกการใช้สารเคมีดังกล่าวได้ จะช่วยให้ลดปัญหาการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรได้ถึง 1 ใน 3 และหากสามารถจัดการสารทั้ง 4 ตัวนี้ได้ เชื่อว่าสารตัวอื่นก็จะทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่า สารที่กำลังจะถูกแบนอย่างคาร์โบฟูราน บริษัทสารเคมีจะส่งสารอีกคัวที่คล้ายกันมาขายแทน เช่น คาร์โบซันแฟน” ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าว 

rn

นายชูชาติ ชื่นประโยชน์ สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า สภาหอการค้าไทยไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะในฐานะที่เป็นผู้บริโภคก็ไม่อยากให้เกิดอาหารที่ไม่ปลอดภัยขึ้น แม่เราจะสนับสนุนการยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูที่อันตราย แต่เบื้องต้นควรที่จะให้ความรู้ในการใช้สารเคมีแก่เกษตรกรก่อน เพราะทุกวันนี้เกษตรกรไม่มีองค์ความรู้เลย โดยหน่วยงานที่ต้องเข้ามาแก้ปัญหาคือภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต้องกลับมาตั้งคำถามว่าทุกวันนี้เจ้าหน้าที่รัฐอ่อนแอหรือไม่ ดำเนินการอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง หากรัฐทำหน้าที่เหล่าได้ไม่สมบูรณ์ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการเรื่องความปลอดภัยแทนหรือไม่ เพราะต่างประเทศก็ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการภายใต้การควบคุมทางกฎหมายของภาครัฐอีกทีหนึ่ง อาจจะทำให้ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรมีความปลอดภัยมากขึ้นในระดับสากล

rn

“หากแบนสารเคมีเลยอาจมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะสารเคมีที่ถูกแบนจะถูกส่งเข้าตลาดมืดทันที แล้วแอบนำเอามาบรรจุขวดขายแก่เกษตรกร ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่เคยควบคุมเรื่องนี้ได้เลย นอกจากนี้ควรที่จะให้ข้อมูลเรื่องอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก เช่น ทำคิวอาร์โค้ด ติดบนอาหารปลอดภัย เมื่อผู้บริโภคจะเลือกซื้อก็สามารถสแกนและทราบได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากแหล่งผลิตใด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ผลิตปฎิวัติตัวเองด้วยการไม่ใช้สารเคมีมากขึ้น” นายชูศักดิ์ กล่าว

rn

ด้าน นายกนก ดวงแก้วเรือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การจะเปลี่ยนให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ต้องให้ข้อมูลสุขภาพแก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอว่า สารเคมีจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรกลัวการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้ การเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะต้องอาศัยเวลาในการปรับหน้าดินให้ดีขึ้น 3 ปี แต่ละ อบต.จะต้องช่วยเกษตรกร โดยจัดตั้งกองทุนขึ้นและคิดดอกเบี้ยในราคาถูกหรือไม่คิดเลย รวมถึงต้องดึงคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ให้หันกลับมาทำการเกษตร เป็นพ่อค้าแม่ค้าขายผักออแกนิกก็จะสามารถช่วยได้อีกทางหนึ่ง อย่าง อบต.แม่ทา ก็ดำเนินการด้วยวิธีดังกล่าว พบว่า สุขภาพของคนในพื้นที่ดีขึ้น ที่สำคัญเกษตรกรหันกลับมาทำการเกษตรแบบยั่งยืนไร้สารพิษกว่า 70-80% แล้ว

rn

rn

rn

ที่มา : เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

rn