25-0425-0525-03

rn

 

rn

เมื่อวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และชลบุรี จัดอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. 7 เมษายน 2553 ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 46 ราย ประกอบด้วย จังหวัดระยอง 13 ราย จังหวัดจันทบุรี 22 ราย จังหวัดตราด 6 ราย และจังหวัดชลบุรี 5 ราย  

rn

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชำปลาไหล หรือ สวนเกษตรอินทรีย์ผู้ใหญ่คำนึง ชนะสิทธ์ เป็นศูนย์รวมปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป พื้นที่ 33 ไร่ ทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด สละ ลองกอง มะขาม มีการปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระวาน กานพลู ชะพลู หน่อแดง ว่านสาวหลง ตะไคร้หอม มีการอนุรักษ์พืชท้องถิ่น หญ้างูแดง หญ้ารามพระอินทร์ ใช้เป็นกลอุบายให้แมลงกินไม่รบกวนพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกไม้ผลต่างระดับในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า “ครอบครัวผลไม้” เป็นการประหยัดน้ำ ปุ๋ย ใช้สารสกัดจากธรรมชาติขับไล่แมลง และบำรุงต้นพืช จึงเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ในการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานการทำกสิกรรมธรรมชาติ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 วัน 3 คืน และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านการกสิกรรมและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วยฐานเรียนรู้หลากหลาย คลอบคลุมพื้นฐานการดำเนินวิถีชีวิตของเกษตรกร

rn

นายคำนึง ชนะสิทธิ์ เป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนด้านการเกษตร โดยเริ่มทำสวนตนเองให้เป็นสวนป่า สวนผลไม้ที่มีพืชสมุนไพรคล้ายในป่าบนภูเขาไม่ใช้สารเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นสถานที่สามารถเป็นต้นแบบและมีเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน รวมตัวกันในการเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติ แก่บุคคลทั่วไป จึงมอบให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรที่สนใจทั่วไป ด้วยหลักสูตรการทำกสิกรรมธรรมชาติขั้นพื้นฐานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปปฏิบัติ และขยายผลได้อย่างกว้างขวาง 

rn

นายธนสรรค์  สีสม  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดระยอง เปิดเผยข้อมูล ว่า “สาเหตุหลักที่รวมเอาภาคกลาง 4 จังหวัด มาจัดอบรมรุ่นเดียวกันนั้น คือ ในพื้นที่บริเวณนี้มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ไม่กี่ราย รวมแล้วแค่เพียง 46 รายเท่านั้น ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ แล้ว แต่ละศูนย์จะต้องมีเกษตรกรเข้าอบรมอย่างน้อย 50 รายขึ้นไป จึงได้หารือร่วมกับหัวหน้าสาขาจังหวัดใกล้เคียง ว่าควรจะจัดครั้งเดียวกัน อีกทั้งในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเหมือนๆ กัน ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชำปลาไหล ของคุณลุงคำนึง ชนะสิทธิ์ จึงสามารถตอบโจกท์การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เกษตรกรสมาชิกของจังหวัดระยองที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ต่างให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จากเจ้าของศูนย์ ไปใช้ในการประกอบอาชีพทำสวนของตนเองต่อไป” 

rn

นางดลยา ศรีสำราญรุ่งเรือง รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม ว่า “หลักสูตรการอบรมที่ทางศูนย์และสำนักงานร่วมกันกำหนด จะมีทั้งเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟูฯ การทำเกษตรอินทรีย์ตามรอยพ่อ การทำบัญชีครัวเรือน ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรไทย การเรียนรู้อาชีพสร้างรายได้ต่างๆ และหลักสูตรปรับแนวคิดเพื่อพิชิตความยากจน ซึ่งเนื้อหาค่อนข้างหลากหลาย ทางศูนย์กสิกรรมธรรชาติชำปลาไหล เป็นศูนย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการฝึกอบรมเป็นอย่างมาก สำนักงานจึงค่อนข้างมั่นใจว่าการนำสมาชิกมาอบรมในครั้งนี้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์สูงสุดแน่นอน”

rn

rn