29-7-pr473 29-7-pr47429-7-pr475 29-7-pr47629-7-pr477 29-7-pr47829-7-pr479 29-7-pr48029-7-pr481 29-7-pr48229-7-pr483 29-7-pr484

rn

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคอีสานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู และวิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู จัดเวที “สานสัมพันธ์สมาชิกองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ จังหวัดหนองบัวลำภู สู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน” ณ ตลาดชุมชนบ้านห้วยเดื่อ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู โดยมี นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ พร้อมคณะ อาทิเช่น ดร.วิญญู  สะตะ ผอ.สำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และหัวหน้าสำนักงานเดินทางร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ทั้งนี้ นายรัตนกุล  โพธิ หัวหน้าสำนักงานฯ สาขาจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวต้อนรับ

rn

นายสไกร  พิมพ์บึง รองเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมเสวนา 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป้าหมายสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 2.หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ให้แก่เกษตรกร 3. บทบาทหน้าที่ของสำนักงานและอนุกรรมการจังหวัดที่จะต้องดำเนินการ และกล่าวชี้แจงว่า “กฟก.ได้รักษาที่ดินให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ จำนวน 120,000 ไร่ และมีเกษตรกรสมาชิกที่จะได้รับการจัดการหนี้ทั่วประเทศ กลุ่มที่ 1 จำนวน 26,000 ราย”

rn

ดร.วิญญู  สะตะ ผอ.สำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ดำเนินรายการ “เวทีเสวนาการแสดงความคิดเห็นร่วมกับเกษตรกร (การนั่งล้อมวงคุยกัน)” จำแนกเป็น 3 ประเด็นคือ 1)องค์กรที่เข้มแข็งในอนาคตควรจะเป็นอย่างไร ในประเด็นนี้มีตัวแทนองค์กรและเกษตรกรสมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิเช่น แม่ละเอียด กล่าวว่า “ต้องสร้างความเข้าใจให้กับองค์กรเกษตรกร รวบรวบภูมิปัญญาแต่ละสาขา และสร้างเครือข่าย” ผอ.วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู ให้ความเห็นว่า “จะต้องพึ่งพา ช่วยเหลือตนเอง ทำอาชีพอย่างจริงจังและมีความอดทน” พ่อทรงเดช ให้ความเห็นว่า “กลุ่มองค์กรจะต้องคิดแบบเดียวกัน ทำอย่างเดียวกัน มีความสามัคคี มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” พ่อไพสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า “ความตื่นตัวทางการเมือง การรู้จักตนเองและการลงมือปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสะพานก้าวไปสู้องค์กรที่เข้มแข็งได้” 2)ตัวอย่างความสำเร็จขององค์กรเกษตรกร อาทิเช่น กลุ่มพ่อเมือง บ้านนาดี ต.นาดี อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ทางกลุ่มได้ปลูกมะนาว โดยตลาดอยู่ที่คนในชุมชน รสชาติมะนาวมีรสชาติดี กลิ่นหอมคล้ายมะนาวเล็กทั่วไป 3)ยุทธศาสตร์จังหวัดหนองบัวลำภู คือ การนำของดีแต่ละองค์กรมาเป็นจุดเด่นของจังหวัดหนองบัวลำภู และการนำอาชีพที่เด่น มีรูปธรรมมาเป็นจุดเด่น เช่น การทำข้าวฮาง เป็นต้น