29-4-pr1379 29-4-pr137829-4-pr1386 29-4-pr138329-4-pr1385 29-4-pr138429-4-pr1382 29-4-pr138129-4-pr1377 29-4-pr137629-4-pr1375 29-4-pr137429-4-pr1387  29-4-pr1380

rn

รมช.อำนวย แจง รัฐเป็นเจ้าภาพตั้งทีมแก้หนี้เกษตรกร เร่งของบกลาง 3 พันล้านสะสาง “ปีติพงศ์”ตั้งกรรมการ 18 คน ลุยแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ดึงอนุกรรมการ กฟก. ร่วมวางแผนพร้อมทำงานอย่างบูรณาการ

rn

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศ ณ ห้องประชุมตึก 8 กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพมหานคร

rn

นายอำนวย เปิดเผยว่า นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร และแต่งตั้งคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา โดยมอบนายอำนวย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด ตัวแทนจากสมาคมธนาคารไทย กรมบังคับคดี กระทรวงการคลัง ร่วมเป็นเจ้าภาพ 18 คน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร

rn

รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีความต้องการจะแก้ไขให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ โดยได้กำหนดแนวทางการช่วยเหลือ 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.การแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนสังกัดกระทรวงเกษตรฯ 9 กองทุน วงเงิน 4,500 ล้านบาท ซึ่ง ครม. อนุมัติไปแล้ว 2.หนี้โครงการของรัฐ ภายใต้เงื่อนไข 10 ข้อ การจำหน่ายหนี้สูญ กรณีเกษตรกรที่เป็นหนี้โครงการของรัฐและไม่สามารถชำระหนี้ได้ 3.หนี้สินเกษตรกรรายย่อย ผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกร จำนวน 8.18 แสนราย วงเงิน 1.16 แสนล้านบาท แบ่งเป็นโครงการปลดเปลื้องหนี้เกษตรกรรายย่อย 2.8 หมื่นราย งบประมาณ 4,000 ล้านบาท โครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพ 4.5 แสนราย งบประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท โครงการขยายระยะเวลาชำระหนี้ 4.5 แสนราย งบประมาณ 6.4 หมื่นล้านบาท 4.หนี้ภาคประชาชนหรือหนี้สหกรณ์ หนี้นอกระบบ หรือหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยใช้แนวทางการบูรณาการหน่วยราชการภาครัฐทุกส่วนเข้าไปแก้ไข

rn

ขณะนี้คณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ได้จัดทำแผนปฏิบัติการในพื้นที่โดยใช้พื้นที่เขตตรวจราชการของกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามการแก้ไขปัญหา ประกอบไปด้วย กระทรวงเกษตรฯ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด กรมบังคับคดี ศูนย์ดำรงธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตัวแทน คสช. กระทรวงมหาดไทย ธ.ก.ส.จังหวัด กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งในส่วนของกองทุนฟื้นฟูฯ จะให้สำนักงานสาขาจังหวัด และอนุกรรมการทุกจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ด้วย

rn

หนี้ของสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นหนี้ในระยะเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขอยู่ในระหว่างถูกบังคับคดี 11,760 ราย สำนักงานได้จัดทำแผนงบประมาณขออนุมัติจากงบประมาณกลางปี 2558 เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3,000 ล้านบาท จำแนกออกเป็น หนี้สถาบันเกษตรกร 2,383 ราย งบประมาณ 485 ล้านบาท นิติบุคคลหรือสถาบันการเงิน 831 ราย งบประมาณ 500 ล้านบาท หนี้ ธ.ก.ส. กลุ่มเป้าหมาย 8,546 ราย งบประมาณ 2,015 ล้านบาท โดยจะนำเสนอแผนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป หากได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกอย่างแน่นอน