7-9-pr1858    7-9-pr1857

rn

7-9-pr1860    7-9-pr1862

rn

7-9-pr1861    7-9-pr1859

rn

วันที่ 7  กันยายน 2558  สมัชชาเกษตรกรรายย่อย กว่า 500 คน  รวมตัวยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี  พลเอก  ประยุทธ์   จันทร์โอชา แก้ไขปัญหาหนี้สิน  ที่ทำกิน  ผ่านจุดบริการประชาชน 1111 ทำเนียบรัฐบาล (สำนักงานชั่วคราว ก.พ.)

rn

ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก  ประยุทธ์   จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีมีนโยบายสำคัญและถือได้ว่าเป็นวาระเร่งด่วนได้แก่ เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สิน  ที่ดินทำกิน  และการฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกร  โดยที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้วระยะหนึ่ง  แต่เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีชุดใหม่  จึงทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถูกปรับเปลี่ยนด้วย สมัชชาเกษตรกรรายย่อยได้ติดตามการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหานั้นไม่สามารถดำเนินการทีเดียวทุกเรื่อง  ทางสมัชชาฯ จึงนำประเด็นที่เร่งด่วนมาเรียกร้อง ดังนี้

rn

1. การดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ทางสมัชชาได้เสนอให้นายกรัฐมนตรี    รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยตนเอง โดยไม่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีมาดำรงตำแหน่งแทน  พร้อมทั้งเสนอให้นายอำนวย  ปะติเส  อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร่วมรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาของกองทุนฟื้นฟูฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการแปรยุทธ์ศาสตร์กองทุนฟื้นฟูฯเพื่อทำให้งานด้านการฟื้นฟูอาชีพ  การแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร  และการพัฒนาศักยภาพของสำนักงานและองคฺกรเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง  2. สนับสนุนคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร   3. การแก้ไขที่ดินทำกินของเกษตรกร  โดยสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐอย่างเต็มที่  ส่วนกรณีปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ขอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายราชการกับตัวแทนเกษตรกรผู้เดือดร้อน  เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป  4. ขอให้แต่งตั้งผู้แทนสมัชชาเกษตรกรรายย่อย  จำนวน 1 คน  ในคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ  และสมัชชารายย่อยขอทำหน้าที่เป็นแกนกลางภาคประชาชน  ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน  คู่ขนานกับคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่