เลขาธิการ สไกร เปิดเวทีอบรมติวเข้ม หน.สาขาสร้างความเข้าใจการทำงานปี 66 คึกคัก ย้ำให้ทุกคนทำงานด้วยความโปร่งใส รวดเร็ว ความเดือดร้อนของเกษตรกรต้องได้รับการแก้ไขทันที

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2666 ที่โรงแรมอีโค่ โคซี่ บีชฟร้อนท์ รีสอร์ท เพชรบุรี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ปรับปรุงเพิ่มเติม โดยมี รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนทุกส่วน หัวหน้าสำนักงานสาขาทุกจังหวัด เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้กว่า 100 คน

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบนโยบาย 5 ด้าน ต่อหัวหน้าสำนักงาน ว่า “ภายใต้ภารกิจตามกฎหมายของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น มีหน้าที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 5 ล้านคน ภารกิจที่จำเป็นเร่งด่วนทั้งในขณะนี้และเป็นแผนการทำงานในปี 67 คือ

1. เรื่องการสะสางฐานข้อมูลด้านทะเบียนองค์กรและทะเบียนหนี้ให้มีความเป็นปัจจุบันและถูกต้อง ทันสมัย เพราะจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ให้ทุกสาขาจังหวัดเร่งประมวลและรวบรวมกลุ่มไลน์อนุกรรมการจังหวัดแต่ละจังหวัด เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็วและทั่วถึง อำนวยความสะดวกให้การทำงานในพื้นที่มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

3. การดำเนินงานในระดับพื้นที่ ได้มีการแบ่งเขตบูรณาการกลุ่ม เพื่อขับเคลื่อนงานที่ติดค้าง มีปัญหาให้ได้รับการแก้ไข มีสำนักกิจการสาขาจังหวัด และสำนักงานใหญ่ทุกส่วนงาน เป็นหน่วยประสานงานและให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในทุกด้าน

4. บทบาทหน้าที่ของกฎหมาย ได้มอบนโยบายกับสำนักกฎหมาย ให้มีโครงการนิติกร ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารทางหลักนิติศาสตร์ นำมาช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย

5. งานด้านการตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบเพื่อป้องกัน แนะนำ นิเทศน์ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศที่เกี่ยวข้อง

หลังจากนั้นรองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. นายสมยศ ภิราญคำ และผู้อำนวยการสำนักบริหาร ได้ชี้แจงเรื่องการดำเนินงานตามแผนงานประจำปี 2566 และการดำเนินงานภายใต้ตัวชี้วัดผล 5 ด้านของ กฟก. ที่ประเมินโดย Tris ปิดท้ายเนื้อหาการอบรมด้วยผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ในประเด็นเรื่องมุมมองการดำเนินงานด้านการตรวจสอบภายในของสำนักงานสาขาจังหวัด โดยบรรยากาศในวันแรกเต็มไปด้วยความคึกคัก

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาจ้างโครงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯ ยื่นหนังสือด่วนเสนอรองนายกฯจุรินทร์ และ ดร.เสกสกล ทปษ.นายกรัฐมนตรี ช่วยประสานของงบกลางปี 66 และงบประมาณปี 67 เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรจำนวน 10,400 ล้านบาท

วันที่ 31 ม.ค. 66 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยถึงกรณีความคืบหน้าเรื่องการขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 งบกลาง และงบประมาณประจำปี 2567 ว่า “วันนี้สำนักงานได้มีหนังสือนำเรียนรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการ กฟก. และที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,915 ล้านบาท และการขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 เป็นเงิน 7,480 ล้านบาท เพื่อนำมาดำเนินงานตามภารกิจหลัก 2 ด้านตามภารกิจของ พรบ.กฟก. ได้แก่ ภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ และด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยได้ยื่นเรื่องผ่านสำนักงบประมาณ และนำเรียนเสนอรองนายกจุรินทร์ และที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ดร.เสกสกล เพื่อนำเรียนประสานนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้รับงบประมาณตามที่เสนอไว้

สำหรับงบประมาณที่สำนักงานได้ยื่นเสนอขอผ่านสำนักงบประมาณทั้ง 2 รายการนั้น ประกอบด้วย งบรายจ่ายประจำปี 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,915 ล้านบาท แบ่งเป็น งบเพื่อการจัดการหนี้ฯ จำนวน 1,915 ล้านบาท งบเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 1,000 ล้านบาท และงบประมาณารายจ่ายประจำปี 2567 ได้เสนอขอให้จัดสรร วงเงิน 7,478,315,964 ล้านบาท โดยหลังจากนี้สำนักงานจะเร่งประสานงานติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ และ ดร.เสกสกล ยืนยันจะผลักดันให้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับงบประมาณในการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไปอย่างแน่นอน

ทปษ.รมว.กษ. เปิดงานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2566 เลขากองทุนฯ นำองค์กรเกษตรกรร่วมงานคึกคัก

วันที่ 27 ม.ค. 66 ที่อาคารนิทรรศการจตุรมุข อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2566 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรอีสาน มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 31 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการ ร่วมพิธีเปิดพร้อมกับ นายประยงค์ อัฒจักร ผอ.ภาค3 นายวิญญู สะตะ ผอ.สำนักฟื้นฟูฯและคณะกรรมการส่งเสริมการตลาด องค์กรเกษตรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมเปิดงานอย่างประทับใจ

ในงานนี้สำนักงานกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 ได้จัดนิทรรศการจัดตลาดสินค้าองค์กรเกษตรกร จำนวน 24 องค์กร มาจัดแสดง และตลาด สินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจ บาทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ขององค์กร รวมไปถึงการสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสานต่องานให้บรรลุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกรที่มีความหลากหลายในแต่ในพื้นที่จังหวัด พร้อมทั้งศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านการผลิต คุณภาพ การเผยแพร่ และช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ให้เข้าถึงผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนหาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สืบสานพระราชปณิธานภายใต้ร่มพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ในการนำศาสตร์พระราชามาพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และเผยแพร่ถ่ายองค์ความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรสู่ชุมชน และเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลว่าด้วย การตลาดนำการผลิต เรื่องการเกษตรสู่ยุค Thailand 4.0

โดยมีกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ นิทรรศการแสดงความก้าวหน้าและนวัตกรรมของเทคโนโลยีทางการเกษตรจากหน่วยงานทางการเกษตร การเสวนาและฝึกอบรมอาชีพทางด้านการเกษตร การแสดงนวัตกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตร ตลอดไปจนถึงกิจกรรมการประกวดแข่งขันอื่นๆทางการเกษตร กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 10 วัน ที่อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยฯ ชื่นชอบ ยืนยันเกษตรกรปรับโครงสร้างหนี้ ได้ทันที 30 ม.ค. นี้ นัด 4 แบงก์รัฐหารือแบบ ปคน. การขอเงินชดเชยให้เจ้าหนี้-กฟก. ทำคู่ขนานกับการทำปรับโครงสร้างหนี้

วันที่ 27 ม.ค. 66 ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มีการประชุมหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตัวแทน 4 แบงก์รัฐ ผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯ และนายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี โดยการหารือครั้งนี้สืบเนื่องจากกลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้มาติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง จำนวน 50621 ราย ซึ่งได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. 22 มี.ค. 65 ซึ่งปัจจุบันยังมิได้ดำเนินการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แม้แต่รายเดียว ทั้งที่ ครม. ได้มีมติให้ดำเนินการเรื่องนี้มานานกว่า 9 เดือนแล้ว

ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความเข้าใจ ร่วมกันทั้ง 4 ฝ่ายและนำไปสู่การดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้อง โดยมี นายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานการหารือ ผลการหารือสรุปดังนี้

1. ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง และผู้เกี่ยวข้อง รับทราบความคืบหน้าและผลการอนุมัติของคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเห็นชอบให้เกษตรกรปรับโครงสร้างหนี้ทุกสัญญาเป็นรายบุคคล และเห็นชอบกำหนดกรอบวงเงินชดเชยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระหนี้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินชดเชยให้กับเจ้าหนี้

2. เกษตรกรที่ได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ ที่มารายงานตัวแล้ว 22,079 ราย สามารถเข้าทำการปรับโครงสร้างหนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ครม.อนุมัติเงินชดเชย

3. ให้สำนักงาน กฟก. เชิญผู้แทนธนาคารของรัฐ 4 แห่ง โดยให้ธนาคารของรัฐนำ (ร่าง) สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 มาร่วมหารือกัน ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กฟก. ดำเนินการเชิญประธานที่ประชุม คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนธนาคารรัฐ 4 แห่ง เข้าร่วมหารือรูปแบบเนื้อหาการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวให้ได้ข้อยุติ เพื่อที่จะได้นำความคืบหน้านำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีทราบต่อไป