rn

tai3

rn

ประชาสัมพันธ์–บัญชีรายชื่อซ้ำ–หน่วยเลือกตั้งกระจุก

rn

อุปสรรคการจัดเลือกตั้งพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้

rn

แม้นว่าการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2555 จะผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา และมีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการแล้ว โดยในพื้นที่ภาคใต้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องเกษตรกร สนับสนุนให้เข้ามาทำหน้าจำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ 2.นายวีระพงศ์ สกล 3.นายสุภาพ คชนูด และ4.นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โดยมีผลคะแนนมากน้อยกว่ากันตามลำดับนั้น

rn

ถึงแม้ว่าภายหลังจากการประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งแล้ว ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องเกษตรกรทั้งหมด ยังไม่ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านการลงนามรับรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ตามที

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะผู้จัดการเลือกตั้ง ซึ่งดำเนินการร่วมกับกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยได้สรุปปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเลือกตั้ง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ในคราวต่อไปให้สมบูรณ์ที่สุด และมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด

rn

โดยเฉพาะสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 14 จังหวัดประกอบไปด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี ตรัง และชุมพร ที่ได้จัดประชุมเพื่อสรุปงานเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งขึ้น ในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเพิร์ล อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งในระดับบริหารและปฏิบัติงาน จากสำนักงานใหญ่และสาขาจังหวัดเข้าร่วมเกือบ 100 คน และมีนายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานเปิดงาน สัมมนาตามโครงการ สรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ติดตามการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการบริหารสำนักงาน สาขาจังหวัดภาคใต้

rn

บัญชีรายชื่อล่าช้าและไม่ตรงกับบช.ปกครอง

rn

บรรยากาศการจัดสัมมนาเต็มไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากมีพนักงานเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสาขาจังหวัดทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งได้เข้าร่วมในเวที แม้ว่าจะเกิดพายุฝนตกหนักในช่วงดังกล่าว โดยในการจัดกิจกรรมนั้น ได้จำแนกกลุ่มจังหวัดออกเป็น 4 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มไปร่วมกันระดมความเห็น ทั้งปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในการจัดเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในคราวต่อไป

rn

ประเด็น ปัญหา อุปสรรค การจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ที่ประชุมได้ร่วมกันสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้ 1. บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยเฉพาะบัญชี 2 สำนักงานใหญ่จัดส่งให้สาขาจังหวัดล่าช้า นอกจากนั้นบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ที่สำนักงานส่งให้สาขากับบัญชีรายชื่อที่กรมการปกครองประกาศยังมีรายชื่อไม่ตรงกัน และเป็นบัญชีรายชื่อที่ไม่เป็นปัจจุบัน และข้อมูลบัตรประชาชนยังไม่ถูกต้อง 2. การจัดส่งเอกสารแผ่นพับเพื่อการรณรงค์การเลือกตั้งไปยังสำนักงานสาขาล่าช้า 3. งบประมาณที่สำนักงานจัดให้สาขาเพื่อใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อม เพื่อจัดการเลือกตั้งน้อย 4.การประสานงานเพื่อทำงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่เชิงบูรณาการมีระยะเวลาสั้น 5. การจัดหน่วยเลือกตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกษตรกรออกมาใช้สิทธิ์น้อย เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย 6. การมอบหมายงานให้กรมการปกครองดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ทางสำนักงานควรกำหนดกรอบการดำเนินงานให้ชัดเจน 7. การจัดประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกษตรกรไม่รับรู้ว่าจะมีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร อีกทั้งมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์สั้น 8. การนับคะเลือกตั้งมีปัญหาเนื่องจากผลไม่ตรงกัน และไม่มีความโปร่งใส 9. การประกาศรับรองคุณสมบัติผู้สมัครมีความผิดพลาด 10. ขาดแผนการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง

rn

ปรับฐานข้อมูลใหม่-อับงบปชส.ทั้งปี

rn

ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการเลือกตั้ง ที่ประชุมได้มีข้อสรุปร่วมกันดังนี้ 1. การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สำนักงานควรปรับปรุงบัญชีรายชื่อ เพื่อให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ทุก ๆ 6 เดือน และควรแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันตรวจสอบบัญชีให้เกิดความถูกต้อง และควรสำเนาบัญชีรายชื่อแจกจ่ายแก่ผู้สมัครทุกคน 2. งบประมาณสนับสนุนการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานควรพิจารณาจัดสรรให้มากขึ้น และเป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ 3. ควรจัดหารางวัลตอบแทนแก่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด และหรือพื้นที่จังหวัดที่สามารถรณรงค์ให้เกษตรกรออกมาใช้สิทธิ์สูงที่สุดในแต่ละภูมิภาค 4. ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้งงานด้านการจัดการหนี้ และงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจน 5. การประเมินผลการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานควรมอบหมายสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานดำเนินการประเมินผล เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่การแก้ไขต่อไปในอนาคต 6. ควรใช้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย อาทิ การจัดเรียลลีตี้โชว์ เพื่อสร้างแรงจูงใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีของเกษตรกรและควรดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 7. สำนักงานควรนำข้อสรุปด้านการจัดการเลือกตั้งไปปรับปรุง และจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์เพื่อเตรียมการเลือกตั้งในคราวต่อไป

rn

8. การจัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ ควรจัดงบเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ตลอดทั้งปี และควรจัดทำสื่อที่มีความหลากหลายเพื่อแจกจ่ายให้ถึงตัวเกษตรกร 9.ควรรณรงค์ให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงสิทธิ์พึงมีพึงได้ของเกษตรกร หากออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และกำหนดโทษกรณีที่เกษตรกรไม่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 10.ควรเพิ่มวาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนเกษตรกร เป็นคราวละ 4 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน 11. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ควรจัดการเลือกตั้งเอง

rn

ยอมรับความผิดพลาดลั่นพร้อมแก้

rn

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวภายหลังการรับฟังการสรุปและสะท้อนปัญหาในการจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ว่า สำนักงานยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และยอมรับว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่ร่วมกันสะท้อนปัญหาเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งทางสำนักงานพยายามแก้ไขให้ถูกต้องและดำเนินการได้ 

rn

การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้ง ทางสำนักงานพยายามดำเนินการ แต่เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะต้องร่วมมือกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่นเรื่องงบประมาณ เราก็ถูกเสนอตัดงบประมาณที่ขอเพื่อจัดการเลือกตั้ง จากรรมาธิการงบประมาณลง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยและไม่สามารถสนับสนุนการทำงานของสาขาได้อย่างเต็มที่รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กล่าวและว่า

rn

ส่วนปัญหาเรื่องระบบฐานข้อมูลองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรสมาชิก ขณะนี้ทางสำนักงานกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง คาดว่าในเร็ว ๆ นี้จะดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากเรากำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะดำเนินการไปอย่างล่าช้าและไม่ทันใจ แต่เราก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

rn