rn

tai4

rn

สำนักตรวจสอบ ปรับแผน 4 ด้าน ประเมินความสำเร็จของสำนักงาน นิติธรรม์ พิชิตเธียรธรรมระบุ ด้านบริหารสำนักงาน การเงิน การจัดการหนี้ของเกษตรกร และการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรชี้การประเมินทุกอย่างจะวัดจากผลสำเร็จ และผลสำฤทธิ์ในการบริหารสำนักงาน

rn

              ภูเก็ต นายนิติธรรม์ พิชิตเธียรธรรม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ กล่าวชี้แจงถึงแผนการตรวจสอบกิจการภายในองค์กร ในระหว่างการสัมมนาโครงการสัมมนาสรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ติดตามการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการบริหารสำนักงาน สาขาจังหวัดภาคใต้ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมเพิร์ล จังหวัดภูเก็ต ว่า สำนักตรวจสอบได้ปรับแผนงานในการตรวจสอบจากเดิม 3 ด้าน เป็น 4 ด้าน ประกอบไปด้วย 1.การตรวจสอบด้านการบริหารสำนักงาน 2.การตรวจสอบด้านการเงิน 3.การตรวจสอบด้านการจัดการหนี้ และ 4.การตรวจสอบด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร

rn

การตรวจสอบทั้ง 4 ด้าน ทางสำนักตรวจสอบ จะเน้นในเรื่องผลสำเร็จและผลสำฤทธิ์ของการดำเนินงาน โดยเฉพาะงานที่สำนักงานกำหนดในแผนที่จะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ

rn

             ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ กล่าวชี้แจงรายละเอียดในการตรวจสอบแต่ละด้านว่า การตรวจสอบด้านการบริหารสำนักงาน ทางสำนักตรวจสอบกำหนดกรอบการตรวจสอบดังนี้ 1.เรื่องสถานที่ตั้งสำนักงาน 2.การจัดว่างโต๊ะ เก้าอี้ 3.ความสะอาดเรียบร้อย 4.การจัดวางแฟ้มเอกสารต่าง ๆ 5.การดูแลทรัพย์สินของสำนักงาน เช่นการจัดทำทะเบียนควบคุม การจัดเก็บ และซ่อมแซม 6.การปิดประกาศข่าวสารของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรบริเวณป้ายประชาสัมพันธ์ 7.พฤติกรรมของหัวหน้าสำนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการให้บริการแก่เกษตรกร

rn

              ส่วนการตรวจสอบเรื่องการเงิน นายนิติธรรม์ กล่าวว่า ทางสำนักตรวจสอบกำหนดกรอบคร่าว ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้จ่ายเงินของสำนักงาน ทางสำนักตรวจสอบจะดูว่า มีการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ ของกองทุนหรือไม่ มีการถัวจ่ายเงินงบประมาณจากกรอบอื่น ๆ บ่อยหรือเปล่า โดยเฉพาะในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อาทิ ค่าที่พัก เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง และมีการเบิกซ้ำซ้อนหรือเปล่า สิ่งที่ทางสำนักตรวจสอบกังวลในคณะนี้คือ การเบิกค่าเดินทางโดยเฉพาะค่าเช่าเหมารถยนต์ประจำสำนักงานรายวันก่อนหน้านี้ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง

rn

               “สำหรับการตรวจสอบในเรื่องการจัดการหนี้ เราจะตรวจสอบโดยการประเมินค่าของเกษตรกร โดยคำนวณจากจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ และจำนวนเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดการหนี้ การตรวจสอบการทำนิติกรรมสัญญา การโอนหลักทรัพย์ของเกษตรกร การจัดทำการ์ดลูกหนี้รายตัว

rn

              ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ยังกล่าวต่อไปด้วยว่า นอกจากนั้นจะตรวจสอบเรื่องการจัดเก็บหนี้ จากเกษตรกรที่สำนักงานได้ชำระหนี้แทน โดยในการตรวจสอบจะพิจารณาจ่ายจำนวนลูกหนี้ที่กองทุนได้ชำระหนี้แทน หักล้างกับจำนวนลูกหนี้ที่ชำระหนี้คือกับกองทุน และการออกหนังสือเพื่อทวงถาม หรือการติดตามหนี้จากเกษตรกร

rn

               ส่วนการตรวจสอบเรื่องการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายนิติธรรม์ กล่าวว่า การตรวจสอบจะแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางแรกเป็นการประเมินสำนักงานสาขา ทำโดยนับเอาองค์กรเกษตรกรทั้งหมดเป็นตัวตั้ง และเอาจำนวนองค์กรเกษตรกรที่เสนอขอสนับสนุนงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นงบอุดหนุนหรืองบกู้ยืม มาเป็นตัวเฉลี่ยเพื่อคำนวณสัดส่วน

rn

ประเด็นต่อมาจะเป็นการประเมินจากประสิทธิภาพขององค์กรเกษตรกร โดยเฉพาะการบริหารจัดการองค์กร การใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการ การจัดทำการ์ดลูกหนี้รายตัวขององค์กรเกษตรกร รวมทั้งการจัดทำระบบฐานข้อมูลของสำนักงาน เพื่อควบคุมการชำระเงินกู้ยืม

rn