rn

24-0124-0224-0324-04

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ เดินหน้าเชิงรุก  ในช่วงไตรมาส 3  ช่วงเดือน เมษายน – มิถุนายน 55 ประเดิมชำระหนี้แทนเกษตรกร เป็นจำนวนเงินกว่า 1.9 ล้านบาท  มีเกษตรกรหลุดพ้นหนี้สหกรณ์ 4 แห่ง รวม 25 ราย และบุกงานด้านฟื้นฟูฯ รอการอนุมัติ/ทำสัญญาเงินกู้ยืมโครงการฯ จากสำนักงานใหญ่ เพื่อเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัด

rn

rn

นายวันชัย    ชำนาญเท รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ   เปิดเผยความคืบหน้าผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ  ว่า “ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ  2555 เป็นการทำงานเชิงรุกและร่วมบูรณาการกับองค์กรภาคีหน่วยงาน ต่างๆ อย่างเข้มข้น ในด้านงานจัดการหนี้ ได้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกรไปแล้ว  จำนวน 25 ราย  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,986,670.13 บาท แยกเป็น หนี้สหกรณ์การเกษตรหัวตะพาน  จำกัด 8 ราย เป็นเงิน 1,429,721.73 บาท  หนี้สหกรณ์การเกษตรนาเจริญ จำกัด 11 ราย เป็นเงิน 287,468.69 บาท  หนี้สหกรณ์การเกษตรลืออำนาจ จำกัด 3 ราย เป็นเงิน 44,081.52 บาท และหนี้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนาดูน จำกัด 3 ราย เป็นเงิน 225,398.19 บาท โดยในปี 2555 ได้ชำระหนี้แทนไปแล้วทั้งสิ้น 77 ราย เป็นจำนวนเงินกว่า 4,835,797.80 บาท”

rn

rn

“ในส่วนงานด้านการฟื้นฟูอาชีพ สำนักงานสาขา จ.อำนาจเจริญ มีองค์กรเกษตรกรที่เสนอแผนโครงการประเภทเงินกู้ยืม องค์กรละไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งหมด  6  องค์กร รวมงบประมาณที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 2,285,800 บาท ได้รับการอนุมัติงบประมาณแล้ว 5 องค์กร ได้แก่ 1.สภาเกษตรกรไทย อำเภอพนา รหัสองค์กร 3743000091 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 343,800 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการฟื้นฟูเกษตรแนวใหม่ 2.เครือข่ายธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ  รหัสองค์กร   3747000070 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม 442,000 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 40 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการปลูกข้าวอินทรีย์ 3.สภาเกษตรกรไทย  อำเภอเสนางคนิคม  รหัสองค์กร  3743000113   ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม 500,000 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ พัฒนาการผลิตขั้นพื้นฐาน4.องค์กรผู้ผลิตเพื่อการส่งออก รหัสองค์กร 3743000296 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม 500,000 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 47 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และ 5.กลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์ดี หมู่ 6 บ้านหนองยาง ต.ดงบัง รหัสองค์กร 3747000029 ได้รับอนุมัติงบประมาณกู้ยืม จำนวน 500,000 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 39 คน โครงการที่ได้รับการอนุมัติ โครงการเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อการออม อยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานใหญ่ 1 องค์กร คือ กลุ่มการเกษตรทฤษฎีใหม่พัฒนาก้าวหน้า  รหัสองค์กร 3743000202 มีผู้เข้าร่วมโครงการ 33 คน ได้เสนอโครงการ โครงการพัฒนาการผลิตขั้นพื้นฐาน  

rn

นายวันชัย  ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “องค์กรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณทั้งหมดนี้  สำนักงานได้ดำเนินการจัดทำสัญญากู้ยืม และจ่ายเงินให้กับองค์กรเพื่อไปดำเนินตามกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการตามงวดงาน/งวดเงินแล้วจำนวน 4 องค์กร ซึ่งสำนักงานได้ลงพื้นที่ร่วมกับองค์กรและทำความเข้าใจกับคณะกรรมการ/สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการทุกครั้ง  ในเรื่องของการบริหารจัดการโครงการ  เช่น การมีส่วนร่วมของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ การดำเนินการเรื่องการเบิกจ่ายหลักฐาน/เอกสาร ต่างๆ  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหน้า และที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติจริง ตามโครงการฯ ซึ่ง สำนักงานสาขาจังหวัดอำนาจเจริญได้จัดทำแผนงาน ในการติดตามและ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอย่างใกล้ชิด เสร็จเรียบร้อยแล้ว” 

rn

ซึ่งในส่วนของการทำงานด้านอื่นๆ นั้น นายวันชัย หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดอำนาจเจริญ เปิดเผยว่า “การรับชำระหนี้คืนจากสมาชิกเกษตรกรที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ชำระหนี้แทนแล้วนั้น สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีแผนงานในการติดตามการชำระหนี้คืนให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างต่อเนื่อง  ได้แก่ การตรวจสอบการครบกำหนดรอบการชำระหนี้ ของสมาชิกแต่ละรายที่ได้รับการชำระหนี้แทน และต้องมาชำระหนี้คืนให้กับทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า  รวมถึงการลงพื้นที่พบปะ เยี่ยมเยือนสมาชิกรายองค์กร/รายบุคคล เพื่อเป็นการให้กำลังใจ และสอบถามความเป็นอยู่ ของการดำเนินชีวิต  เป็นต้น โดยสาขาจังหวัดอำนาจเจริญ มีข้อมูลเกษตรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้แทนแล้ว  มาชำระหนี้คืนกองทุนฟื้นฯ ตามแผนการชำระ คืนเงิน เป็นอย่างดียิ่ง” 

rn

 

rn

เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย ทั้งด้านการฟื้นฟูอาชีพ และการแบ่งเบาภาระหนี้สินของเกษตรกร ให้ลดน้อยลง ในช่วงไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2555 นี้ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ จึงได้ปฏิบัติงานเชิงรุกอย่างเข้มข้น ตามปณิธานที่สาขาอำนาจเจริญได้ร่วมกันคิดว่า  

rn

“เป้าหมายเกษตรกรต้องมาก่อน        

rn

 ความเหนื่อยอ่อนและเมื่อยล้าเดี๋ยวหายเอง

rn

เมื่อเห็นเกษตรกรได้รับการปลดเปลื้องภาระหนี้สิน

rn

และฟื้นฟูพัฒนาอาชีพของตนเอง