rn

           89264

rn

นายสไกร  พิมพ์บึง

rn

รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่ง 

rn

เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 

rn

rn

วันนี้เชิญเกษตรกรมาเพื่อจะแถลงให้รับทราบข้อเท็จจริงกรณีที่เป็นข่าวปรากฎในสาธารณะเกี่ยวกับการร้องเรียนพนักงานของ กฟก.ได้ร่วมกับสมาชิกของ กฟก.ก็คือสหกรณ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์มีการปลอมแปลงเอกสารและดำเนินการทุจริตเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินของกองทุนและใช้ในประโยชน์ส่วนตัว ทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง วันนี้ได้เชิญท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะดูแลสหกรณ์ โดยท่านได้มอบให้ท่านณรงค์พล พัฒนศรี มาเป็นผู้แทนและได้เรียนเชิญท่านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ท่านติดภารกิจแต่ท่านได้ยืนยันว่าได้รับพิจารณาเรื่องนี้ไว้ เพื่อที่จะทำหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวนเนื่องจากเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องและขยายไปอย่างวงกว้าง  

rn

ผมขอเรียนว่าเหตุการณ์ก็คือ กรณีเกษตรกร 12 ราย ได้เข้าไปร้องเรียนกับศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ หลังสำนักงานได้รับทราบข้อมูลก็ได้ให้มีการสืบเสาะข้อมูลในเบื้องต้น  โดยผมได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ลงไปหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 และสรุปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ว่ามีการพบข้อมูลซึ่งน่าจะเชื่อได้ว่าเป็นการทุจริตตามกระทำตามข้อกล่าวหาจริง และเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนลงไปทำการตรวจสอบโดยเป้าหมายไม่ได้อยู่ที่เฉพาะสหกรณ์เดียวแต่เน้นลงไปที่สหกรณ์ทุกสหกรณ์ที่กองทุนได้ชำระหนี้แทนในจังหวัดเพชรบูรณ์จำนวน 11 สหกรณ์ เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ให้ไปตรวจสอบก็คือ 330 ราย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินซึ่งกองทุนได้จ่ายให้กับชำระหนี้แทนเบื้องต้นตัวเลขที่ 75 ล้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดคือการทุจริตแต่ให้มีการสืบเสาะ

rn

ขอเรียนภาพรวมว่าตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุนมา กองทุนได้จัดการหนี้หรือว่าชำระหนี้แทนเกษตรกรตามกฎหมายจำนวนทั้งหมด 29,154 ราย เป็นเงินงบประมาณที่ใช้ไปทั้งสิ้น 6,069 ล้านบาท แล้วก็ในกลุ่มการจัดการนี้ก็แบ่งเป็น 1.หนี้ ธกส. 3,565 ราย 1,028 ล้านบาทเศษ ธนาคารพาณิชย์ 3,206 ราย 5,227 ล้านบาทเศษ  นิติบุคคลอื่นซึ่งกองทุนรับขึ้นทะเบียนมาก็คือจำนวน 661 ราย เงิน 280 ล้านบาทเศษ และกรณีสหกรณ์การเกษตร เนื่องจากสหกรณ์มีลูกหนี้มากที่ขึ้นทะเบียนไว้ได้ชำระหนี้แทนไปจำนวน 21,321 ราย เฉพาะสหกรณ์ใช้งบประมาณไป 3,261 ล้านบาทเศษ นี่คือในภาพรวม  

rn

ในการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากคณะกรรมการสืบสวนในพื้นที่ ซึ่งก็ต้องขอบคุณในส่วนราชการเพราะว่าเรื่องร้องเรียนได้ร้องเรียนไปที่ศูนย์ดำรงธรรม ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงประกอบกับทางกรมส่งเสริมสหกรณ์โดยท่านอธิบดีท่านก็ได้ให้มีการสืบเสาะ สอบสวนเช่นเดียวกัน กลายเป็น 3 คณะ ทำงานในพื้นที่ ขณะนี้ก็ยังดำเนินการสืบสวนยังไม่แล้วเสร็จ เพราะขยายไปถึง 3 สหกรณ์จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้น  

rn

ระหว่างนี้เป็นช่วงปฏิรูปสำนักงาน ซึ่งผมได้รับมอบหมายให้รักษาการเลขาธิการ วันนี้เป็นเดือนที่ 4 ก็ได้สั่งการให้สำนักงานสาขาจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้มีการรวบรวมตรวจสอบเอกสารเรื่องการชำระหนี้แทนทั้งหมดทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะของสหกรณ์แต่ทุกสถาบันเจ้าหนี้ด้วย ผมได้มีหนังสือการให้พนักงานในส่วนกลางรวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลลงไปเพื่อที่จะรีเช็คคู่ขนานกัน อย่างกรณีเช่นเพชรบูรณ์ โดยจังหวัดเพชรบูรณ์มีข้อมูลชำระหนี้ที่ส่งลงไปในสหกรณ์จำนวน 330 ราย เพราะเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่ามีบางรายใน 330 ราย ซึ่งมาขออนุมัติให้กองทุนชำระหนี้ ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ แล้วเงินที่ชำระหนี้ไปไม่เข้าบัญชีสหกรณ์อย่างนี้เป็นต้นเพราะฉะนั้นผมได้สั่งการไปและจะมีการตรวจทั้งประเทศและมีการเล็งไปที่กลุ่มเป้าหมายซึ่งในจังหวัดบางจังหวัดอาจจะมีกรณีที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอันนี้จะดำเนินการทั้งหมดในภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งผมจะใช้เวลาตรงนี้ในช่วงเวลา 30 วัน ต้องทำกระบวนการตรวจสอบในเบื้องต้นให้เสร็จ  

rn

ส่วนที่ 2 เนื่องจากตามที่ได้เรียนว่าได้เรียนเชิญกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีหนังสือถึงท่านอธิบดีฯ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้ผู้ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวน เนื่องจากคดีดังกล่าวได้ขยายไปในวงกว้าง ไม่ใช่เพราะสมาชิกกองทุน สมาชิกเกษตรกร แต่มีภาพเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกด้วย ผมจึงได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไป ซึ่งได้นำเรียนไปแล้วว่าทางกรมสอบสวนฯ ท่านก็จะได้พิจารณาให้สำนักคดีพิเศษเข้ามาดำเนินการ ซึ่งเมื่อตรวจสอบข้อมูลในจังหวัดใด ภายใต้ข้อมูลที่กองทุนอนุมัติจ่ายเงินจากส่วนกลางผ่านระบบตรวจสอบบัญชีการเงินและสัญญาต้นทางที่มี ลงไปเช็คกับในพื้นที่จังหวัดได้ว่าถ้าไม่ตรงกันก็จะให้เป็นหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้สืบสวน ในขณะเดียวกันโดยการดำเนินการทางวินัย สำนักงานก็จะดำเนินการ อันนี้ขอนำเรียนในภาพรวม เพื่อให้ได้ข้อมูลในเบื้องต้นที่ได้เรียนเชิญท่านผู้แทนอธิบดี ท่านได้มาแถลงข่าวในวันนี้เพราะว่าในพื้นที่มีการทำงานควบคู่กันทั้ง 3 หน่วยงาน ทั้งส่วนจังหวัดโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ระดับกรมโดยท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และ กฟก. โดยผมได้แต่งตั้งกรรมการสืบสวน  

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

 

rn

89265

rn

 

rn

นายณรงค์พล  พัฒนศรี

rn

ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ 

rn

(ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์) 

rn


rn

rn

รายงานว่าการซื้อขายหนี้ระหว่าง กฟก. กับสหกรณ์ทั่วประเทศ มีจำนวน 21,351 ราย จำนวนเงิน 3,261,195 ,157.70 บาท ในกรณีที่เป็นประเด็นอยู่ที่เพชรบูรณ์มีการซื้อขายหนี้จำนวน  11 สหกรณ์ จำนวน 330 ราย จำนวนเงิน 75,106,868,05 บาท จากการตรวจสอบพบว่าใน 8 สหกรณ์ จำนวนสมาชิก 132 ราย จำนวนเงิน 31,680,000 บาท แต่เป็นการซื้อขายจริง มีเหตุผิดปรกติ  3 สหกรณ์ จำนวนสมาชิก 198 ราย มีการซื้อขายจริงเพียง 71 ราย เป็นเงินประมาณ 7 ล้าน 8 แสนบาทเศษ ส่วนอีกจำนวน 127 ราย จำนวนเงิน 38 ล้าน 5 แสน 9 หมื่นบาทเศษนั้นมีปัญหา ได้แก่  

rn


rn

สกรณ์การเกษตรศุภนิมิตรหล่มเก่า จำกัด ผลการตรวจสอบพบว่าไม่มีการขึ้นทะเบียนขายหนี้ ให้ กฟก. ไม่เคยมีมติใดๆ ที่จะขายหนี้ให้ กฟก.โดยมีการร่วมกันสองทางทั้งทางเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์และ กฟก. เป็นการปลอมแปลงหลักฐานการเป็นหนี้ของสมาชิก 34 ราย เป็นเงิน 6 ล้าน 7 แสนบาทเศษ และมีการทำเอกสารปลอมคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกว่าเป็นสมาชิกแล้วเป็นหนี้อีก 34 ราย รวมเป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ในสหกรณ์นี้มีเคสที่เป็นปัญหาอยู่ 71 ราย เป็นจำนวนเงิน 20 ล้าน 9 แสนบาทเศษ ในการดำเนินการสหกรณ์นี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดการ  ซึ่งสหกรณ์ได้ลงโทษโดยไล่ผู้จัดการสหกรณ์ออกแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.ค.61 และมีการร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจภูธรหล่มเก่า เมื่อวันที่ 23 ก.ค.61 ว่ามีการปลอมแปลงรายงานการประชุมและเปิดบัญชีกับ ธกส. เพื่อรับเงินจาก กฟก. และได้รับแจ้งเพิ่มเติมว่าเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่กระทำผิด  ขณะนี้ได้เข้ามาเป็นพนักงานราชการในสังกัดสหกรณ์จังหวัด 1 ท่าน กรณีนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะกำกับดูแลสหกรณ์ นายทะเบียนสหกรณ์ โดยรองนายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 22 ให้ไต่สวนเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน โดยออกคำสั่งเมื่อวันที่ 23 ก.ค.61 และอดีตเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่เป็นพนักงานราชการ ได้มีการแต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้ว 

rn


rn

ต่อมาเป็นสหกรณ์ไทยหล่ม จำกัด เดิมชื่อสหกรณ์การเกษตรภูมิไทยหล่มเก่า จำกัด พบว่าสหกรณ์ขายหนี้สมาชิกให้ กฟก. 120 ราย แต่มีการสร้างหลักฐานเท็จปลอมแปลงเอกสารบุคคลภายนอกมาเป็นหนี้สหกรณ์ จำนวน 49 ราย เป็นเงิน 15 ล้านบาทเศษ เป็นการกระทำร่วมกันของทางเจ้าหน้าที่ของทีมสหกรณ์เดิม และ กฟก. 

rn


rn

สหกรณ์มะขามหวานหล่มเก่า  สหกรณ์นี้ประธานกรรมการสหกรณ์  และสมาชิกร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและขายหนี้ให้ กฟก. จำนวน 7 ราย เป็นเงิน 2 ล้าน 5 แสนบาทเศษ โดยสหกรณ์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจภูธรหล่มเก่ากรณีปลอมรายงานการประชุมเพื่อเปิดบัญชีของ ธกส.ธนาคารในการรับเงินจาก กฟก. ทางทางสวบสวนมีการไต่สวนร่วมกับ กฟก. โดยเจ้าหน้าที่สหกรณ์ยอมรับในเบื้องต้นว่ามีการปลอมแปลงเอกสารเพื่อขายหนี้ให้ กฟก. จริง และนายทะเบียนมีคำสั่งให้มีการสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อจะพิจารณาดำเนินการต่อไป 

rn


rn

          อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สั่งการว่าในการซื้อขายหนี้กับ กฟก. ที่ผ่านมาทั่วประเทศ 21,321 ราย ให้มีการตรวจสอบย้อนหลังกลับไปทั้งหมดว่าจะมีกรณีเช่นนี้อีกหรือไม่

rn

 

rn

S__144850955

rn

rn

rn

นายชรินทร์  ดวงดารา 

rn

(ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย) 

rn

rn

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ในวันนี้ ทำให้เกษตรกรรู้สึกไม่สบายใจ จึงได้ร่วมกันแถลงข่าวในนามเครือข่ายองค์กรเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ดังนี้ 

rn

ประเด็นที่ 1 ผู้ที่ถูกกล่าวหาโดนร้องเรียน ในทางกฎหมายยังคงนับว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าข้อเท็จจริงจะปรากฎ แต่เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นใหญ่และสร้างความเสียหายในวงกว้าง เมื่อเรื่องดังกล่าวออกสู่สาธารณชนแล้ว กฟก.จะต้องทำความจริงทั้งหมดให้ปรากฎ งบประมาณที่สูญเสียไปเกิดจากการเรียกร้องต่อสู้ของเกษตรกร จนรัฐบาลให้งบประมาณมาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร เมื่อเกิดความเสียหายระหว่างทางเช่นนี้ เกษตรกรมีความรู้สึกรับไม่ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของ กฟก.  

rn

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มีมติให้ กฟก. จัดทำสัญญาของเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ใหม่ทั้งหมด แต่ไม่ได้มีการดำเนินการ การจัดการหนี้ไม่สามารถซื้อหนี้ได้โดยตรงกับสมาชิก ต้องผ่านการเห็นชอบจากองค์กรเกษตรกรเท่านั้น แต่ตอนนี้ไม่มีองค์กรเกษตรกรรับรู้รับทราบ หรือเป็นสักขีพยานในการชำระหนี้แทน ทำให้เกิดช่องว่างและเกิดการทุจริตขึ้น เพราะฉะนั้น การมีส่วนร่วมขององค์กรเกษตรกรเป็นหัวใจหลักของพระราชบัญญัติ กฟก. และการดำเนินงานของ กฟก. เกษตรกรทุกคนไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกได้ถ้าไม่ผ่านการเห็นชอบขององค์กร แต่การดำเนินงานที่ผ่านมานั้นมองข้ามกระบวนการขององค์กรเกษตรกรไปโดยสิ้นเชิง นับจากนี้ขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการดำเนินงาน 100 % โดยให้องค์กรเกษตรกรเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

rn

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในขณะนี้ คือ ไม่มีอนุกรรมการระดับจังหวัด เรื่องนี้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรทราบและเล็งเห็นปัญหา จึงได้แต่งตั้งให้อนุกรรมการระดับจังหวัดเป็นตัวแทนกรรมการ และจะหมดวาระต่อเมื่อมีชุดใหม่ทำหน้าที่แทน กระบวนการมีส่วนร่วมจากเกษตรกร และประชาชน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ 

rn

ประเด็นที่ 2 สนับสนุนให้มีกลไกการบริหาร การดำเนินงาน เป็นไปตามกฎหมายอย่างครบถ้วน ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร 

rn

ประเด็นที่ 3 กฟก.ต้องทำตามเจตนารมณ์ของหัวหน้า คสช. ต้องมีการปฏิรูป กฟก. ขนานใหญ่ให้ครบทุกด้าน เพื่อป้องกันปัญหาเช่นนี้ ต้องกล้าที่จะยืนให้หน่วยงานภายนอก เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สง่างาม และเพื่อเกียรติศักดิ์ศรีของเกษตรกร  แทนวิธีการตรวจสอบกันเองภายในองค์กร เพราะความมั่นคงของ กฟก. คือความมั่นคงของพนักงาน