วานนี้ (12 ก.ค.59) เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กว่า 100 คน จากจังหวัดในภาคกลาง  ได้แก่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  อ่างทอง ชัยนาท และเพชรบุรีเดินทางมาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (สำนักงานใหญ่) เพื่อติดตามความคืบหน้า เรื่อง ขอให้ไตร่ตรองแก้ไขการจัดการหนี้ (ใหม่) โดยได้มีการยื่นหนังสือไปแล้วเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยนายวัชระพันธุ์  จันทรขจร  เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ได้เชิญเกษตรกรเข้าร่วมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันซึ่งได้ข้อสรุป ดังนี้

rn

1. ตัวแทนเกษตรกรสมาชิกจะขอเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการจัดการหนี้ในครั้งต่อไป ซึ่งกำหนดจัดประชุมในวันที่ 21 กรกฏาคม 2559 เพื่อมีส่วนร่วมและรับฟังมติคณะกรรมการจัดการหนี้ในการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาใหม่

rn

2. ยกเลิกหนังสือแจ้งแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการจัดการหนี้  เลขที่ กฟก.0100/ว 1230/2 ลงวันที่ 31 พ.ค. 59 ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้แจ้งแนวทางปฏิบัติงานด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร ให้สำนักงานสาขาจังหวัดดำเนินการ ดังนี้ 1.การชำระหนี้แทนเกษตรกรทุกสถาบันเจ้าหนี้ ให้เสนอชำระหนี้แทนเกษตรกรำด้ทั้งกรณีหนี้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (บุคคลค้ำประกัน) ต้องเป็นหนี้ที่มีวัตถุประสงค์การกู้เพื่อการเกษตร  2.การชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีหนี้บุคคลค้ำประกัน  ให้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร  ว่าด้วย หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ.2559 หมวด 1 ข้อ 8 วรรค 2 “ในกรณีหนี้ที่ต้องจัดการหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน และเกษตรกรประสงค์จะนำทรัพย์สินใหม่มาเป็นหลักประกัน ให้เกษตรกรแสดงเอกสารตาม (1) ถึง (5) ของวรรคแรก” 3.การชำระหนี้แทนเกษตรกร  กรณีสถาบันเกษตรกร(สหกรณ์) ชำระหนี้แทนตามความเร่งด่วน กล่าวคือ เป็นหนี้ชั้นบังคับคดี  ขายทอดตลาด  พิพากษา  ดำเนินคดี  ผิดนัดชำระ (NPL) 3 ปีขึ้นไปตามลำดับ  4.กรณีที่มีวัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อการเกษตรหรือหนี้ที่ผ่านการอุทธรณ์ ให้สำนักงานสาขาจังหวัดไปดำเนินการสู่กระบวนการอุทธรณ์ให้ตามประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2559  5.กรณีสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) ให้เสนอชำระหนี้แทนได้  โดยคิดคำนวณดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี หากเป็นหนี้เกิน 10 ปี  ให้คิดคำนวณดอกเบี้ย  7.5% ได้ไม่เกิน 10 ปี ทุกกรณี  และให้จัดทำนิติกรรมสัญญากับกองทุนฟื้นฟูฯ เต็มตามจำนวนที่กองทุนฟื้นฟูฯชำระหนี้แทน  6.การชำระหนี้แทนเกษตรกร  กรณีธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคล  ชำระหนี้แทนตามความเร่งด่วน  กล่าวคือ  เป็นหนี้ชั้นบังคับคดี  ขายทอดตลาด  พิพากษา  ดำเนินคดี  ผิดนัดชำระ  โดยเป็นหนี้  NPL  ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558  ทั้งนี้  กรณีผิดนัดชำระต้องเป็น  NPL ไม่น้อยกว่า 3 ปี

rn

และเกษตรกรสมาชิกได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมเนื่องจากคณะกรรมการจัดการหนี้มีวาระคราวละ 2 ปี  แสดงให้เห็นว่าสำนักงาน จะต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการหนี้ใหม่ทั้งหมดตลอดนั้น  ถ้ากรณีแบบนี้เกษตรกรที่รับขึ้นทะเบียนไว้ก็ต้องเสียสิทธิ์ในการจัดการหนี้  และในระหว่างนี้หากเกิดกรณีใดๆกับเกษตรกรสมาชิก ขอความร่วมมือให้สำนักงานสาขาเดินทางเจรจาชะลอการดำเนินการของธนาคารออกไปก่อน

rn

                 13-7-pr4900

rn

   13-7-pr4901 13-7-pr4902

rn

   13-7-pr4903 13-7-pr4904

rn

   13-7-pr4905 13-7-pr4906

rn

   13-7-pr4907 13-7-pr4908

rn

   13-7-pr4909 13-7-pr4910

rn

   13-7-pr4911 13-7-pr4912

rn

   13-7-pr4913 13-7-pr4914