20-2 20-3

rn

เมื่อวันพุธ ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕  ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น  สำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ ๓ ได้จัดประชุมประจำเดือน หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรับมอบนโยบายการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดทั้ง ๒๐  จังหวัดเข้าร่วมประชุม

rn

ดร. วิญญู  สะตะ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ ๓ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กล่าวรายงานการผลการปฏิบัติงานสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอบปีที่ผ่านมาต่อที่ประชุม พร้อมแนะนำหัวหน้าสำนักงานสาขาทั้ง ๒๐ จังหวัด และแจ้งกำหนดการการประชุมให้หัวหน้าสำนักงานและผู้เข้าร่วมประชุมทราบ

rn

ดร. วิญญู  สะตะ รายงานว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดภูมิภาคที่ ๓ สามารถชำระหนี้แทนเกษตรกรและซื้อทรัพย์คืนของสำนักงานสาขาจังหวัดทั้ง ๒๐ จังหวัด ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๙-ปัจจุบัน ได้ทั้งหมด ๕,๖๖๔ ราย เป็นเงิน ๕๒๔,๕๙๐,๑๕๖.๑๗ บาท เกษตรกรที่ยื่นเสนอแผนและโครงการงบกู้ยืมไม่เกินห้าแสนบาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๙-ปัจจุบัน จำนวน ๖๗๐ โครงการ ได้รับการอนุมัติแล้ว จำนวน ๓๗๘ โครงการ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๑๓,๖๖๙ ราย จำนวนเงิน ๑๓๕,๓๕๙,๔๖๘ บาท เกษตรกรที่ยื่นเสนอแผนและโครงการงบอุดหนุนและกู้ยืม ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ จำนวน ๕๓๙ โครงการ ได้รับงบอุดหนุนที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน ๔๗๑ โครงการ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๓๓,๘๗๐ ราย จำนวนเงิน ๕๗,๖๕๙,๘๒๕ บาท โดยสำนักงานสาขาจังหวัดได้ชี้แจงรายละเอียด และกฎ ระเบียบให้กับพี่น้องเกษตรกรได้รับทราบแล้ว 

rn

20-5

rn

นายรังสิต  ชูลิขิต หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ  สาขาจังหวัดขอนแก่น ในฐานะเจ้าของสถานที่ในการจัดประชุมในครั้งนี้ ได้กล่าวต้อนรับท่านเลขาธิการ นายสมยศ  ภิราญคำ พร้อมกับคณะ และหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง ๒๐ จังหวัด

rn

นายสมยศ  ภิราญคำ รองเลขาธิการ  รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ชี้แจงนโยบายเร่งด่วน โดยแจ้งว่าในขณะนี้ “สำนักงานได้เร่งดำเนินการในเรื่องต่างๆอย่างเร่งด่วน อาทิ แนวทางการดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้ การแก้ไขระเบียบต่างๆเพื่อให้การปฏิบัติงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดทำสวัสดิการด้านต่างๆ ของพนักงาน เป็นต้น สำหรับงานบริหารสำนักงานขอให้ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบเป็นสำคัญ ในส่วนของงานฟื้นฟูฯ ให้สำนักงานสาขาเร่งติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำ องค์กรที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณทั้งในส่วนของงบอุดหนุน งบกู้ยืม และงบอุดหนุนตามโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกได้รับประโยชน์สูงสุด” นายสมยศ  ภิราญคำ กล่าว

rn

20-6 20-7

rn

นายมนัส วงษ์จันทร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ เป็นผู้ชี้แจงภารกิจเร่งด่วนของสำนักจัดการหนี้ ซึ่งได้รับมอบหมายมาจากคณะกรรมการจัดการหนี้ โดยให้เร่งสะสางหนี้ NPA รอบที่ ๑ และ ๒ ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยให้สำนักงานสาขาเร่งติดตามเกษตรกรตามรายชื่อ เพื่อดำเนินการชำระหนี้แทนต่อไป สำหรับหนี้ NPL ธนาคาร ธ.ก.ส. และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ทั้งก่อนและหลัง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ และก่อน ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ให้เร่งติดตามเกษตรกรตามรายชื่อที่สำนักจัดการหนี้ส่งมาให้ เพื่อทำหนังสือยินยอมและเอกสารประกอบการชำระหนี้แทนโดยเร่งด่วน โดยในขณะนี้สำนักจัดการหนี้ได้มอบหมายให้สำนักกิจการสาขา ทั้ง ๔ ภูมิภาค เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนภารกิจดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกรเป็นไปด้วยความรวดเร็ว  หากสำนักงานสาขามีข้อสงสัยเรื่องข้อมูล วิธีการ หรือเอกสารประกอบ สามารถประสานงานมายังสำนักกิจการสาขาได้อีกทางหนึ่ง