21-4-pr197

rn

จากเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา นายวัชระพันธุ์  จันทรขจร เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯ ลงพื้นที่เขตจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล นั้น ที่ประชุมมีมติร่วมกันเสนอให้จัดตั้งคณะทำงานภาคี 3 ฝ่าย ประกอบด้วยตัวแทนสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ปิ๊งไอเดีย  ตั้งคณะทำงานไตรภาคี “กฟก.-ผู้ว่า-ศอ.บต.” หวังเยียวยาเกษตรกร 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  เน้นแก้ปัญหาความยากจน หนุนฟื้นฟูอาชีพ ลั่น เป้าหมายชัดเจน ขณะที่ นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯ แนะเดินหน้าตั้งคณะทำงานฝ่ายกองทุนฯ ลุยสนาม 5 จังหวัดทันที นำร่อง เปิดโลกทัศน์สู่ AEC

rn

                                         21-4-pr198

rn

ทั้งนี้ในการหารือร่วมกันระหว่างตัวแทนสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นำโดย นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่ปรึกษาด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หัวหน้าส่วนส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาคที่ 4 และหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และตัวแทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้เกี่ยวข้อง

rn

ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี กล่าวในระหว่างหารือว่า เห็นด้วยกับแนวทางและวิธีการในการทำงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและยินดีให้ความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนการทำงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และองค์กรเกษตรกรได้รับการสนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ

rn

“สาระสำคัญคือเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน และสนับสนุนงานฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ ศอ.บต. แม้ว่าขณะนี้จะมีองค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่จำนวนมาก มาขอสนับสนุนงบประมาณจาก ศอ.บต. เพื่อไปแก้ไขปัญหาแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เท่าที่ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าเม็ดเงินส่วนใหญ่ไม่ตกถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ” เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว

rn

ฉะนั้นในการสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานในอนาคต ศอ.บต.จะเน้นถึงประสิทธิภาพและกลุ่มเป้าหมาย จะต้องมีความชัดเจนว่า หลังจากที่ ศอ.บต.สนับสนุนงบประมาณไปแล้ว เป้าหมายที่องค์กรจะพัฒนาได้อะไร เช่น การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งพื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ อีกทั้งตลาดในอนาคตหากเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 เราจะสามารถเชื่อมโยงด้านการตลาด ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์

rn

เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวยืนยันว่ายินดีสนับสนุนการทำงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะต้องดำเนินงานเป็นคณะทำงาน โดยเห็นควรตั้งคณะทำงาน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด และตัวแทน ศอ.บต. ทั้งนี้เพื่อร่วมกันค้นหาและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยจะต้องเน้นเรื่องประสิทธิภาพ และเป้าหมายจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับเป้าหมายเดิมที่ ศอ.บต. เคยสนับสนุงบประมาณไปให้แล้วโดยเฉพาะประเด็นการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในอนาคตข้างหน้า หรือการสนับสนุนเรื่องการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน

rn

“การปฏิบัติงานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอนาคต ภาคราชการควรจะถอยออกมา และให้ภาคเอกชนซึ่งมีความชำนาญเข้ามาดำเนินการ จะเห็นว่าปัจจุบันพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศคูเวต ซึ่งมีการสนับสนุนงบประมาณลงมายังพื้นที่จำนวนหลายพันล้านบาทต่อปี

rn

ด้านนายวัชระพันธุ์ กล่าวในประเด็นเดียวกันว่า การร่วมหารือในครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จ ที่ผู้บริหารของหน่วยงานทั้งสองได้มาร่วมหารือ เพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนัยหนึ่งจะเป็นการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในพื้นที่ เพราะหากเราสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน ปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ ซึ่งเกิดขึ้นอาจเบาบางลง

rn

“กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการที่ชัดเจน ทั้งเกษตรกรที่ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และองค์กรเกษตรกรสมาชิก ที่ประสงค์จะของบประมาณสนับสนุนเพื่อประกอบอาชีพ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะนำผลสรุปของการหารือร่วมกันในครั้งนี้ นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะความเห็นที่เลขาธิการศอ.บต. ได้เน้นย้ำในเรื่องประสิทธิภาพและกลุ่มเป้าหมาย”

rn

เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ย้ำว่าสำนักงานจะเร่งดำเนินการออกคำสั่งของสำนักงาน เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และนำเสนอต่อ ศอ.บต. เพื่อให้แต่งตั้งเป็นคณะทำงานไตรภาคี

rn

“ส่วนประเด็นที่ทางเลขาธิการ ศอ.บต. ห่วงใยในเรื่องความซ้ำซ้อนขององค์กรหรือเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ศอ.บต. ไปแล้ว เราจะให้คณะทำงานที่แต่งตั้งไปพิจารณากำหนดแนวทาง กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งวิธีการ และกระบวนการดำเนินงาน เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อน ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะทำงาน 3 ฝ่ายต่อไป”

rn

นายวัชระพันธุ์ ระบุด้วยว่า จากการหารือร่วมกันพบว่า เลขาธิการศอ.บต.จะให้ความสนใจในประเด็นหารือเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเปิดตลาดสินค้าเกษตรกรไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การประมงพื้นบ้าน รวมถึงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน และการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งในการนี้ตนจะมอบหมายให้ส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป