กองทุนฟื้นฟูฯ เจรจา สถาบันการเงิน

เพื่อทำบันทึกข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้เกษตรกร ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ 4 แบ้งก์รัฐ

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้มีการเจรจากับสถาบันการเงิน ได้แก่  ธ.ก.ส. SME Bank ธนาคารออมสิน บมจ.กสิกรไทย จำกัด บมจ.ทหารไทยธนชาติ จำกัด บมจ.กรุงไทย จำกัด เพื่อร่วมหาแนวทางและจัดทำกรอบบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือ (MOU) ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีธนาคารของรัฐ 4 แห่ง และการจัดการหนี้ให้สมาชิกตาม พ.ร.บ. โดยมีตัวแทนจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร กฟก. คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร รองเลขาธิการ และหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมเจรจานำไปสู่การจัดทำ MOU ฉบับสมบูรณ์

ข้อสรุปจากการหารือ สถาบันการเงินยินดีให้ความร่วมมือและร่วมกันจัดทำร่าง MOU เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ให้เกษตรกรต่อไป

เลขากองทุนฯ มอบนโยบาย 4 ภูมิภาค สั่ง 2 พค.นี้พร้อมรับการรายงานตัวเกษตรกรที่ได้สิทธิ์ ปคน. 50,621 ราย ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมซื้อหนี้ ฟื้นฟูอาชีพให้เสร็จภายใน ก.ย. 65

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. มอบนโยบายการดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 และการใช้จ่าย งบประมาณกลางปี 65 ให้แก่สำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศ โดยกำชับให้สาขาจังหวัดปิดประกาศรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง จำนวน 50,162 ราย เพื่อให้องค์กรและเกษตรกรสมาชิกรับทราบและมารายงานตัวเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ 2 พ.ค.นี้เป็นต้นไป

นายสไกรกล่าวว่า สำนักงานได้เตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานไว้แล้ว เช่น การทำแบบรายงานตัวเข้าร่วมโครงการ การทำแบบรายงานตัวเข้าร่วมการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ (ผค. 1/4) และแบบการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกร ขณะนี้มีความพร้อมทุกด้านแล้ว ในเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณงบกลางปี 2565 ที่รัฐบาลจัดสรรให้ กฟก. จำนวน 2,000 ลบ. แยกเป็น เพื่อซื้อหนี้ 1,500 ลบ. เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูอาชีพ 270 ลบ. และบริหารสำนักงาน 230 ลบ. การใช้จ่ายต้องเป็นไปตามที่ตกลงไว้กับสำนักงบประมาณ หากมีการเปลี่ยนแปลงการ ใช้จ่ายรายการใดจะต้องทำบันทึกรายงานให้สำนักงบประมาณทราบ และต้องใช้งบประมาณให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย. 65 นี้ หากมีงบประมาณเหลือจ่ายต้องคืน สำนักงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายต้องทำรายงานให้สำนักงบประมาณรับทราบก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน จึงจะอนุมัติใช้จ่ายได้ หากไม่จำเป็นไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายงบประมาณ การประชุมชี้แจงการดำเนินงานด้านการใช้จ่ายงบประมาณงบกลางให้กับสาขาจังหวัดได้ดำเนินการครบทั้ง 4 ภาคแล้ว หลังจากนี้สำนักงานสาขาจังหวัดจะเริ่มลุยงานในพื้นที่ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้