กองทุนฟื้นฟูฯ ยกเครื่องยุทธศาสตร์ 5 ปี พุ่งเป้าการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและให้บริการครบวงจร

วันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมโรงแรม ดิ ไอเดิล โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ จังหวัดปทุมธานี นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานการประชุมสัมมนาเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2568 – 2572 ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2567 โดยมีคณะทำงานร่างยุทธศาสตร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาค 4 ภูมิภาค

นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหาร ในฐานะประธานคณะทำงานร่างยุทธศาสตร์ กล่าวเปิดงานในเวลา 13.00 น. ว่า การจัดสัมมนาเพื่อวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 วันในครั้งนี้ เพื่อจะถอดบทเรียนจากการทำงานของ กฟก. ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา ด้วยการเปิดเวทีระดมความคิด นำเสนอโครงสร้างของแต่ละสำนัก เพื่อกลั่นกรองมาเป็นแผนยุทธศาสตร์การทำงานที่มีทิศทาง และมีความเป็นไปได้ เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันในทุกระดับ ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค องค์กรเกษตรกร สมาชิก พนักงาน ทุกกลไกเหล่านี้จะต้องเดินไปพร้อมกันตามอำนาจหน้าที่ การสนับสนุนให้องค์กรเกษตรกรเกิดความเข้มแข็ง เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตได้จริง เป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะฉะนั้น แผนยุทธศาสตร์ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้านี้ จะมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ นำไปสู่การของบประมาณสนับสนุนมาพัฒนาเกษตรกรตามเป้าหมายได้

สำหรับเนื้อหาในวันแรกเป็นการนำเสนอโครงสร้างองค์กรและการบริหารสำนักงาน และองค์กรเกษตรกรสมาชิก โดยผู้อำนวยการแต่ละสำนัก เพื่อทบทวนสภาพแวดล้อมภายในของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่มีสภาพแวดล้อมภายนอกมาเกี่ยวโยงด้วย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิน สังคม ในช่วงเย็นมีการทบทวนยุทธศาสตร์เดิมของปี 2563 – 2567 นำมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นได้ภายใต้ข้อจำกัด เพื่อนำไปสู่การยกร่างยุทธศาสตร์ใน 5 ปีข้างหน้านี้

ประธานบริหาร“สุรชัย” นำทีมบอร์ดหนี้ และผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมสาขาจังหวัด ประกาศจุดยืน กฟก.ไม่มีนโยบายเรียกรับเงินเกษตรกร พร้อมย้ำ “เกษตรกรต้องอยู่ดีกินดี ไม่มีปัญหาหนี้สิน”

วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 6 ห้อง 6A สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 8/2567 โดยมีนายสุรชัย เบ้าจรรยา เป็นประธานการประชุม และมีนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน เป็นเลขานุการคณะ โดยในช่วงเช้าคณะกรรมการบริหารได้มอบหมายให้คณะทำงานวางแผนประชาสัมพันธ์สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ นำเสนอโครงการประชุมสมัชชาใหญ่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในวาระครบรอบ 25 ปี คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อเกษตรกรทุกคน ที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดให้สอดคล้องกับงบประมาณ โดยให้คำนึงถึงความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะต้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลด้วย และให้นำเสนอโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการในคราวประชุมครั้งต่อไป

ในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหาร ผู้แทนจากคณะกรรมการจัดการหนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ผู้บริหารสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ประชุมมอบนโยบายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสาขาจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายสุรชัย เบ้าจรรยา ได้มอบนโยบายตกับผอ.สน.กิจการสาขาจังหวัด หนู.สนง. และพนักงาน-ลูกจ้างสาขาจังหวัดทั่วประเทศว่า ตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่ได้เดือนเศษ ได้รับข้อมูลเรื่องมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างกองทุนฟื้นฟูฯ ในการเรียกรับผลประโยชน์ทั้งเรื่องการเขียนแผนโครงการ และเรื่องการจัดการหนี้ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการหนี้ มีความกังวลใจ ห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภาคทุกจังหวัด จึงขอให้ทุกสาขาจังหวัดกระจาย ขยายข่าวให้เกษตรกรทุกพื้นที่ได้รับทราบว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินจากเกษตรกร ท่านใดที่มีปัญหาเดือดร้อนให้ติดต่อกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดโดยตรง ฝากทุกสาขาให้เร่งอธิบาย ทำสื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางให้เข้าถึงเกษตรกร ในส่วนของฝ่ายบริหารได้เตรียมพร้อมในการของบประมาณจากรัฐบาลสำหรับการบริหารงานทุกด้าน เกษตรกรจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ตกเป็นเหยื่อของนายหน้าค้าความจน พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีสวัสดิการในการทำงาน เรื่องใดที่จะช่วยให้การทำงานราบรื่น ฝ่ายบริหารยินดีให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน จึงขอให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานทุกท่านที่ให้ความทุ่มเทเสียสละทำงานเพื่อเกษตรกร

ในเรื่องผลงานของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้นมีอยู่หลายด้าน สิ่งสำคัญคือต้องดึงเอาจุดเด่นออกมานำเสนอให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกที่มีความโดดเด่นนั้นสามารถผลักดันให้เป็นสินค้า Soft Power ได้ การแก้ไขปัญหาหนี้มีความคืบหน้าไปมาก มีการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สิน มีการกำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ของรัฐบาล ปัญหาที่จำเป็นต้องสะสางจะเร่งดำเนินงานให้เร็ว และต้องทำงานเชิงรุก เน้นการเข้าถึง คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น ตามที่ได้มอบนโยบายไว้กับคณะผู้บริหารของกองทุนฟื้นฟูฯ “เกษตรกรต้องอยู่ดีกินดี ไม่มีปัญหาหนี้สิน”

ประธานบริหาร“สุรชัย” ประเดิมเวทีแรก พบ หน.ภาคกลาง และมอบ โฉนดให้เกษตรกร 11 ราย ประกาศยืน ประกาศจุดยืน กฟก.ไม่มีนโยบายเรียกรับเงินเกษตรกร พร้อมชูนโยบาย “คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อเกษตรกรไทยทุกคน”

วันที่ 22 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมพระพิพิธโภไคย ชั้น 3 อาคารเก่า (ตึกหน้า) ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วย คณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม สนับสนุน ประเมินผล แก้ไขปรับปรุงและการดำเนินการแผนหรือโครงการพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) นายวงศ์วริศ์ วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่วนบริหารสินทรัพย์ สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคกลาง 26 จังหวัด และเกษตรกรในพื้นที่ เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า เป็นโอกาสดีที่ได้มาร่วมประชุมกับหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคกลางทั้ง 26 จังหวัด ซึ่งเป็นเวทีแรกที่ได้พบปะกับหน.สาขาจังหวัดอย่างเป็นทางการ ในโอกาสที่ได้มีการประชุมคณะทำงานตรวจสอบติดตาม สนับสนุน ประเมินผล แก้ไขปรับปรุงและการดำเนินการแผนหรือโครงการพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการคืนหลักประกันให้กับเกษตรกรสมาชิกที่ชำระหนี้คืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรครบถ้วนตามสัญญา ให้เกษตรกรจำนวน 11 คน จากพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ซึ่งทุกท่านที่มาในวันนี้ต่างเป็นเกษตรกรสมาชิกชั้นดีที่ให้ความร่วมมือผ่อนชำระหนี้คืนครบจำนวนตามสัญญา กองทุนฟื้นฟูฯ มีหน้าที่ช่วยเหลือสมาชิกที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน และมีหน้าที่รักษาหลักทรัพย์ที่ดินทำกินให้เกษตรกร เมื่อคืนเงินครบถ้วนแล้วก็จะได้รับโฉนดที่ดินคืน เป็นที่ทำกินส่งต่อให้ลูกหลานต่อไปด้วย นี่คือภารกิจที่น่าภาคภูมิใจของกองทุนฟื้นฟูฯ

เมื่อท่านได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้แล้ว หลังจากนั้นจะได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมทางด้านอาชีพให้มีความมั่นคงยั่งยืนผ่านการเสนอแผนและโครงการเพื่อขอรับงบประมาณส่งเสริมอาชีพในองค์กร ที่มีคณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม สนับสนุน ประเมินผล แก้ไขปรับปรุงและการดำเนินงานแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารชุดนี้ ซึ่งภาคกลางได้เริ่มทำงานและมีความคืบหน้าไประดับหนึ่งแล้ว และเชื่อมั่นว่าในระยะเวลาอันสั้นนี้ภารกิจด้านการฟื้นฟูฯ ในพื้นที่ภาคกลางจะสำเร็จเป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายสุรชัย เบ้าจรรยา ได้มอบนโยบายกับหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคกลาง และเกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมว่า ตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่ได้เดือนเศษ ได้รับข้อมูลเรื่องมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างกองทุนฟื้นฟูฯ ในการเรียกรับผลประโยชน์ทั้งเรื่องการเขียนแผนโครงการ และเรื่องการจัดการหนี้ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการหนี้ มีความกังวลใจ ห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภาคทุกจังหวัด จึงขอให้ทุกสาขาจังหวัดเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เกษตรกรรับทราบว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินจากเกษตรกร หากท่านใดมีปัญหาเดือดร้อนให้ติดต่อกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดโดยตรง ในส่วนของฝ่ายบริหารได้เตรียมพร้อมในการของบประมาณจากรัฐบาลสำหรับการบริหารงานทุกด้านเพื่อสานต่อภารกิจต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียม

ในเรื่องผลงานของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้นมีอยู่หลายด้าน สิ่งสำคัญคือต้องดึงเอาจุดเด่นออกมานำเสนอให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกที่มีความโดดเด่นนั้นสามารถผลักดันให้เป็นสินค้า Soft Power ได้ การแก้ไขปัญหาหนี้มีความคืบหน้าไปมาก มีการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สิน มีการกำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ของรัฐบาล ปัญหาที่จำเป็นต้องสะสางจะเร่งดำเนินงานให้เร็ว และต้องทำงานเชิงรุก เน้นการเข้าถึง “คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อเกษตรกรไทยทุกคน” ตามที่ได้มอบนโยบายไว้กับคณะผู้บริหารของกองทุนฟื้นฟูฯ “เกษตรกรต้องอยู่ดีกินดี ไม่มีปัญหาหนี้สิน”