3-3-pr4802

rn

3-3-pr4801

rn

3-3-pr4804

rn

3-3-pr4803

rn

อุดรฯดันเกษตรอินทรีย์นำร่องประชารัฐ อุดรธานี – ประชารัฐอุดรธานีลงนาม MOU ขับเคลื่อนสัมมาชีพเต็มพื้นที่สนองนโยบายบิ๊กตู่ ชูคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์เป็นโมเดลนำร่องก่อนขยายผลสู่คลัสเตอร์อื่น ผนึกกำลังจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนตามโมเดล “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” เพื่อเชื่อมผสานการทำงานสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน

rn

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559 ที่ห้องประชุมฟ้าหลวง 1 โรงแรมนภาลัย จังหวัดอุดรธานี นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การบูรณาการความร่วมมือสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง สู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน คลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์จังหวัดอุดรธานี โดยมีองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน 20 องค์กรเข้าร่วมในการลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจ ฐานรากโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เบื้องต้นนำร่องขับเคลื่อนคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์ และจะขยายผลสู่คลัสเตอร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสู่รูปธรรมการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายของรัฐบาล ดร. อนุรักษ์ เรืองรอบ รองผู้อำนวยการผู้อำนวยการมูลนิธิสัมมาชีพและคณะดำเนินงานสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยการระดมสรรพกำลังจากคนในประเทศทุกภาคส่วนในการร่วมมือกันพัฒนาในรูปแบบประชารัฐ จึงได้ตั้งคณะทำงานดำเนินงานสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (Core Team) ในการที่จะเดินหน้าตามยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่กำหนดร่วมกัน แทนที่จะต่างคนต่างเดินซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการผสานพลังการกำหนดยุทธศาสตร์กลยุทธ์จังหวะก้าวการขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งจะทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถแปรยุทธศาสตร์ร่วมไปเป็นโครงการประจำปีงบประมาณของแต่ละภาคีได้ โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆร่วมกันโดยทุกภาคีร่วมกันพัฒนาโดยใช้ศักยภาพแต่ละองค์กรในการขับเคลื่อน

rn

ดร.อนุรักษ์กล่าวว่า ทั้งนี้แต่ละองค์กรสามารถจัดสรรการสนับสนุนด้านบุคลากรด้านงบประมาณ องค์ความรู้และนวัตกรรมงานวิจัยต่างๆ ได้เต็มที่ตามกำลังของแต่ละองค์กร โดยไม่จำกัดความร่วมมือในการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากเฉพาะในคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์เท่านั้น แต่สามารถใช้ศักยภาพเชิงพื้นที่ของ พอช. และสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปฏิบัติการได้หลายคลัสเตอร์ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ในการเดินหน้าเพื่อสร้างรูปธรรมขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ข้างต้นเป็นรูปธรรมหนึ่งของความร่วมมือ ที่จะช่วยสร้างการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สู่การสร้าง Platform ความร่วมมือให้กับอีก หลายคลัสเตอร์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ทันทีอาทิเช่น คลัสเตอร์การแปรรูปยางพารา การท่องเที่ยวชุมชน ประมงน้ำจืด ที่อยู่อาศัยคนมีรายได้น้อยในชุมชนเมืองและชนบทเป็นต้น โดยรูปธรรมความร่วมมือและภาคีในแต่ละคลัสเตอร์นั้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ทำงานบนความร่วมมือ และบูรณาการการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base Collaborative Development)

rn

ดร.วิญญู สะตะ ผู้อำนวยการกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงในระดับประเทศมาแล้ว และได้ให้นโยบายกับสำนักงานสาขาที่มีอยู่ทุกจังหวัดได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดตั้งประชารัฐในระดับพื้นที่ ซึ่งในครั้งนี้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดอุดรธานีก็ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำบันทึกข้อตกลงในระดับพื้นที่ โดยได้ใช้คลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์เป็นกิจกรรมนำร่อง ก่อนที่จะขยายผลไปสู่คลัสเตอร์อื่นๆต่อไป สำหรับภารกิจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรนั้นนอกจากการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรแล้ว ยังมีภารกิจด้านการฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรให้สามารถจัดการกับผลผลิตของตนเองได้อย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิต การรวบรวม แปรรูปและการตลาด ซึ่งขณะนี้กำลังมีโครงการนำร่องด้านการแปรรูปยางพาราเป็นหมอนยางพารา เพื่อไปเชื่อมต่อกับงานด้านการตลาดที่สำนักงานกองทุนฯกำลังประสานความร่วมมือในการนำสินค้าไปจำหน่ายที่โครงการไทยทาวน์ เมืองหนานหนิง ประเทศจีน

rn

นางสาวปิยะพร จันทรสา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดอุดรธานีเปิดเผยว่า เกษตรอินทรีย์ เป็นคลัสเตอร์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาหารและยารักษาโรคซึ่งเป็นปัจจัยสี่ ในการ ดำรงชีวิต การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่ผ่านมาไม่สามารถขยายผลในวงกว้างเนื่องจากมี ข้อจำกัดหลายด้าน ขาดการสนับสนุนเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์อย่างเป็นระบบ เกษตรกรที่ทำ เกษตรอินทรีย์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศยังไม่สามารถจัดการผลผลิตและเชื่อมโยงต่อไปถึงผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศ ในทางกลับกันมีผู้บริโภคในชุมชนเมืองทั่วประเทศต้องการผลผลิตอาหารที่ปลอดภัย ที่ไร้สารเคมีแต่ก็ไม่สามารถเข้าถึงผลผลิตได้ การผลิตการจัดการผลผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ยังขาดประสิทธิภาพ ทำให้มีราคาสูงและเป็นอุปสรรค์ในการเข้าถึงผลผลิตจากผู้ประกอบการและผู้บริโภค คลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์ สามารถแยกเป็น คลัสเตอร์ ย่อยๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าวอินทรีย์ผักอินทรีย์ผลไม้อินทรีย์สมุนไพร อินทรีย์ปศุสัตว์อินทรีย์ เป็นต้น สิ่งที่ขาดหายในห่วงโซ่อุปทาน คือกลไกกลางที่จะจัดการแปรความต้องการ ของตลาดไปสู่การผลิตและการจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงไปสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ

rn

“ทั้งนี้จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในวันที่ 2 มีนาคม 2559 สามารถสรุปเป็นโมเดล Roadmap สัมมาชีพ เต็มพื้นที่ผ่านกระบวนการพัฒนาร่วมกันโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การ มหาชน) พัฒนาชุมชน ประชารัฐจังหวัดอุดรธานี สภาประชาชนจังหวัดอุดรธานี สโมสรโรตารีสากล Biz ciub Thailand (อุดรธานี) สมาพันธ์เอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย (อุดรธานี) สมาคมพัฒนาอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ขบวนองค์กรชุมชน และสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นภาคีแนวราบโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งทำงานแบบ องค์รวม (Holistic) แล้วบูรณาการแนวดิ่งจากภาคีต่างๆ ที่เป็น Functional เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี พาณิชย์จังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ปฏิบัติงานร่วมกันในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ในปี 2559 และขยายผลให้เต็มพื้นที่ ในปี 2564 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นตัวกลางในการผสานพลังความรับผิดชอบทางสังคมของภาคธุรกิจเพื่อ เติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการ (Fill Gap) เพื่อให้สามารถพัฒนาและจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีฐานความ ร่วมมือจากหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เป็นภาคีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในรูปคลัสเตอร์ ต่างๆ โดยชุมชนเป็นตัวตั้ง ในการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือ จึงได้มีพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ และในการจัดงานครั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณ อบจ.อุดรธานีที่ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานด้วย” นางสาวปิยะพร จันทรสา กล่าว