rn

longsa3_copy

rn

rn

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การซื้อทรัพย์สินของเกษตรกรคืนจากเจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกที่ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด (Non Performing Asset : NPA) แล้ว เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายชุมพล  ศิลปอาชา) ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเสนอ

rn

นายสไกร  พิมพ์บึง รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ  เปิดเผยว่ากองทุนฟื้นฟูฯ ได้เปิดให้เกษตรกรสมาชิกที่เป็นหนี้สินกับสถาบันเจ้าหนี้ต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทะเบียนหนี้) ตั้งแต่ พ.ศ. 2546  โดยเกษตรกรที่มีภาระหนี้สินถูกสถาบันเจ้าหนี้เร่งรัดดำเนินคดี  บังคับคดี  และขายทอดตลาดทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง  จากการสำรวจข้อมูลพบว่าเกษตรกรสมาชิกถูกเจ้าหนี้ขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือหนี้ NPA  โดยสถาบันเจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกซื้อทรัพย์ไว้ ทำให้เกษตรกรไม่มีที่อยู่อาศัยและไม่มีที่ดินทำกิน มีจำนวนถึง 1,187 ราย มูลหนี้ 607,583820.21 บาท ต่อมาในช่วงปี 2552 – 2554 มีเกษตรกรมาแจ้งเป็นหนี้ NPA เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 2,894 บาท มูลหนี้ 1,552,348,562.15 บาท และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด ที่คณะรัฐมนตรีมีมติไว้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 ดังนี้

rn

1. เห็นชอบให้ใช้งบประมาณที่เหลือจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรให้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 ไปซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loan : NPL) ที่รวมอยู่ในหนี้ NPA ได้ด้วย

rn

2. ขอความเห็นชอบรายชื่อเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่เป็นหนี้ NPA เพิ่มเติมจำนวน 2,894 ราย มูลหนี้ 1,552,348,562.15 บาท โดยให้ใช้งบประมาณที่เหลือหรือได้รับจัดสรรประจำปีไปดำเนินการตามหลักเกณฑ์การซื้อหนี้ที่ปรับปรุงใหม่ตามข้อ 1

rn

3. เห็นชอบให้นำงบประมาณที่เหลือจากข้อ 1 และงบประมาณที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้รับจัดสรรประจำปีไปซื้อหนี้  NPA ที่ตรวจพบเพิ่มเติมในภายหลังที่ไม่ใช่เกษตรกรในข้อ 1 และข้อ 2 ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงตามข้อ 1 โดยให้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรก่อนจึงดำเนินการได้

rn

4. เมื่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรดังกล่าวข้างต้นและงบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีไปดำเนินการตามข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3. แล้ว  หากมีงบประมาณไม่เพียงพอให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีมาดำเนินการต่อไป

rn

การปรับปรุงหลักเกณฑ์หลักเกณฑ์การซื้อทรัพย์สินของเกษตรกรคืนจากเจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกจากการขายทอดตลาด  จะส่งผลให้การดำเนินงานของสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น  ทำให้เกษตรกรหลุดพ้นภาระหนี้จากสถาบันเจ้าหนี้  ได้ที่อยู่อาศัยที่ดินทำกินกลับคืนมา  และสามารถขยายวงในการช่วยเหลือเกษตรกรได้มากขึ้น  นายสไกรกล่าว