11-7-1211-7-16

rn

11-7-17

rn

        ชายวัยเกินเกษียณมา 10 ปี กับคู่ใจที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ร่วมกันต่อสู้กับธรรมชาติ “น้ำท่วม” ที่แวะเวียนเข้ามาทุกขวบปี บนพื้นที่ทำกิน 10 กว่าไร่ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พื้นดินผืนนี้ปู่ย่าตายายพ่อแม่ได้ถากถางทำกินเลี้ยงชีพด้วยการปลูกผักมายาวนาน ตราบจนชั่วลูกอย่างลุงชัยพรก็มิอาจจะละทิ้งถิ่นฐานและอาชีพเดิมของบรรพบุรุษไปได้ ช่วงต้นการเกษตรชายผู้นี้ก็ทำตามวิถีบรรพบุรุษ คือการพึ่งพิงธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในแปลงทำกิน  อยู่ด้วยกันอย่างเกื้อกูล ผ่านมาช่วงเวลาหนึ่งก็หลงเดินเข้าไปตามกระแสการผลิตเชิงเดี่ยวผสมผสานกับการใช้เคมีอย่างหนัก ทั้งคะน้า ทั้งเผือก ล้วนแล้วแต่ทำให้ลุงต้องเปลืองแรงในการผลิตเป็นอย่างมาก หนำซ้ำยังมีภาระหนี้สินจาก  ธกส. ผูกติดหลังตามมาด้วย

rn

        ในช่วงปี 2540 เริ่มหันเหความคิดในการผลิตพืชผักของตน โดยคิดถึงอดีตของพ่อแม่ที่ไม่พึ่งพิงสารเคมีและปุ๋ยเคมี เป็นสรณะในการทำการเกษตร ลุงชัยพรได้เริ่มเข้าไปร่วมเรียนรู้กับศูนย์ “โยเร” ที่สระบุรีนับเป็นจุดเริ่มแห่งการเรียนรู้ ต่อจากนั้นลุงศึกษาจากประสบการณ์จริง  โดยลงมือทำปุ๋ยชีวภาพและใช้เองอย่างต่อเนื่อง ลุงทำทุกวันจนเชี่ยวชาญใน การเกษตรแบบพอเพียงและพึ่งพาตนเอง นอกเหนือจากการใช้เวลาในแต่ละวันอย่างสนุกสนานกับการทำการเกษตรในแปลงทำกินเพื่อเลี้ยงชีพของตน ลุงยังเป็นอาจารย์สอนความรู้ทางการเกษตรให้กับเด็กนักเรียนตามโรงเรียนในพื้นที่ และแนะนำให้ข้อมูลที่ศึกษามายาวนานนี้ แก่นักศึกษา ประชาชน ที่สนใจมาดูงานที่บ้าน เมื่อลุงได้เข้ามาร่วมก่อตั้งกลุ่มองค์กรสังกัดกองทุนฟื้นฟูฯ โดยเป็นกรรมการในกลุ่มไร่นาผสมผสานบางน้อยในพัฒนา  มีโอกาสได้ดูงานและฝึกอบรมเพิ่มเติมขึ้นอีก ลุงยังเชื่อมั่นและตอกย้ำว่าวิถีการผลิตที่จะทำให้ครอบครัวอยู่ได้อย่างอย่างยั่งยืน คือการยึดหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

rn

        วันนี้ที่ดิน 10 ไร่กว่า กับแรงงาน 2 คนตายาย ได้ปรับเปลี่ยนและวางแผนการผลิตเพื่อให้เหมาะกับสภาพปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่ โดยลุงขุดบ่อเลี้ยงปลา 2 บ่อและมีบ่อที่ปลูกพืชอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉดอีก 1 บ่อ บนคันบ่อปลาของลุงไม่ยอมปล่อยให้โล่งเตียน ลุงปลูกบวบ กะเพรา โหรพา มะเขือ ตะไคร้ เก็บขายได้อย่างต่อเนื่อง  เดิมลุงเคยปลูกกล้วย สะเดาไว้ร่วมด้วย  แต่ตอนนี้ต้องปลูกพืชที่อายุสั้นเพื่อทันการเก็บเกี่ยวก่อนน้ำมาและยังเป็นรายได้ที่ต่อเนื่องเกือบทุกวัน สารพัดผักถูกเก็บ โดยแรงงานของลุงตั้งแต่ตี 2 ของทุกวันและนำสู่ตลาดใกล้บ้านทุกเช้าโดยป้าทำหน้าที่เป็นแม่ค้า เพียง 2-3 ชั่วโมง ผักของลุงชัยพรจะหมดเกลี้ยงเพราะเป็นที่โจษขานกันในแถวนั้นว่า  “ผักลุงปลอดสารพิษอย่างแท้จริง”  กอปรกับตลาดที่ป้าขายไม่ว่าราคาในตลาดจะขึ้นสูงเพียงใดเพียงใดป้าก็จะขายในราคากิโลละ 20 บาท ราคาเดิมตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการตกลงทางการค้าของผู้ซื้อที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและผู้ขายอย่างลุงชัยพรที่ต้องการให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากพืชผักที่ขาย อีกทั้งยังไม่ขูดรีดจากลูกค้าผู้มีพระคุณอีกด้วย รายได้จากการขายผักเฉลี่ยวันละ 500 บาท

rn

        นอกเหนือจากการขายผัก ก็ยังมีรายได้จากปลาที่ลุงเลี้ยงในบ่ออีก 2 บ่อ ซึ่งวิธีการวันนี้ ลุงจะปล่อยปลาในช่วงน้ำขึ้นสูง โดยการนำมุ้งเขียวมาล้อมแล้วปักไว้ให้สูงกว่าขอบบ่อ เมื่อน้ำลดลงพอดีกับบ่อที่เคยเลี้ยงก็เริ่มปล่อยปลาออกจากที่กักและเลี้ยงจนถึงก่อนน้ำท่วมก็จะทำการจับปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาลุงชัยพรก็เก็บเกี่ยวจากบ่อผักบุ้ง หรือบเก็บผักเป็ดตามขอบบ่อเป็นอาหาร รวมถึงเศษผักที่ตัดแต่งก่อนนำไปขาย ต้นทุนการเลี้ยงปลาของลุงจึงต่ำมากเมื่อเทียบกับรายได้ตอนจับปลา  
        ถามชายวัย 70 ปีผู้นี้ว่าต้องลงมือทำด้วยตนเองทุกอย่าง เหนื่อยบ้างไหม? ท้อบ้างไหม? กับปัญหาน้ำท่วม คำตอบของลุงคือ เหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง  แต่จะไม่ถอย เพราะว่าวันนี้ลุงเดินตามแนวทางของพ่อ ลุงเชื่อเหลือเกินว่า แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้จะนำพาสู่การดำเนินชีวิตที่มีแต่ความสุข  และเป็นความสุขที่ยั่งยืนแน่นอน หนี้ของลุงที่มีอยู่กับ ธกส. วันนี้ลุงได้ร่วมปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. 7 เมษายน 2553 ไปแล้ว  และลุงยังเตรียมการในการจัดสรรรายได้ไว้ใช้หนี้ซึ่งเป็นรายได้ที่เก็บเกี่ยวได้ทุกวันจาการทำการเกษตรแบบผสมผสานนี้เอง

rn

อีกหนึ่งตัวอย่างที่ยึดมั่นในตัวพ่อของแผ่นดิน ทำจริง แล้วเกิดเห็นผลจริง ว่า “พ่อของเราทรงสอนไม่ผิด”

rn


rn

11-7-18

rn