rn

jit3

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  พร้อมพนักงานและลูกจ้างฯ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯสาขาจังหวัดพิจิตร  เร่งการดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์การปรับโครงสร้างหนี้  ตามมติ ค.ร.ม.  วันที่  7  เมษายน  2553  ที่ยังคงค้างการอบรม ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2555  นี้ 

rn

ตามที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ได้มีคำสั่งให้เร่งการจัดฝึกอบรมพี่น้องเกษตรกรที่ยังค้างหลักสูตรการฝึกอบรมอยู่   สาขาจังหวัดพิจิตร  จึงตั้งแผนดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในเดือน  กันยายน 2555  นี้  เพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกร  นางนุชฎา  จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  กล่าวว่า  การอบรมเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์การปรับโครงสร้างหนี้ฯ  จะใช้เวลาดำเนินการอบรมระหว่างวันที่  21  สิงหาคม  –   20  กันยายน  2555  ซึ่งสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  มีหน่วยฝึกอบรมให้กับเกษตรกรในครั้งนี้จำนวน  2  หน่วยฝึกอบรมด้วยกัน  คือ  ศูนย์การเรียนรู้รู้เศรษฐกิจพอเพียง  ตำบลหนองปลาไหล  อำเภอวังทรายพูน  จังหวัดพิจิตร  และศูนย์การเรียนรู้รู้เศรษฐกิจพอเพียง  ตำบลหนองโสน  อำเภอสามง่าม  จังหวัดพิจิตร

rn

การจัดการอบรมตามหลักการ ปรับชีวิต  พิชิตความยากจน ”  โดยสำนักงานได้เข้าร่วมชี้แจงหลักสูตรการฝึกอบรมกับพี่น้องผู้เข้าร่วมรับการอบรม  นอกจากนี้ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับพี่น้องเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมทั้งกิจกรรมตามหลักสูตรในช่วงตอนกลางวัน  และยังร่วมกิจกรรมนันทนาการในช่วงกลางคืนเพื่อสร้างความสามัคคีและสารความสัมพันธ์อันดีต่อพี่น้องเกษตรกร หน่วยฝึกอบรม  และสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  กล่าวถึงกิจกรรมดังกล่าวว่า การจัดการฝึกอบรมเกษตรกรแต่ละครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ  ยังสร้างความตระหนัก และ ให้ความรู้ต่อพี่น้องเกษตรกรเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสฯ  การดำเนินชีวิต  โดยยึดหลัก ปรับวิธีคิด พิชิตความยากจน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อเกษตรกรสำเร็จการอบรมแล้ว  จะสามารถนำกลับไปปรับใช้ในวิถี  และการดำเนินชีวิตประจำวันได้  สร้างอาชีพ  สร้างรายได้  ลดรายจ่าย  มีรายได้เหลือ  สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินคงค้าง  สร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้ดียิ่งขึ้นไป

rn

jit4