6-1-pr4219 6-1-pr42186-1-pr4221 6-1-pr42226-1-pr4223 6-1-pr42256-1-pr4228 6-1-pr42206-1-pr4227 6-1-pr42296-1-pr4226 6-1-pr4224

rn

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2559 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยเลขาธิการนายวัชระพันธุ์ จันทรขจร ได้เข้าร่วมพิธีบันทึกลงนามความร่วมมือ “สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนระหว่างองค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน” ณ ห้องแพลนนารี่ ฮอลล์ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว) พร้อมทั้งประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน

rn

วัตถุประสงค์ของการลงนามในบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ ต้องการสร้างเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐโดยการสร้างรูปธรรมพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน ด้วยเครือข่ายองค์กรชุมชน 77 จังหวัด กับภาคีภาครัฐและภาคธุรกิจ 21 องค์กร ได้แก่ ธนาคารออมสิน สานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมการค้าภายใน  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สโมสรโรตารีสัมพันธวงศ์ กรมการพัฒนาชุมชน สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายธุรกิจ Biz Club Thailand สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท เอสซีอีอินเตอร์เนชั่นแนล จากัด มูลนิธิสายใยแผ่นดิน เครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส  องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มูลนิธิสัมมาชีพ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และกำหนดแนวทางการเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากสู่การขับเคลื่อนการทำงานเชิง Cluster และเชิงพื้นที่

rn

ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์)  ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญและทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ใน 5 มาตรการสำคัญได้แก่ 1) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ทั้งในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยและกองทุนหมู่บ้าน อาทิเช่น การลงทุนเพื่อสร้างยุ้งฉาง โรงสีข้าว ลานตาก เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ร่วมกันของชุมชน การเสนอโครงการจากกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น  2) ยกระดับความสามารถในการผลิตให้แก่ภาคเกษตรกรรม ทั้งการเพิ่มมูลค่าสินค้า การแปรรูป การลงทุนเพาะปลูกในพืชที่หลากหลายและการส่งออกเพื่อยกระดับสู่ SME เกษตรอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการสร้าง “หัวขบวนเกษตรกร” (Smart farmer) โดยสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจที่มีความสามารถร่วมกับเกษตรกรเพื่อแปรรูปสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่ม “1 SME เกษตร 1 ตำบล” 3) การสร้างตลาดเพื่อรองรับสินค้าเกษตร (โดยมอบกระทรวงพาณิชย์) พัฒนาตลาดประชารัฐซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งตลาดและโลจิสติกส์ เชื่อมต่อไปสู่ International trading 4) ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เกิดความยั่งยืนและกระจายรายได้สู่ตำบลและอำเภอ “1 ตำบล 1 แหล่งท่องเที่ยว” หรือ “1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว” เพื่อดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ เศรษฐีภูธร และกลุ่ม CLMV 5) ลงทุนพัฒนา Internet broad brand ทุกชุมชนรวมถึงพื้นที่ชายขอบ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและการขายสินค้าเกษตร (E-commerce) ทั้งหมดนี้ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 นี้ และจะสร้าง Digital Economy เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนต่อไป