p77

rn

 

rn

                                   p76

rn

 

rn

เมื่อวันที่  17 กรกฎาคม 2556 นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล กรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในประเด็นการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 เมษายน 2553  ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 

rn

นายยศวัจน์ ได้กล่าวถึงบันทึกข้อตกลงดังกล่าวว่า  MOU  ฉบับนี้นี้ถือว่ามีความสมบูรณ์อย่างยิ่ง สามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติได้ทันที ซึ่งมีเนื้อหาสาระสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรผู้มีรายชื่อตามกลุ่มที่ 1 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ปัจจุบันยังไม่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ ธ.ก.ส. เกษตรกรดังกล่าวยินยอมมาจัดทำสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้กับ ธ.ก.ส. ตามมติ ครม. เมื่อ วันที่ 7 เมษายน 2553 และ ธ.ก.ส. ยินยอมส่งรายชื่อให้ กฟก. ชำระหนี้แทนเกษตรกร ร้อยละ 50 ของต้นเงินคงค้าง เงินต้นส่วนที่เหลือ ดอกเบี้ย และค่าปรับ ตัดทิ้งหมด ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันทำสัญญา โดยภายหลังชำระหนี้แล้ว ธ.ก.ส. จะถอนจำนองคืนแก่เกษตรกรภายใน 7 วันทำการ  นับแต่วันที่ กฟก. ชำระหนี้เสร็จสิ้น และให้เกษตรกรโอนหลักประกันเป็นของ กฟก. ในคราวเดียวกัน  ในกรณีเกษตรกรที่เป็นสมาชิก กฟก. และขึ้นทะเบียนหนี้ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ให้สามารถดำเนินการได้ตามกลุ่มที่ 1  

rn

กรณีหนี้ NPL ที่ ธ.ก.ส. ซื้อทรัพย์ไว้ จากการขายทอดตลาด ให้ ธ.ก.ส. ขายทรัพย์ดังกล่าวคืนให้แก่เกษตรกรสมาชิก กฟก. ตามมติ ครม. วันที่ 28 มกราคม 2552 และ วันที่ 10 เมษายน 2554 ส่วนกรณีบุคคลภายนอกซื้อทรัพย์ไป ให้ ธ.ก.ส. ช่วยประสานงานเจรจาในการซื้อทรัพย์ดังกล่าวคืน ให้แก่เกษตรกรสมาชิกด้วย  สำหรับกรณี NPL ซึ่งเกิดขึ้นหลัง 31 ธันวาคม 2552 ให้ กฟก. หารือไปยัง ธ.ก.ส. เพื่อพิจารณา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นของขวัญอันล้ำค่าให้กับเกษตรกรสมาชิก กฟก. นายยศวัจน์กล่าว.

rn

rn

 

rn