เมื่อวันที่ 12  ธันวาคม  2560 นางดาริกา  ยันต์โกเศศ หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดสมุทรสงคราม  พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสมุทรสงคราม  ลงพื้นที่ติดตามโครงการเลี้ยงกุ้งและปูในบ่อเดียวกัน แบบธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนของ กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสงคราม  ซึ่งได้รับงบสนับสนุนประเภทเงินกู้ยืม ประจำปี 2558  จำนวน  5 แสนบาท  2 ปีที่ผ่านมากลุ่มประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถนำเงินมาชำระคืน กฟก.ไปร่วม 3 แสนบาท แต่ในปีปัจจุบันต้องประสบปัญหากับปลาหมอคางดำ ที่เป็นภัยคุกคามกุ้งและปู รวมทั้งสัตว์น้ำที่เกิดตามธรรมชาติ  ทำให้รายได้ลดลงเป็นอย่างมาก เพราะรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปซื้อกากชาเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำ ซึ่งมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากการกักตุนสินค้าของผู้ขาย/ร้านค้า จากกระสอบละ 175 บาท เป็น 280  บาท และต้องใช้ในปริมาณที่เยอะ ค่าใช้จ่ายต่อปี เป็นเงิน 12,600  บาท อีกปลาหมอคางดำที่ได้มีราคาเพียง 2 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ไม่คุ้มค่ากับค่าแรงงานที่สูงขึ้นด้วย

rn

ทั้งนี้ ปลาหมอคางดำเริ่มระบาดมาประมาณ 3 ปีก่อน  มีลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ เป็นปลาน้ำจืด เป็นปลาในแถบทวีปแอฟริกา ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำชายฝั่งทุกชนิดมาก ถึงขนาดสูญพันธุ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น ปู ปลา กุ้ง หอย จะสูญหายหมด เนื่องจากปลาหมอคางดำจะกินสัตว์น้ำตัวอ่อนทุกชนิด อาทิ เมื่อหลุดเข้าไปในบ่อกุ้งของเกษตรกร ที่ปล่อยพันธุ์กุ้งไป พบว่าเพียง 2 เดือน ในบ่อไม่เหลือกุ้งแม้แต่ตัวเดียว ในบ่อจะมีแต่ปลาหมอคางดำทั้งสิ้น   ซึ่งปลาหมอคางดำจะแพร่พันธุ์เร็วมาก ในระยะเวลา 4 เดือน สามารถแพร่พันธุ์ได้นับแสนตัว  สมาชิกในกลุ่มได้เคยร้องเรียนและขอความช่วยเหลือจากทางภาครัฐ หลายหน่วยงาน แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดให้การช่วยเหลืออย่างจริงจัง จึงขอฝากให้ กฟก. ช่วยหาทางเยียวยาหรือช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ต่อไป เพราะหากเป็นเช่นนี้แล้ว อาจจะไม่สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้ตามแผนที่กำหนด                                                                                14-12-pr4916   14-12-pr4917 14-12-pr4918

rn

                  14-12-pr4919

rn