24-7-3

rnrn

นายนิยม สุวรรณประภา  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่  11 กรกฎาคม  2556  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย และคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย สัญจร ครั้งที่ 5 / 2556 และศึกษาดูงานระบบขนส่งสินค้าเข้าออก ระหว่างประเทศ ณ บริเวณท่าเรือ เชียงแสน (แห่งที่ 2) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาระบบขนส่งสินค้าเข้าออก ระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับแผนยุทธศาสตร์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย 4 ปี

rn

ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน เป็นประตูการค้าระหว่างประเทศไทย กับประเทศที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน เพื่อ ส่งเสริมการขนส่ง การค้าระหว่างประเทศ ตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำ ล้านช้างแม่น้ำโขง ระหว่าง 4 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว และไทย รวมถึงเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการลงทุน ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เส้นทางเดินเรือจากท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนถึงท่าเรือกวนเหลย (ท่าเรือใต้สุดของจีน) รวมระยะทางประมาณ 265 กิเมตร ระดับน้ำลึก 1.5-7 เมตร แตกต่างตามฤดูกาล โดย ประเทศจีนได้ปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือ รวมถึงก่อสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และควบคุมระดับน้ำ ให้สามารถบรรทุกสินค้าได้ตลอดทั้งปี ด้านการเชื่อมโยงการขนส่งภายในประเทศทางถนน สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่ 1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1290 อำเภอแม่สาย – อำเภอเชียงแสน 2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1016 อำเภอแม่จัน – อำเภอเชียงแสน 3. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1129 อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ สำหรับสินค้าผ่านท่าขาเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผักสด กระเทียม  เมล็ดทานตะวัน  ผ้าทอ  และไฮท์คาร์บอนแมงกานีส  ส่วนสินค้าผ่านท่าขาออก ได้แก่ น้ำมันปาล์ม  ยางเครฟ  ผงชูรส  ยางแผ่นรมควัน  และน้ำมันพืช

rn