27-11 27-8

rn

พื้นที่บริเวณหมู่ ๓ หมู่ ๔ ใน ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง เป็นที่นาที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า เนื่องจากชาวบ้านในบริเวณนี้หันไปประกอบอาชีพอื่นที่สร้างรายได้ให้ครัวเรือนมากกว่า นายหรนกิบหลี  คงยศ เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาแต่เดิม ได้เห็นความสำคัญของที่นาว่างเปล่า จึงได้ริเริ่ม ชักชวนเพื่อนบ้านรวมกลุ่มกันทำนาข้าวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน  เอาที่ดินที่เคยทิ้งร้าง มาปลูกข้าวทำนาอีกครั้ง โดยในช่วงแรกมีสมาชิกในหมู่บ้านสนใจเข้าร่วมกลุ่ม ๒๐ คน ต่อมามีสมาชิกสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยหลังคาเรือน เพราะต่างเล็งเห็นความสำคัญในการทำนาที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคอีกด้วย

rn

เมื่อทราบว่ามีสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นางเสายะ คงยศ ผู้เป็นบุตรจึงได้หารือกับหัวหน้าสำนักงาน เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจต่างๆ ของกองทุนฟื้นฟูฯ และขอจัดตั้งองค์กร “กลุ่มเกษตรกรฟื้นฟูนาข้าวตำบลกำพวน” โดยได้ยื่นแผนโครงการเพื่อของบอุดหนุนมาพัฒนากลุ่มและทำแผนแม่บทองค์กร และได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน ๓๖,๘๒๐ บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ๕๒ ราย

rn

นายจอมภพ  บุญธรรม หัวหน้าสำนักงาน สาขาจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า กลุ่มเกษตรกรฟื้นฟูนาข้าวตำบลกำพวน เป็นองค์กรที่มีความตั้งใจจริง เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในชุมชนอย่างแท้จริง เมื่อจัดตั้งองค์กรแล้วก็ได้มีการเสนอแผนโครงการเพื่อขอรับประมาณสนับสนุนกิจกรรมในทันที ซึ่งขณะนี้ได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ทางองค์กรได้นำเงินดังกล่าวมาจัดกิจกรรม ๕ ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรก จัดประชุมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อชี้แจงให้ความรู้ด้านการจัดทำแผนแม่บทองค์กร ครั้งที่ ๒ ตรวจสอบแบบสำรวจข้อมูลองค์กรความต้องการพัฒนากลุ่มองค์กร รวบรวม บันทึกข้อมูล ครั้งที่ ๓ นำเสนอข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลตามความต้องการ พร้อมยกร่างแผนแม่บทองค์กร ครั้งที่ ๔ ประชาพิจารณ์แผนแม่บทองค์กร รับรองแผนแม่บทองค์กร เสนอแผนโครงการกู้ยืม และครั้งที่ ๕ โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพองค์กร การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างสวัสดิการองค์กร แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การศึกษาดูงานให้กับสมาชิกและเกษตรกรที่สนใจ พร้อมสร้างเครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมมีการจัดสรรงบประมาณได้อย่างเหมาะสมและชี้แจงรายละเอียดอย่างชัดเจน กระบวนการทำงานของกลุ่มมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

rn

ผู้นำองค์กรมีความเป็นผู้นำที่ดี เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง มีแนวคิดใหม่ๆ และมีความมุ่งมั่นในการสร้างกลุ่มให้พัฒนาอย่างเข้มแข็ง สมาชิกในกลุ่มมีอาชีพทำนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการฟื้นฟูอาชีพ เมื่อมีประธานองค์กรที่ติดตามข่าวสารของกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างใกล้ชิด จึงเกิดการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ สู่สมาชิกในองค์กร ทำให้เกิดความเข้าใจถึงกระบวนการ ขั้นตอนการช่วยเหลือ ทั้งด้านการฟื้นฟูอาชีพ และด้านการจัดการหนี้อย่างถูกต้อง  

rn

ทางด้านนางเสายะ คงยศ ประธานกลุ่มได้เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รู้จักกองทุนฟื้นฟูฯ รู้ว่ามีหน่วยงานแบบนี้อยู่เคียงข้างกับเกษตรกร ก็ทำให้รู้สึกว่าเกษตรกรไทยมีที่พึ่งพิง ที่ผ่านมาทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดระนองได้ให้ความรู้แก่กรรมการและสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ ตนในฐานะที่เป็นประธานองค์กร ตั้งใจว่าจะใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับให้คุ้มค่า ถูกต้องตามระเบียบแน่นอน โดยเป้าหมายของ กลุ่มเกษตรกรฟื้นฟูนาข้าวบ้านกำพวน คือต้องการงบกู้ยืมจากกองทุนฯ มาสร้างโรงสีข้าวของชุมชน แต่ทั้งนี้องค์กรจะต้องพิสูจน์ศักยภาพขององค์กรและสร้างความเข้มแข็งในเบื้องต้นให้ได้ก่อน.

rn

rn

rn

rn