3-3-pr4821 3-3-pr48223-3-pr4820 3-3-pr48253-3-pr4828 3-3-pr48273-3-pr4819 3-3-pr4823

rn

กฟก.อีสาน ถือโอกาสเทศกาลสงกรานต์จัดประชุมพนักงาน 20 จังหวัด ขับเคลื่อนนโยบายฟื้นฟูและแก้ไขหนี้สินเกษตรกร พร้อมจัดพิธีรดนำดำหัวขอพรผู้ใหญ่เพื่อเป็นสิริมลคล

rn

ที่ห้องประชุมสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีการจัดประชุมพนักงานทุกระดับของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคอีสาน 20 จังหวัด เพื่อรับมอบนโยบายการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรจากฝ่ายบริหารและผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งมีพิธีรดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่ตามประเพณีปีใหม่ไทย โดยมีประธานและกรรมการบริหาร กรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร และผู้แทนเกษตรกรภาคอีสาน ที่เป็นคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้ง 7 คน ประกอบด้วย ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดมหาสารคาม นายสำเริง ปานชาติ กรรมการบริหารและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดสุรินทร์ นายวรเชษฐ เชิดชู รองประธานคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดอุบลราชธานี นายทักษิณ สารมณี ประธานที่ประชุมผู้แทนเกษตรกรภาคอีสานและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดขอนแก่น นายนิยม มุลเมืองแสน กรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดสกลนคร นายบดินทร์เดชา ชูคล้าย กรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดชัยภูมิ นางสาวรัตนา ปานชาติ ผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งมอบนโยบายในการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ให้แก่พนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 20 สาขาจังหวัด กว่า 150 คน

rn

ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจากจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในภูมิภาคอีสาน ได้เวลาปฏิรูปขับเคลื่อนองคาพยพทั้งหมดให้สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในภูมิภาคได้อย่างจริงจัง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับต้องทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ ทั้งฝ่ายบริหาร ผู้แทนเกษตรกร พนักงานลูกจ้าง องค์กรเกษตรกรและตัวเกษตรกร ต้องมีเป้าหมายในการทำงานไปในทิศทางเดียวกันคือการทำให้เกษตรกรอยู่ดีกินดี และมีความสุข ลดความขัดแย้ง ทำงานด้วยกันอย่างจริงจัง จริงใจ ซื่อสัตย์ โปร่งใส ยึดผลประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกรเป็นที่ตั้ง ต้องมีการปฏิรูปการทำงานทุกมิติให้สามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ชัดเจน สร้างความศรัทธาและฟื้นความเชื่อมั่นให้เกษตรกรและบุคคลภายนอก รวมทั้งให้รัฐบาลมองเห็นว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีความสำคัญแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้จริง แผนงานในระยะต่อไปต้องพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทุกระดับให้มีความเป็นเลิศ นโยบายข้างบนจะกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณ กระจายความรับผิดชอบ มาสู่ภูมิภาคและสาขาจังหวัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว พี่น้องเกษตรกรในภาคอีสานได้รับบริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โปร่งใส สอดคล้องกับความต้องการจริง ๆ สำนักงานทุกจังหวัดต้องมีความเป็นเลิศทุกด้านสามารถเชื่อมโยงประสานกันเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ด้วยระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและระบบการทำงานเข้าได้กับภาคีภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน สอดประสานเข้าได้กับนโยบายของรัฐบาล มีกฎหมายรองรับสิทธิพิเศษในการทำตลาดพืชผลทางการเกษตร ยกระดับการผลิตพื้นฐานไปสู่การผลิตแบบ Smart Farm สามารถแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้ไปสู่ตลาดระดับ Modern Trade ได้อย่างยั่งยืน”

rn

นอกจากนี้ ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ยังกล่าวอีกว่า “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จากภายนอกมาช่วยในการพัฒนาระบบการทำงานทุกมิติและเป็นที่ปรึกษาในการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ จึงเชื่อมั่นว่า อนาคตอันใกล้จะเห็นกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในมิติใหม่เป็นองค์กรที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นองค์กรที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญ ใช้เป็นองค์กรขับเคลื่อนนโยบายสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้เกษตรกรในชาติต่อไป”