6-7

rn

 

rn

จากการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบนโยบายคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

rn

( กรอบ ) นโยบายกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 

rn

๑. ด้านการปฏิรูปองค์กร 

rn

๑.๑ ปรับปรุง แก้ไข กฏหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง  ให้สอดคล้อง เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ในการให้บริการแก่เกษตรกรสมาชิกอย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ควรปรับปรุง แก้ไข ดังนี้ 

rn

เกี่ยวกับสำนักงาน

rn

๑. ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยโครงสร้างและการบริหารงาน

rn

๒. ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการบริหารงาน

rn

บุคคล ให้เกิดความเป็นธรรม โดยมีองค์ประกอบจากผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ โดยให้ใช้การประเมินจากแผนปฏิบัติงาน

rn

๓. แก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหาร

rn

๔. แก้ไขระเบียบกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ของกองทุนและค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน

rn

๕. ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยกับรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน

rn

๖. ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วย การพิจารณาแผนและโครงการ การจ่ายเงิน การใช้คืนเงินกองทุนและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

๗. แก้ไขกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กองทุน สามารถแสวงหาแหล่งทุนจากองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามมาตรา ๘ แห่งพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

เกี่ยวกับองค์กรเกษตรกร

rn

๑. (ยกร่าง) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการจ่ายค่าชดเชยดอกเบี้ยส่วนต่าง ตามมาตรา ๕ (๑)

rn

๒. (ยกร่าง) ระเบียบกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการสนับสนุนเงินทุนแก่องค์กรเกษตรกรโดยการร่วมทุน

rn

๓. ผลักดันให้มีการประกาศใช้ระเบียบว่า ด้วยการพิจารณาแผนและโครงการฯ ซึ่งคณะทำงานยกร่างไว้ก่อนหน้า

rn

๑.๒ สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อประเมินศักยภาพขององค์กร อย่างรอบด้าน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาของกองทุน ต่อการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้บริการเกษตรกรสมาชิก

rn

๑.๓ สนับสนุนการจัดการศึกษาและพัฒนาระบบวิทยาการ การสื่อสาร และสารสนเทศ ให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุน ทั้งสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาทั่วประเทศ อย่างเป็นระบ

rn

๑.๔ ปรับปรุงกระบวนการ ประชาสัมพันธ์องค์กรทั้งด้านนโยบาย ผลงาน อย่างครบถ้วน และเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมอาทิ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ อินเตอร์เน็ต โดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกองบรรณาธิการกลาง

rn

๑.๕ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ สถาบันพัฒนาบุคคลากร ซึ่งเป็นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ รวมทั้งการจัดทำหลักสูตร เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรก่อนเข้าปฏิบัติงาน

rn

                       -จัดหาสถานที่ที่มีความเหมาะสม

rn

                        -จัดทำร่างหลักสูตรการเรียนรู้

rn

                        -จัดทำโครงสร้างบุคคลากรของสถาบัน

rn

                        -ทำโครงการเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

๑.๖ สนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อพัฒนาระบบการจัดทำแผนงาน โครงการ แผนปฏิบัติงาน และแผนงบประมาณ

rn

๒. ด้านการบริหารจัดการบุคคลากร

rn

        ๒.๑ กำหนดแนวทางเพื่อสร้างจิตสำนึกในการให้บริการเกษตรกร และสร้างวัฒนธรรมองค์กร อันเป็นคุณค่าร่วมกัน ในทุกระดับองค์กร

rn

rn

๒.๒ สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรทุกระดับในองค์กรกองทุนฟื้นฟูฯ มีสิทธิและความเท่าเทียมกัน โดยใช้หลักเสมอภาคและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

rn

        ๒.๓ พัฒนาระบบการให้รางวัล สำหรับบุคลากรดีเด่นขององค์กร เพื่อสร้างแรงจูงใจ และลงโทษต่อบุคคลที่กระทำความผิดอย่างเป็นธรรมและให้โอกาสผู้ที่กระทำความผิด  ได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาบุคลากร

rn

        ๒.๔ พัฒนาระบบการคัดเลือกบุคลากร จะต้องยึดหลัก ความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม โดยเฉพาะการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง การยกระดับ การโยกย้าย การประเมินและการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน

rn

แนวทางในการดำเนินงาน ดังกล่าวคณะทำงานจะต้องดำเนินการโดย ทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินเดิม และกำหนดกรอบการประเมินให้ชัดเจน

rn

๒.๕ ขยายบทบาทอนุกรรมการจังหวัดให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามระเบียบ “ว่าด้วยการกระจายอำนาจ”  และสนับสนุนงบประมาณให้คณะอนุกรรมการปฏิบัติงานในพื้นที่ตามความเหมาะสม

rn

แนวทางในการดำเนินงานมอบหมายฝ่ายเลขานุการ จัดทำโครงการและแผนงบประมาณสัมมนาร่วมกัน ใช้ทั้งสิ้น ๑๓ เวที (ถัวเฉลี่ยเวทีละ ๙๖ คน)

rn

๓. ด้านกระบวนการองค์กรเกษตรกร

rn

๓.๑ เสริมสร้างและสนับสนุน ให้เกิดภาคีความร่วมมือ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ

rn

โดยแนวทางในการดำเนินงาน จะต้องทำควบคู่กับนโยบายด้านการปฏิรูปองค์กร และจะต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ

rn

        ๓.๒ สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลข่าวสาร และการเชื่อมโยง เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เท่าทันสถานะการณ์โลกและความเป็นจริง

rn

๓.๓ เสริมสร้างให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กรระหว่างองค์กรและภาคีเครือข่ายโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

rn

๔. ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

         ๔.๑ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาให้องค์กรและเกษตรกร เป็นศูนย์กลางในการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรม  โดยยึดหลักตามความในมาตรา ๓ แห่งพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.๒๕๔๒

rn

        ๔.๒ ส่งเสริมและสนับสนุน กระบวนการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่องค์กรเกษตรกร  ในการจัดทำแผน/โครงการ กิจกรรม นำเสนอเพื่อพิจารณาและได้รับอนุมัติ

rn

       ๔.๓ สร้างความเชื่อมั่นแก่สถาบันเจ้าหนี้ต่อการให้บริการสินเชื่อองค์กรเกษตรกร โดยให้รัฐบาลและกองทุนฟื้นฟูฯ ค้ำประกัน ชดเชยดอกเบี้ยส่วนต่าง ตามมาตรา  ๑๕ ( ๑)แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ร่วมทั้งสนับสนุนงบอุดหนุน เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรอย่างเต็มที่

rn

       ๔.๔ ผลักดันให้แก้ไขกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กองทุน สามารถแสวงหาแหล่งทุนจากองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามมาตรา ๘ แห่งพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

      ๔.๕ สนับสนุนให้องค์กรเกษตรกร สามารถฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพตนเอง  โดยร่วมทุนกับองค์กรเกษตรกร ตามมาตรา ๘ (๒)

rn

๔.๖ ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างระบบเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อการพึ่งตนเอง ในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน  ให้กับองค์กรเกษตรกรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่น

rn

๕. ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร

rn

๕.๑ เสริมสร้างและสนับสนุน ให้เกิดภาคีความร่วมมือ  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ

rn

๖. ด้านการเตรียมความพร้อมสู่อนาคต

rn

       ๖.๑ สนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ เพื่อขยายผลให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานเป็นเครื่องมือในการต่อรอง ในเวทีประชาคมอาเซียนและเวทีโลก โดยการศึกษางานวิจัยจากหน่วยงานอื่น ๆ และนำมาพัฒนาใช้กับกองทุน

rn

    ๖.๒ สนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย เพื่อสร้างหลักประกัน สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร

rn

      ๖.๓ สนับสนุนให้มีการศึกษา แนวทางประกันความเสี่ยงผลผลิตเกษตรกร ฐานทรัพยากร ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน

rn

 

rn