27-127-2

rn

สำนักงานสาขาจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืม และได้รับคัดเลือกให้เป็นองค์กรเกษตรกรที่เข้มแข็ง จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯสาขาจังหวัดพิจิตร  จำนวน 2 องค์กร คือ กลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจ  และกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านเนินทราย  เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม  2555  ที่ผ่านมา

rn

นางนุชฎา จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร พร้อมพนักงาน ลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดพิจิตร  ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืม  และได้รับการคัดเลือกจากสาขาจังหวัดพิจิตร ให้เป็นองค์กรเกษตรกรที่เข้มแข็ง 2 กลุ่ม  คือ กลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจ  และกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านเนินทราย  

rn

กลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  เมื่อปี 2543  รหัสองค์กร  6643005221  มีนายสมพงษ์  สีเรือง  เป็นประธานองค์กร  ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน  130 ราย  สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำนาข้าว  และเลี้ยงสัตว์  แต่ประสบปัญหาขายผลผลิตได้ราคาไม่คุ้มกับต้นทุน  ทำให้เกิดภาวะหนี้สิน  ดังนั้นกลุ่มบึงทับจั่นร่วมใจ จึงเสนอแผนและโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรและพัฒนาอาชีพต้นแบบ  เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน (งบกู้ยืม) จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ และได้รับงบประมาณสนับสนุนประเภทกู้ยืมจำนวน  407,500  บาท  ในโครงการ “ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท” ทำให้องค์กรสามารถวางแผนการบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  โดยองค์กรจัดทำแปลงสาธิตการทำนาเกษตรอินทรีย์  ซึ่งจะเป็นสถานที่ดูงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกองค์กรต่อไป  ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกรโดยใช้กระบวนการเรียนรู้  กระบวนการมีส่วนร่วม เป็นยุทธวิธี  ที่ทำให้องค์กรเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

rn

จากนั้นได้เดินทางไปยังกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านเนินทราย รหัสองค์กร  6643001358 ตำบลสายคำโห้ อำเภอเมือง  จังหวัดพิจิตร โดยมีนายเพราะ อาจวงษ์ ประธานองค์กรเกษตรกรและสมาชิกต้อนรับ กลุ่มนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนประเภทกู้ยืมจำนวน  337,800  บาท  จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในโครงการ “การเลี้ยงปลาในบ่อดิน”  มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมด  48  คน  ได้รับการพัฒนาศักยภาพองค์กรและพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนแก่สมาชิก  ทำให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกรสามารถวางแผนการบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้มีบ่อสาธิตการเลี้ยงปลา,กบในบ่อดิน     ซึ่งจะเป็นสถานที่ดูงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรต่อไป

rn

โดยที่ผ่านมาสาขาจังหวัดได้ร่วมดำเนินการ กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างชัดเจนทำให้องค์กรเกษตรกรเกิดกระบวนการเรียนรู้และมีความสามารถในการดำเนินการทางการเกษตร ทั้งในระดับของการพึ่งพาตนเองและในระดับของการแข่งขันเป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มความสามารถไปสู่เป้าหมายของการนำเอากระบวนการกลุ่ม การเสริมสร้างเชื่อมโยงเครือข่าย การมีส่วนร่วม การเสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและจัดการกับทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างชาญฉลาด เข้ามาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร และก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินการเพื่อการพัฒนาองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง  

rn

rn