10-5-2 10-5-310-5-4 10-5-5

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดพิจิตร พร้อมพนักงานและลูกจ้างฯ ได้ลงพื้นที่ร่วมประชุมสมาชิกเกษตรกร  พบปะพูดคุยแนะนำกองทุนฟื้นฟูฯ  กลุ่มเกษตรกรตำบลคลองคูณ  โดยได้รับการต้อนรับจากท่านกำนันศักดิ์นรงค์  แช่มช้อย ซึ่งเป็นประธานองค์กรเกษตรกรกลุ่มเกษตรตำบลคลองคูณ  พร้อมด้วยสมาชิก  143  คน  ซึ่งเข้าร่วมฟังการชี้แจงในครั้งนี้ 

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.พิจิตร  เปิดเผยว่า ได้ชี้แจงให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร วัตถุประสงค์การจัดตั้ง ภารกิจหน้าที่ตาม พรบ. อันประกอบไปด้วย 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน  การรวมกลุ่มของเกษตรกร  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไข  ปัญหาของเกษตรกร 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร 3. พัฒนาความรู้  ในด้านเกษตรกรรม  หรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง  ให้แก่องค์กรของเกษตรกร และ 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง  และเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร 

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.พิจิตร  กล่าวต่อไปอีกว่า เกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม  หรือคณะ  ถ้าประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นองค์กร  ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานฯ หรือสำนักงานสาขา  ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด  โดยให้องค์กรเกษตรกร  มีสิทธิ์ขอรับการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร  คือให้ทำแผน  หรือโครงการฟื้นฟูฯ  ยื่นต่อสำนักงานฯ หรือสำนักงานสาขา  ทั้งนี้แผน หรือโครงการ  ต้องระบุหมายเลขทะเบียนองค์กร รายชื่อของงสมาชิกเกษตรกร  เหตุผลที่เสนอแผน หรือโครงการฟื้นฟูฯ  รายละเอียดแห่งสินทรัพย์  หนี้สิน  และภาระผูกพัน  รายละเอียดพอสังเขปของโครงการฟื้นฟูฯ  หลักการ  วิธีการดำเนินการและขั้นตอน  ระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผน  หรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 

rn

ในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร  นางนุชฎา   จำเริญสาร  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.พิจิตร  ได้บรรยายถึงเรื่องของคำว่า “ หนี้ ” หนี้ซึ่งเกิดมาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร หนี้ในระบบ หมายถึง 1. หนี้ที่เกิดจากโครงการส่งเสริมของรัฐฯ 2. หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 3. หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกร

rn

คำว่า “ โครงการส่งเสริมของรัฐ ”  คือโครงการของกระทรวง ทบวงกรม ราชการส่วนภูมิภาค  หรือรัฐวิสาหกิจ  ส่วนคำว่า “ สถาบันการเงิน ”  หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมาย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกรตามกฎหมาย และนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด และคำว่า “สถาบันเกษตรกร” นั้นหมายความว่า นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์การเกษตรกร

rn

เกษตรการซึ่งเป็นหนี้ในระบบ  เมื่อได้รับคำขอขึ้นทะเบียน  โครงการใดที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ  โดยมิใช่ความผิดของเกษตรกร  ให้เร่งพิจารณาช่วยเหลือ  โดยให้กองทุนฯรับภาระชำระหนี้แทนนั้น  เกษตรกรต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด  คณะกรรมการมีอำนาจผ่อนผัน  การชำระหนี้  ลดหนี้  ปลดหนี้  ให้แก่เกษตรกร   เหตุพลของการประกาศใช้ พรบ. คือ ที่ผ่านมาทางราชการมิได้เปิดโอกาสให้เกษตรกร  แสดงความคิดเห็น  และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย  ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามความเป็นจริง  จึงจำเป็นต้องจัดตั้งองค์กร  เปิดโอกาสให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งองค์กร  เพื่อทำแผนและโครงการในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูฯ  ซึ่งมีระบบการติดตามและประเมินผล  การดำเนินการเพื่อให้ฟื้นฟูและพัฒนาสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ตามความมุ่งหมายของการจัดให้มีกองทุนฟื้นฟูฯ

rn

“หัวใจของกองทุนฟื้นฟูฯ คือ รักษาที่ดินของเกษตรกรไว้ให้ลูกหลานได้มีที่ดินทำกินตลอดไป” นางนุชฎา  จำเริญสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.พิจิตรกล่าว

rn

rn

rn