จุรินทร์โชว์ผลงานรอบ 2 ปี ของ กฟก. แก้หนี้ 1,514 ลบ. ฟื้นฟูอาชีพ 313 ลบ. ดันงบกลางเพิ่มอีก 2 พันล้าน

วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 11.00 น. ที่ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์แถลงผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในรอบ 2 ปี ให้สื่อมวลชนได้รับทราบ โดยมีนายไชยยศ จิรเมธากร   รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง คณะกรรมการ กฟก. คณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการจัดการหนี้ นายสไกร    พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน กฟก. ร่วม รับฟังการแถลงข่าวด้วย

นายจุรินทร์ เปิดเผยว่า ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ กฟก. ได้ดำเนินงานไปแล้วหลายประการ ดังนี้ มีสมาชิกที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 5,670,659 ราย คิดเป็นองค์กร 56,284 องค์กร ขึ้นทะเบียนเพื่อขอให้ กฟก.ช่วยเหลือด้านหนี้สิน จำนวน 535,871 ราย 769,220 บัญชี วงเงิน 107,119,587,129.52 บาท สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ให้เกษตรกรได้ทั้งสิ้น 1,857 ราย เป็นหนี้รวม 1,514 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดแยกเป็น ซื้อหนี้จากสถาบันการเงินแล้ว ให้เกษตรกรมาเป็นหนี้ กฟก. แทน โดยไม่มีภาระดอกเบี้ยและไม่มีการยึดที่ดินจนกว่าเกษตรกรจะผ่อนชำระหนี้ครบ จำนวน 1,695 ราย วงเงิน 1,347 ล้านบาท และ กฟก. เข้าไปซื้อทรัพย์สินที่ถูกยึดหรือกำลังขายทอดตลาด จำนวน 162 ราย วงเงิน 167 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้มีความคืบหน้าไปมากภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ

และยังสามารถช่วยแก้ปัญหาชะลอไม่ให้เกษตรกรถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี ขายทอดตลาดอีกจำนวน 11,472 ราย วัตถุประสงค์อีกด้านของ กฟก. นั้น มีนโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้เกิดความเข้มแข็งภายหลังที่ได้รับการจัดการหนี้ มีการอนุมัติโครงการเพื่อการฟื้นฟูอาชีพไปแล้ว จำนวน 551 โครงการ วงเงิน 313,181,445 บาท สมาชิกร่วมโครงการ 9,107 ราย

สำหรับการประชุมในวันนี้ ที่ประชุมมีมติสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่

  • เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดการหนี้ฯ ซึ่งเป็นกลไกหลักของคณะกรรมการ กฟก. ในการแก้ไขปัญหาหนี้ ไปดำเนินการจัดการหนี้ให้เกษตรกรเพิ่มเติมอีก 5,277 ราย วงเงิน 3,533 ล้านบาท
  • มีมติให้คณะกรรมการจัดการหนี้ฯ ซื้อทรัพย์ให้เกษตรกรที่เป็นหนี้ NPA เพิ่มเติมอีก 35 ราย วงเงิน 52.7 ล้านบาท
  • ให้ปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการ กฟก.เพื่อให้คณะกรรมการจัดการหนี้ฯ ไปซื้อทรัพย์ที่หลุดมือจากเกษตรกรไปหลายทอด แต่เกษตรกรยังหวังที่จะให้ทรัพย์กลับคืนมา โดยให้มาเป็นทรัพย์ที่อยู่ในความดูแลของ กฟก. และเกษตรกรมาผ่อนชำระคืนจนกว่าจะครบตามสัญญา เป้าหมายหลักในเรื่องนี้คือต้องการรักษาหลักทรัพย์หรือที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร
  • เห็นชอบการจัดสรรเงินงบกลางที่ ก.เกษตรฯ กับ กฟก. เสนอขอต่อ ครม. โดย ครม. เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 65 และเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 65 สำนักงบประมาณ ได้โอนเงิน ให้ กฟก. แล้ว ซึ่งสามารถนำงบประมาณไปดำเนินการตามกรอบและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แยกเป็น 1) เพื่อการบริหารสำนักงาน เป็นเงิน 230,382,500 บาท 2) เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้ เป็นเงิน1,500 ล้านบาท เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3,425 ราย และ 3) เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นเงิน 269,617,500 บาท เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 42,034 ราย 776 องค์กร

บอร์ดใหญ่กองทุนฟื้นฟูฯ เคาะกรอบเงิน 2,000 ลบ. แก้ปัญหาหนี้เกษตรกร 1,500 ลบ. ฟื้นฟูอาชีพกว่า 267 ลบ.

วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น. ที่ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบ NT Conference โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นประธานการประชุม

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมได้มีมติ ที่สำคัญดังนี้

วาระเพื่อทราบ 3 วาระ ประกอบด้วย

1. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง

2. คำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566

3. รายงานสถานะการเงิน งบประมาณและการบริหารงบประมาณปี 2565

วาระเพื่อพิจารณา 6 วาระ ประกอบด้วย

1. เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ดำเนินการจัดการหนี้ให้เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับ กฟก.

2. เห็นชอบรายชื่อเกษตรกรสมาชิก กฟก. ที่เป็นหนี้ NPA (เพิ่มเติม) และอนุมัติซื้อทรัพย์ NPA คืนให้เกษตรกร ตามมติ ครม. 10 เม.ย. 55

3. เห็นชอบกำหนดสถาบันเจ้าหนี้เป็นนิติบุคคล (เพิ่มเติม) จำนวน 1 แห่ง คือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ชโย จำกัด

4. เห็นชอบระเบียบคณะกรรมการบริหาร กฟก.ว่าด้วยการช่วยเหลือบุคคลซึ่งถูกดำเนินคดีเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. …

5. เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการ กฟก.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการทรัพย์สินหลักประกันของเกษตรกรที่ได้มีการจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อการชำระหนี้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. …

6. เห็นชอบกรอบแผนและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ดังนี้

– เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสำนักงาน ไตรมาสที่ 3-4 (งบบุคลากร งบดำเนินงาน) งบประมาณ 230,382,500 บาท

– การแก้ไขปัญหาหนี้ เป็นเงิน1,500 ล้านบาท เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3,425 ราย

– การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นเงิน 269,617,500 บาท เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 42,034 ราย 776 องค์กร

ประกาศสำนัก เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดจ้างบำรุงรักษา (MA) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) จำนวน ๔ เครื่อง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

ครม.อนุมัติงบกลางปี 2,000 ลบ. ปลดล็อคปัญหาหนี้เกษตรกรกว่า 3,500 ราย รักษาที่ดินภาคการเกษตรได้กว่า 5,000 ไร่

วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติงบประมาณกลางปี 2565 ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 2,000 ล้านบาท ขอขอบคุณคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกองทุนฟื้นฟูฯ และดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก. สำหรับงบประมาณที่ได้รับในครั้งนี้ เนื่องจาก กฟก. มีงบประมาณไม่เพียงพอเพราะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 จึงจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลางประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อมาดำเนินการภารกิจช่วยเหลือเกษตรกรดังนี้ 1. งบประมาณจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 3,425 ราย 4,416 สัญญา 2. งบประมาณจำนวน 269,617,500 บาท เพื่อนำไปฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรสมาชิกองค์กร และ 3. งบประมาณจำนวน 230,382,500 บาท เพื่อบริหารสำนักงาน

นอกจากนี้สำนักงาน กฟก.ขอบคุณคณะกรรมการบริหาร โดย นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล นายสำเริง ปานชาติ นายศรายุทธ ยิ้มยวน คณะกรรมการ จัดการหนี้ของเกษตรกร โดย นายจารึก บุญพิมพ์ นายสมศักดิ์ โยอินชัย นางนิสา คุ้มกอง นายดรณ์ พุมมาลี นายประสิทธิ์ บัวทอง นายนพรัตน์ เผ่าวัฒน์ชัย นายนวคม เสมา รวมถึงคณะกรรมการจัดการหนี้ทุกท่าน สมาชิกเกษตรกรกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย (สกท.) กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) และกลุ่มเครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ร่วมกันผลักดันของบประมาณ 2,000 ล้านบาท จนได้รับความ เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งโครงการนี้จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล รักษาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของเกษตรกรได้มากกว่า 3,425 ราย จำนวน 5,000 ไร่ เกษตรกรได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูอาชีพจำนวน 42,034 ราย จำนวน 776 องค์กร มีโอกาสฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้นำไปชำระหนี้ตามกำหนด และทำให้เข้าถึงแหล่งทุนเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพทางผลผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป การตลาด และพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ต่อไป