8-14

rn

นายยศวัจน์  ชัยวัฒนสิริกุล  กรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  เปิดเผยว่าโดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าแนวทางการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ ต้องเป็นไปในเชิงรุกไม่ว่าจะเป็นด้านการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรและการจัดการหนี้ของเกษตรกร เพื่อก้าวให้ทันกับการเข้าสู่ประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเปิดปลายปี 2558

rn

ภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรสมาชิกองค์กรเกษตรกรให้พึ่งพาตนเองได้และมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สำหรับด้านการจัดการหนี้ต้องเร่งขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน เพราะมีผลกระทบกับเกษตรกรโดยตรง  คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรต้องมีความเห็นร่วมกันในการสำรวจความมีอยู่จริงของหนี้ในแต่ละสถาบันเจ้าหนี้ให้มีความชัดเจน และสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นตัวกลางเจรจาเพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกรตามเงื่อนไข หากสามารถปลดเปลื้องภาระหนี้สินได้อย่างรวดเร็ว ถือว่าได้รักษาที่ดินในการทำเกษตรกรรมไว้ให้พี่น้องเกษตรกร  ก่อให้เกิดกำลังใจในการประกอบอาชีพ และถ้าการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเข้ามาบูรณาการ  จะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร สามารถทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นครัวของโลกได้ไม่ยากเลย

rn

ในฐานะที่เป็นประธานคณะทำงานศึกษาและจัดทำสวัสดิการเกษตรกรสมาชิกองค์กรเกษตรกรตามมาตรา 5 (4) คณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อศึกษาข้อมูลในการจัดเตรียมสวัสดิการให้กับเกษตรกรสมาชิกได้แก่ สวัสดิการเกี่ยวกับที่ดินทำกิน  สวัสดิการการรักษาพยาบาล  สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษา  สวัสดิการเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักรการเกษตร  นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการทำศพ ซึ่งอยู่ระหว่างการยกร่างระเบียบ โดยหลักการแล้วจะระดมจากสมาชิกรายละ 1,000 บาท หากสมาชิกเสียชีวิตลง (ในวันที่ 63) ที่สมัครเป็นสมาชิกแล้วจะได้รับเงินช่วยเหลือรายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท  จุดประสงค์ของการจัดทำสวัสดิการดังกล่าวเพื่อต้องการให้สมาชิกภายในองค์กรเกษตรกรได้มีหลักประกันให้กับครอบครัว  รวมทั้งมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  นายยศวัจน์กล่าว