28-2

rn

นายสุภาพ  คชนูด ประธานกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร กล่าวว่าสาเหตุการเกิดหนี้ของเกษตรกร มีหลายปัจจัยได้เเก่ สภาพอากาศที่แปรปรวน การเกิดภัยธรรมชาติ ต้นทุนการผลิตสูง ราคาขายตกต่ำ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวทำให้อาชีพเกษตรกรรมเกิดความเสี่ยงในการขาดทุนสูง  เกษตรกรบางรายเกิดสภาวะการขาดทุน จนต้องไปกู้เงินจากสถาบันการเงิน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน  จุดนี้ กฟก. จึงต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยมีแผนการช่วยเหลือด้านการจัดการหนี้ให้เเก่เกษตรกร ตามความสำคัญ คือ หนี้ที่เจ้าหนี้ซื้อทรัพย์ไว้หรือขายให้บุคคลอื่น (NPA) , การบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาด , หนี้ฟ้องร้อง , หนี้ผิดนัด และหนี้ปกติ เมื่อเกษตรกรได้รับการชำระหนี้แล้วหลักทรัพย์ของเกษตรกรจะเป็นของ กฟก. ระยะหนึ่ง และเกษตรกรจะได้สิทธิ์ในรูปแบบการเช่าหรือการเช่าซื้อ เพื่อให้เกษตรกรได้ทบทวน วางแผนการฟื้นฟูตนเอง และที่สำคัญเพื่อป้องกันเจ้าหนี้ฟ้องร้องยึดเอาทรัพย์ไป รวมถึงการรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกรไว้ไม่ให้เกิดภาระหนี้สินอีก

rn

ทั้งนี้การดำเนินงานในการจัดการหนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณของรัฐบาลอุดหนุนเข้ามาดำเนินการเเก้ไขเยียวยา ซึ่งขณะนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกรไปแล้วเป็นจำนวนมาก  สำหรับรายชื่อสมาชิกเกษตรกรที่เพิ่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 3 กันยายน 2555 คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรได้รับรองแล้ว จำนวน 8,878 ราย 15,954 บัญชี จำนวน มูลหนี้ 1,693,082,747.94 บาท จะจัดทำแผนการจัดการหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้และให้จัดการหนี้ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.. 2544 โดยจะจัดลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วนของสถานะหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซี่งที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯได้เห็นชอบอนุมัติกรอบ วงเงินและอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณค่าใช้จ่ายไตรมาส 3-4 เดือนเมษายน กันยายน 2555 ประจำปีงบประมาณ.. 2555 ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน 111,953,473 บาท งบดำเนินงาน 36,074,630 บาท งบลงทุน 500,000 บาท และค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการหนี้ของเกษตรกร 619,482,797 บาทแล้ว

rn

การเเก้ปัญหาอย่างตรงจุดประการที่ 1 ภาครัฐควรใช้กลไกของรัฐเป็นกันชนให้เเก่เกษตรกร เช่น การชลประทาน การแบ่งพื้นที่ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน ควรน้อมนำพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาใช้ โดยไม่เน้นตัวชี้วัด GDP ในภาพรวมของประเทศมากเกินไป ควรเน้นความสุขของเกษตรกรเป็นตัวชี้วัด และภาคการเกษตรถือเป็นผู้ผลิตรวมถึงเป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เราควรมองปัญหาในทุกมิติให้เกิดภาพสะท้อนที่แท้จริงโดยมีผู้มีความรู้และประสบการณ์มาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องชาวเกษตรกรไทย 2. รัฐใช้กลไกของรัฐหนุนเสริม 3. รัฐมีการจำกัดการนำเข้า เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย เป็นต้น

rn

กฟก.มีการฟื้นฟูเกษตรกรไม่ให้เป็นกลับเป็นหนี้อีก ตามมาตรา 37/8 และ 37/9 ซึ่งได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู โดยการอบรมการถอดบทเรียนชีวิตของเกษตรกร และการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำมายึดเป็นเเนวทางการปฎิบัติอย่างถูกต้อง และเมื่อเกษตรกรได้รับการฟื้นฟูแล้วจะต้องนำรายได้ส่วนเหลือมาชำระหนี้ตามแผนโครงการที่นำมาเสนออนุมัติงบมา นายสุภาพ กล่าว