กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ ประเดิม ปีมะเส็ง 2556 ปล่อยเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร สร้างขวัญกำลังใจและความเข้มแข็งให้พี่น้องสมาชิกชาวกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอย่างมาก 

rn

นายวันชัย ชำนาญเท รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ  เปิดเผยความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรก ของปีงบประมาณ 2556 (ต.ค.-ธ.ค.55) และต่อเนื่องมาจนถึง ขึ้นศักราชใหม่ 2556 ว่า เป็นการสานงานเก่าเพิ่มเติมงานใหม่เข้ามา โดยล่าสุด งานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอำนาจเจริญได้รับการอนุมัติงบประมาณแผนโครงการประเภทเงินอุดหนุน เพื่อให้องค์กรเกษตรกรนำไปพัฒนาศักยภาพองค์กร ร่วมกันค้นหาสิ่งที่องค์กรของตนเองต้องการเพื่อเกิดเป็นแผนแม่บทองค์กร นำไปสู่การ ขออนุมัติงบกู้ยืมในอนาคตต่อไป จำนวน 4 องค์กร เป็นเงินรวม  222,600 บาท ประกอบด้วย

rn

เกษตรชาวนาอำนาจเจริญ รหัสองค์กร 3743000253 งบอุดหนุนที่ได้รับ 76,300 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ  109 คน

rn

31-1 31-231-3 31-4

rn

กลุ่มทำนาและเลี้ยงสัตว์ รหัสองค์กร 3743002442 งบอุดหนุนที่ได้รับ 56,700 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ  81 คน

rn

31-5 31-631-7 31-8

rn

กลุ่มกองทุนหมุนเวียนผลิตข้าวคุณภาพบ้านบ่อบุ รหัสองค์กร 3747000037 งบอุดหนุนที่ได้รับ 38,500 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ  55 คน

rn

31-9 31-1031-11 31-12

rn

กลุ่มเกษตรพัฒนาบ้านหนองคู หมู่ 7  รหัสองค์กร 3743000768 งบอุดหนุนที่ได้รับ 51,100 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ  73 คน

rn

rn31-13 31-1431-15 31-16rn

นายวันชัย ชำนาญเท กล่าวต่อไปว่า ทั้ง 4 องค์กร ที่ได้รับเงินอุดหนุนในครั้งนี้  สำนักงานสาขาจังหวัดอำนาจเจริญ ได้โอนงบประมาณให้กับองค์กรหมดแล้ว เพื่อนำไปจัดกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในโครงการ ซึ่งทุกองค์กรได้มีการจัดกิจกรรมไปเมื่อช่วงระหว่างวันที่ 7 มกราคม 2556 ถึง 17 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทองค์กร สำนักงานสาขาได้ให้คำแนะนำ และคอยเป็นพี่เลี้ยง อยู่อย่างสม่ำเสมอ  โดยสมาชิกต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รอคอยงบประมาณก้อนนี้มานานมาก ตั้งแต่รุ่นแรก คือยื่นแผนและโครงการตั้งแต่ปี 2549 และเพิ่งจะได้รับเงินอุดหนุน ไปเมื่อช่วงปี 2551 ทำให้เกษตรกรสมาชิกต่างรู้สึกดีใจ เป็นขวัญและกำใจในการสร้างองค์กรให้เข้มแข็งต่อไป และรับปากที่จะใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้สมาชิกองค์กร และองค์กรอื่นๆ ที่อยู่ข้างหลังได้ตะหนักถึงความเข้มแข็งขององค์กรเป็นอย่างไร รวมทั้งจะปฏิบัติตามระเบียบคู่มือวิธีปฏิบัติ ของกองทุนฯ ในการบริหารจัดการองค์กรเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร หลักฐาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างเคร่งครัดอีกด้วย  

rn

ในส่วนงบกู้ยืม ไม่เกิน 5 แสนบาท มีองค์กรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณไปแล้วทั้งหมด 6 องค์กร เป็นเงิน 2,717,800 บาท ได้แก่

rn

กลุ่มที่ 1 สภาเกษตรกรไทย อำเภอพนา รหัสองค์กร 3743000091 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 343,800.-บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการฟื้นฟูเกษตรแนวใหม่ กลุ่มที่ 2 กลุ่มเครือข่ายธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ รหัสองค์กร   3747000070 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 442,000.-บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 40 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการปลูกข้าวอินทรีย์” กลุ่มที่ 3 สภาเกษตรกรไทย อำเภอเสนางคนิคม รหัสองค์กร 3743000113 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 500,000.-บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ พัฒนาการผลิตขั้นพื้นฐาน” กลุ่มที่ 4 องค์กรผู้ผลิตเพื่อการส่งออก รหัสองค์กร 3743000296 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 500,000.-บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 47 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ” กลุ่มที่ 5 กลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์ดี หมู่ 6 บ้านหนองยาง ต.ดงบัง รหัสองค์กร 3747000029 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 500,000.-บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 39 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อการออม และกลุ่มที่ 6 กลุ่มการเกษตรทฤษฎีใหม่พัฒนาก้าวหน้า  รหัสองค์กร 3743000202 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 432,000.-บาท  มีผู้เข้าร่วมโครงการ 33 คน ได้เสนอโครงการ โครงการพัฒนาการผลิตขั้นพื้นฐาน

rn

โดยองค์กรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณทั้งหมดนี้ สำนักงานได้ดำเนินการจัดทำสัญญากู้ยืม และจ่ายเงินให้กับองค์กร เพื่อไปดำเนินตามกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ ตามงวดงาน งวดเงิน ครบทุกองค์กรแล้ว และสำนักงานได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าของโครงการร่วมกับองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการดำเนินการเรื่องการเบิกจ่ายหลักฐาน เอกสาร ด้านการเงิน ได้จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานใหญ่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน พร้อมทั้งจัดทำแผนงานในการติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอย่างใกล้ชิด 

rn

สำหรับในส่วนของงานปรับโครงสร้างหนี้ฯ รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดอำนาจเจริญ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า มีสมาชิกที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อนำไปพัฒนาอาชีพ จากการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ จำนวน 33 ราย เป็นจำนวนเงิน 244,200.-บาท  ซึ่งได้มีการเบิกจ่ายให้กับสมาชิกทั้ง 33 ราย ไปเรียบร้อยแล้ว

rn

ดังนั้น ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 ต่อเนื่องจนถึงมกราคม 2556 ศกใหม่นี้ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ ได้เน้นการทำงานในเชิงรุก เข้าถึงกลุ่มเกษตรกร เพื่ออำนวยความสะดวกให้พี่น้องเกษตรกรในจังหวัดไห้ได้มากที่สุด การทำงานแบบเข้าถึงตัวเกษตรกรจะช่วยให้เกษตรกรเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร และเกิดพลังในการสร้างให้องค์กรเข้มแข็ง กองทุนฟื้นฟูฯ เดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่องต่อไป 

rn