ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดการหนี้และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร(ฉบับที่ ๒)

เลขาธิการกองทุนฯ มอบนโยบายให้พนักงาน/ลูกจ้างสาขามหาสารคาม ติดตามการสะสางทะเบียนหนี้/องค์กร ย้ำเกษตรกรต้องได้รับการบริการอย่างทั่วถึง

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้ประชุมมอบนโยบายแก่พนักงานสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขามหาสารคาม โดยมีอนุกรรมการฯ จังหวัดมหาสารคาม และสมาชิกองค์กรเกษตรกรในพื้นที่ ให้การต้อนรับ

เลขาธิการฯ ได้กล่าวถึงที่มาแห่งการก่อกำเหนิดกองทุนฯ โดยพี่น้องชาวมหาสารคามเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่ได้ร่วมกันสร้างกองทุนฯ ขึ้นมาจนเป็นรูปร่าง และทำงานแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรได้สำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องทำต่อไป โดยเฉพาะการให้บริการเกษตรกรต้องทำด้วยใจ ให้บริการอย่างทั่วถึง ไม่เลือกปฎิบัติ

นอกจากนี้ยังได้ติดตามงานด้านการสะสางทะเบียนองค์กร/ทะเบียนหนี้เกษตรกร ให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรได้มาขึ้นทะเบียนองค์กร และทะเบียนหนี้ไว้กับสนง.กองทุนฟื้นฟูฯ นานแล้ว แต่ไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน จึงให้สาขาจังหวัดทุกจังหวัดเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้กับเลขาธิการฯ

เลขาธิการกองทุนฯ ให้กำลังใจเกษตรกรมหาสารคาม ได้รับงบฯซื้อหนี้ 188 ล้านบาท รักษาที่ดินได้กว่า 110 ไร่

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566 ที่ศาลาวัดเหนือแวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมด้วยนายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2 และคณะผู้บริหาร ได้เป็นประธานในพิธีมอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับสหกรณ์การเกษตรเมืองมหาสารคาม จำกัด จำนวน 4,222,327 บาท รักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 28 ไร่

เลขาธิการกองทุนฯ กล่าวว่า ยินดีกับพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนในครั้งนี้ ทำให้หมดปัญหาเรื่องที่ดินทำกินจะถูกบังคับคดี ขายทอดตลาด สร้างความปลาบปลื้มยินดีกับทุกฝ่าย แต่ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่รอรับการช่วยเหลือ ซึ่งรอคิวตามลำดับที่คกก.จัดการหนี้ฯได้อนุมัติไว้

สำหรับงบประมาณในการจัดการหนี้ของจังหวัดมหาสารคามครั้งนี้ ได้รับจัดสรรตามจำนวนรายชื่อเกษตรกรที่ครม.ได้อนุมัติไว้จำนวน 295 ราย จำนวน 188 ล้านบาท รักษาที่ดินให้เกษตรกรได้กว่า 110 ไร่ โดยสาขามหาสารคามจะดำเนินการชำระหนี้แทนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะนำเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูอาชีพต่อไป

เลขาธิการกองทุนฯ ลงพื้นที่ร้อยเอ็ดมอบเช็คซื้อหนี้ 79 ล้านบาท รักษาที่ดินได้ 850 ไร่ พร้อมจับมือเจ้าหนี้ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรทุกราย

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.30 น ที่ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้เป็นประธานมอบเช็คชำระหนี้และรับมอบโฉนดที่ดินของเกษตรกรคืนจากสหกรณ์เจ้าหนี้ในพื้นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร นายประจักร์ บุญกาพิมพ์ ผู้แทนเกษตรกรใน คกก.กองทุนฟื้นฟูฯ คณะผู้บริหาร พนักงาน/ลูกจ้าง อนุกรรมการฯ จังหวัดร้อยเอ็ด และเกษตรกรสมาชิกร่วมงานจำนวน 200 คน โดยมีนางบุญเกิด พานนท์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด ให้การต้อนรับ

การมอบเช็คชำระหนี้ครั้งนี้ เป็นงบประมาณ(งบกลาง) ที่กฟก.ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจำนวน 1,500 ล้านบาท ภายใต้กลุ่มเป้าหมาย 2,557 ราย ในส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับการอนุมัติซื้อหนี้ จำนวน 78 ราย จำนวน 79,164,480.27 บาท โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกรได้กว่า 850 ไร่

สำหรับการจัดกิจกรรมมอบเช็คชำระหนี้ให้สหกรณ์ฯ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดครั้งนี้ มีสหกรณ์เจ้าหนี้ที่ยินยอมให้กฟก.ชำระหนี้แทน 4 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรปทุมรัตน์ จำกัด เกเกษตรกรได้รับการจัดการหนี้จำนวน 3 ราย จำนวน 3,257,758.80 บาท สหกรณ์การเกษตรปฎิรูปสุวรรณภูมิห้า จำกัด จำนวน 1 ราย จำนวน 273,744.40 บาท สหกรณ์การเกษตรโพนทอง จำกัด จำนวน 10 ราย จำนวน 13,600,899.71 บาท และสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด 63 ราย จำนวน 58,644,077.36 บาท รวม 77 ราย 86 บัญชี จำนวน 76 ล้านบาท

ภายหลังการมอบเช็คชำระหนี้เสร็จนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการกองทุนฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับเกษตรกรและสหกรณ์เจ้าหนี้ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรที่มีความเดือดร้อนต่อปัญหาหนี้สิน ภายใต้การรักษาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกรสมาชิก ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับการส่งมอบหลักประกันที่ดินในครั้งนี้กว่า 850 ไร่

“ขอบคุณสหกรณ์เจ้าหนี้ที่มองเห็นความเดือดร้อนในปัญหาหนี้สินของเกษตรกร และนำมาซึ่งการยินยอมให้กฟก.เข้ามาชำระหนี้แทนเกษตรกร ซึ่งเป็นงบประมาณ งบกลางที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้อนุมัติมาให้ เมื่อชำระหนี้แล้ว กฟก.จะร่วมมือกับเจ้าหนี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรต่อไป”

ข้อมูลการจัดการหนี้สาขาร้อยเอ็ด เกษตรกรสมาชิก 222,320 ราย ขึ้นทะเบียนหนี้ 17,336 ราย ได้รับชำระหนี้แทน 447 ราย จำนวน 215 ล้านบาท ปิดบัญชีแล้ว 81 ราย จำนวน 12.5 ล้านบาท รักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 2,953 ไร่

เลขาธิการกองทุนฯ ปลื้ม มอบเช็คซื้อหนี้สหกรณ์ฯ ยโสธร 13 ล้านบาท รักษาที่ดินให้เกษตรกรกว่า 670 ไร่

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรกุดชุม จำกัด สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดยโสธร ได้จัดงาน”โครงการประชาสัมพันธ์การดำเนินการตามภารกิจกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมแสดงความยินดีดีกับเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการจัดการหนี้จากสถาบันเจ้าหนี้สหกรณ์การเกษตร และเกษตรกรที่ได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ 4 แบงก์รัฐ ตามมติครม. 22 มีนาคม 2565” โดยมีนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการ สนง.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยนายจารึก บุญพิมพ์ ประธานกก.จัดการหนี้ของเกษตรกร นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกก.บริหารคนที่ 2 และคณะผู้บริหารกองทุนฯ หน.สนง.จังหวัดกลุ่มบูรณาการที่ 9 ตลอดจนพนักงาน อนุกรรมการฯจังหวัดยโสธร จังหวัดใกล้เคียง และพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ และได้รับการจัดหนี้ เข้าร่วมงานกว่า 160 คน

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการกฟก. กล่าวว่า วันนี้รู้สึกดีใจมากที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้ เนื่องจากเป็นงานที่แสดงให้เห็นว่า กฟก.ได้เดินมาไกล ภายใต้ภารกิจที่ทำได้จริงตามกฎหมาย ในการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร และการฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกร แต่ยังทำได้ไม่หมด ต้องเร่งดำเนินการต่อไป แม้ต้องใช้เวลายาวนาน เพราะปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรถือเป็นหน้าที่ของกองทุนฯ ต้องทำให้เสร็จ

เลขาฯกองทุน กล่าวว่า การจัดงานในวันนี้ ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง ที่เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนฯ จำนวน 47 ราย ลูกหนี้ 6 สหกรณ์ ที่อยู่ในพื้นที่ยโสธร เป็นเงิน 13 ล้านบาทเศษ รักษาที่ดินให้เกษตรกรได้ 670 ไร่ ต้องขอบคุณสหกรณ์เจ้าหนี้ คกก.กองทุนฯ และรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร รวมถึงเกษตรกรได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ 700 ราย เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว เกษตรกรทั้งหมดต้องเข้าสู่การฟื้นฟูอาชีพต่อไป

ทั้งนี้สาขายโสธร มีเกษตรกรสมาชิกจำนวน 58,000 ราย ขึ้นทะเบียนหนี้ 4,971 ราย จัดการหนี้แล้ว 478 ราย ใช้งบประมาณไป 62,133,166 บาท รักษาที่ดินทำกินได้ 3,400 ไร่ นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ งบกลางปี 66 จำนวน 47 ราย 13 ล้านบาท และได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ 700 ราย ที่ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้ 3 ปี

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดจ้างพิมพ์เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน ๒๐,๐๐๐ ฉบับ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ ระบบกำกับติดตามและการรายงานการใช้งบประมาณ ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)