AEC: ทางเลือก และทางรอดของภาคเกษตรไทย

rn


rn

rn

เป้าหมายของ AEC จะบรรลุผลในปี 2558 ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี และการเคลื่อน ย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน รวมทั้งลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการรวมตัวกับประชาคมโลกของอาเซียน ประเทศไทย โดยเฉพาะนักธุรกิจ และนักลงทุนจะได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน และวัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากประเทศอาเซียนอื่นๆ ในราคาที่ถูกลง และสามารถย้ายฐานการผลิตหรือการลงทุนไปได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งมีโอกาสขยายการค้าและบริการได้กว้างขวางมากขึ้นโดยการสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในประเทศอื่นเพื่อสร้างขีดความสามารถการแข่งขันและอำนาจการต่อรองร่วมกัน ตลาดจนสามารถใช้ระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและถูกลงด้วย ทั้งนี้ คนไทยก็มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการที่มีคุณภาพและหลากหลายในราคาที่เป็นธรรม เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ สินค้าการเกษตร                                                                                        การส่งออกสินค้าเกษตรและธุรกิจเกษตรระหว่างประเทศอาเซียนสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกจะมีการแข่งขันสูงมาก พืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน จะได้รับผลกระทบ ดังนี้

rn

rn

(1) พืชที่ยังคงมีศักยภาพการแข่งขัน คือ อ้อยและยางพารา

rn

rn

(2) พืชที่ได้เปรียบในปัจจุบันแต่จะขาดศักยภาพแข่งขัน คือข้าวและมันสำปะหลัง

rn

rn

(3) พืชที่เสียเปรียบ คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปาล์มน้ำมัน ดังนั้น ในภาพรวม ภาคเกษตรสาขาพืชจะได้ผลกระทบด้านลบ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในทุกสาขาพืช จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจาก                                                                                                          

rn

1.ภาคเกษตรในประเทศขาดการพัฒนาและนวัตกรรมมายาวนาน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่าประเทศอื่น และขาดการยกระดับความสามารถแกประชากรเกษตรอย่างจริงจังต่อเนื่อง รวมทั้งเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุกับขาดแคลนทั้งแรงงานและผู้สืบทอดอาชีพเกษตร ทำให้ธุรกิจเกษตรต้นน้ำมีปัญหา                  

rn

2.นโยบายภาครัฐขาดความแน่นอนและต่อเนื่อง อีกทั้งนโยบายการแทรกแซงระบบตลาดทำให้สินค้าเกษตรขาดศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้งต้นทุนการผลิต ค่าแรงงาน ราคาพลังงานและค่าขนส่งล้วนสูงกว่าประเทศอื่น ทำให้ธุรกิจเกษตรกลางน้ำและปลายน้ำเสียเปรียบเชิงแข่งขันกับประเทศอื่น 3.นักลงทุนอื่นๆ จากทั้งในอาเซียนและนอกภูมิภาคเข้ามาแสวงประโยชน์ในภาคเกษตรไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น กว้านซื้อที่ดินแล้วจ้างทำเกษตร หรือ ทำสัญญาจ้างผลิตสินค้าเกษตร หรือทำธุรกิจแบบ Joint Venture หรือแบบ Nominee ทำให้เกษตรกรรายย่อยสูญเสียที่ดินและอาชีพมากขึ้น                      

rn

ดังนั้น เกษตรกรทุกระดับต้องปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการติดตามข้อมูลการผลิตของเกษตรกรในประเทศสมาชิก AEC และข่าวสารการตลาด รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำมาพิจารณาการจัดการต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าที่มีมูลค่าและคุณค่าเพิ่ม ขึ้น โดยเฉพาะจำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าและกระบวนการผลิต ตลอดจนการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากแม้ว่าการเปิดเสรีทางการค้าสินค้าเกษตรกรและอาหารนั้นจะทำให้มีการลดอุปสรรคด้านภาษี แต่อุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีก็สามารถกำหนดได้ เช่น เงื่อนไขด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ที่แต่ละประเทศมีกฎระเบียบเพื่อปกป้องผู้บริโภคในประเทศของตน เป็นต้น                                                                                            

rn

อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจภาคเกษตรกลางน้ำและปลายน้ำ  ตั้งแต่โรงงานแปรรูปและผู้ส่งออกที่มีการเตรียมความพร้อมจะได้รับประโยชน์จาก AEC เนื่องจากสามารถหาวัตถุดิบเกษตรที่มีต้นทุนต่ำมาแปรรูปและจำหน่ายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีโอกาสส่งออกมากขึ้นด้วยระบบโลจิสติกส์ที่คล่องตัว ตลอดจนสามารถแสดงความเป็นผู้นำด้านอาหารสู่ตลาดโลก                                                                                          

rn

ภาคเกษตรไทยจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวในยุคเศรษฐกิจเสรีอาเซียน โดยการสร้างโอกาสและลดข้อเสียเปรียบของเกษตรกร ด้วยการรวมกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรให้เข้มแข็งในรูปของวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้ ต้องอาศัยรวมกลุ่มองค์ความรู้จากงานวิจัยและภูมิปัญญาโดยสถาบันวิชาการกับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งสำคัญคือ การประสานความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยโดยเร่งพัฒนาระบบข้อมูลของเกษตรกรทุกสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนวทางนโยบายที่รองรับผลกระทบจาก  AEC นอกจากนั้น ยังต้องเน้นการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกร รวมทั้งควรกำหนดเขตเกษตรเศรษฐ กิจให้ชัดเจนที่สอดคล้องกับแผนการผลิตและการตลาดพร้อมทั้งมาตรการคุ้มครองพื้นที่เกษตรไม่ให้ถูกนำไปใช้เพื่อการอื่น ในขณะเดียวกัน ก็ควรปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายตัวด้านขนส่งสินค้าเกษตรสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น  ดังนั้น ยุทธศาสตร์ของประเทศไทยสำหรับตลาด AEC และตลาดโลก เพื่อมุ่งสร้างตลาดสิน ค้าที่มีคุณค่าและมูลค่าสูง คือ                                                                                                

rn

(1) ผู้นำด้านอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น การผลิตข้าวที่มีโภชนาการสูงสำหรับตลาดเฉพาะ (niche market) ของผู้บริโภคทั่วโลกที่ใส่ใจสุขภาพและสนับสนุนการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อสร้างความหลากหลายและค้นหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวไทย รวมทั้งสร้างชาวนารุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกดีและรู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น                               (2) ผู้นำด้านสมุนไพรเพื่ออายุรเวชและความสวยงาน ซึ่งเป็นการมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ที่สร้างรายได้สูง                                                                                                                             (3) ผู้นำด้านพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและเสริมสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน            

rn

(4) ผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศโดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอีกด้วย.

rn

rn

rn

rn

ส่วนฝึกอบรม  สำนักอำนวยการ

rn

rn

กันยายน ๒๕๕๕