15-6-pr4834    15-6-pr4835

rn

15-6-pr4836    15-6-pr4837

rn

15-6-pr4838    15-6-pr4839

rn

             คณะทำงานศึกษาแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยธนาคารต้นไม้ โดยนายสุนทร รักษ์รงค์ ประธานคณะทำงาน พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2559 เพื่อศึกษาแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้วยธนาคารต้นไม้ ในจังหวัดน่าน

rn

               เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2559 คณะทำงานลงพื้นที่ธนาคารต้นไม้สาขาบ้านไร่พัฒนาหมู่ 9 ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาวบ้านในพื้นที่ กรณีภูเขาหัวโล้นและการปลูกข้าวโพด ซึ่งชุมชนบ้านไร่พัฒนามีความพยายามที่จะเลิกทำการเกษตรเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด และหันมาทำการเกษตรผสมผสาน จากนั้นคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่แปลง ลุงหมื่น สายแปง (เฉวียน) สมาชิกธนาคารต้นไม้ ม.9 ใช้พื้นที่เพียง 3 ไร่เศษ ปลูกทุกอย่างทั้งไว้กินและขายเช่น เงาะ กาแฟ สับปะรด มะนาว ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและทำนาข้าวเหนียวในพื้นที่ราบอีกแปลง เป็นที่ สปก. พร้อมช่วยกันดูแลรักษา ป่าชุมชนของตำบล 3,000 ไร่ก็สามารถสร้างรายได้ พอที่จะส่งลูกเรียนให้จบปริญญาตรีได้ อีกทั้งปัญหาหนี้สินก็หมดไป ไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน

rn

                ต่อมาวันที่ 12 มิถุนายน 2559 ทางคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะและร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุม อบต.น้ำพาง อ.แม่จริม จ.น่าน โดยพบว่าที่ ต.น้ำพาง อ.แม่จริม มีพื้นที่ป่าถึง 91% มีพื้นที่ทำกินเพียงแค่ 9% และที่ดินทำกินก็เป็นของบรรพบุรุษ อาศัยทำกินมายาวนาน พระธาตุปลิว มีชุมชนโบราณอาศัยอยู่มา 700 ปี อยู่มาก่อนมี พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เขตอุทยานแห่งชาติประกาศทับที่ทำกินของประชาชนหรือ ที่เรียกว่าป่ารุกคน จึงปรากฏให้เห็นที่นี่ ในเวทีรับฟังความคิดเห็น คณะทำงานได้ให้โจทย์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้คิดร่วมกัน โดยคำถามว่า วิธีการให้เกิดแนวทางน้ำพางโมเดล โดยนำ ธนาคารต้นไม้ + กฟก. + น้ำพางโมเดล เพื่อหาวิธีการดำเนินงานในตำบลน้ำพาง โดยให้ผู้นำหมู่บ้านในตำบลน้ำพาง ระดมความคิด แล้วนำเสนอ ซึ่งในภาพรวมในเวที ผู้เข้าร่วมเวทีได้สะท้อนปัญหาข้อเท็จจริง และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังนี้ 1. ปัญหาไม่มีสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ควรให้มีสิทธิ์ในที่ดินทำกินให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. จัดให้มีระบบน้ำเพื่อการเกษตรกร ด้วย ระบบเหมือง ฝาย เก็บกักน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตร 3. การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐอย่างน้อย 5 ปี 4. สนับสนุนพันธุ์กล้าไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่หลากหลาย เพื่อปลูกทดแทนข้าวโพด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิต 5. การปลูกต้นไม้ของธนาคารต้นไม้ควรมีค่าดูแลรักษา ประเมินค่าต้นไม้ ทั้งนี้ เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข กินดี อยู่ดี ปราศจากหนี้สิน

rn

             ซึ่งในเวทีรับฟังความคิดเห็นได้มีหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดน่าน พร้อมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดน่าน ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้แก่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน เกษตรจังหวัดน่าน และ ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน เข้าร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ และในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 คณะทำงานคณะทำงานศึกษาแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยธนาคารต้นไม้ ได้นำข้อมูลทั้ง 2 วัน มาประมวลเพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยธนาคารต้นไม้ และ เสนอพิจารณาร่างระเบียบกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) และธนาคารต้นไม้