23-6-pr366

rn

23-6-pr367    23-6-pr368

rn

23-6-pr369    23-6-pr370

rnrn

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดระนอง โดยนายจอมภพ บุญธรรม หัวหน้าสำนักงาน และนางอรุณี  นวลศรี พนักงานอาวุโส ได้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำวิจัยในพื้นที่ บ้านนา ตำบลเชี่ยวเหลียง จังหวัดระนอง เกี่ยวกับเป็ดพันธุ์พื้นบ้าน (เป็ดบ้านนา) ของกลุ่มธนาคารหมู่บ้าน บ้านนา ซึ่งได้รับงบอุดหนุนจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมาทำแผนแม่บทองค์กร หลังจากนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้ทุนต่อยอดเพื่อทำวิจัยเรื่องเป็ดบ้านนาเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ดั้งเดิม

rn

         นางยุพา  คงกระพันธ์ ประธานองค์กร ได้เปิดเผยถึงภูมิหลังของเป็ดบ้านนาว่า  เดิมทีเป็ดบ้านนามีสายพันธุ์มาจากประเทศจีน โดยเมื่อ พ.ศ. 2397 ชาวจีนได้เดินทางมาทำเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดระนองและได้นำเป็ดดังกล่าวเข้ามาด้วยเพื่อมาทำเครื่องเซ่นไหว้เจ้า เพราะลักษณะของเป็ดจะมีขนที่คอและปีกบางส่วนเป็นมันเหลื่อมคล้ายปีกแมลงทับ เมื่อต้องแสงอาทิตย์จะเห็นเป็นสีเขียวบ้างม่วงบ้างบางมุมจะเห็นเป็นสีม่วงอมแดง ถือเป็นของพิเศษสำหรับไหว้เจ้า อีกทั้งเนื้อยังมีรสชาตินุ่มอร่อยไม่เหมือนเป็ดทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านนา และทรงทราบประวัติเป็ดบ้านนา และมีนโยบายให้อนุรักษ์เป็ดสายพันธุ์ดังกล่าว

rn

        ผศ.ดร. บัญชร  แก้วส่อง ผู้อำนวยการวิจัยท้องถิ่น ยังได้กล่าวอีกว่าสำหรับในจังหวัดระนองเรามีศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งมี นางสาวณัฐกาณต์  ไท้สุวรรณ เป็นหัวหน้าศูนย์คอยเป็นพี่เลี้ยงในการวิจัย ตนเข้าใจว่าการฝึกให้ชาวบ้านทำการวิจัยเองมันเป็นเรื่องยากแต่ก็จำเป็นต้องฝึก หากติดขัดอย่างไรเจ้าหน้าที่ของเราก็เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงไม่น่าเป็นห่วง

rn        สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้หากสำเร็จ ชาวบ้านน่าจะได้รับประโยชน์มาก จะได้สูตรอาหารราคาถูกให้อัตราการแลกเนื้อสูงทั้งยังได้สายพันธุ์เป็ดบ้านนาที่นิ่ง นางยุพา  คงกระพันธ์ ประธานกลุ่มธนาคารหมู่บ้าน บ้านนา กล่าวในที่สุด