กฟก.กาฬสินธุ์ เดินหน้าเจรจาหนี้สมาชิก จัดคลินิกแก้หนี้

กฟก.กาฬสินธุ์ เดินหน้าเจรจาหนี้สมาชิก จัดคลินิกแก้หนี้วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2563) ว่าที่ร้อยตรียงยุทธ เกษาโร พนักงานอาวุโส พร้อมด้วยนางสาวสุนิจษา แสนชมภู เจ้าหน้าที่งานฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงาน ให้ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ฯ การขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร และการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้กับเกษตรกรสมาชิก ซึ่งมีเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมประมาณ 30 คน โดยมีนายประกาย เครือศรี ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนางขวัญธิดา ทองภู ผู้จัดการสหกรณ์ฯ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ เข้าร่วมประชุมโดยจากการตรวจสอบข้อมูลหนี้ และเจรจาขอชำระหนี้แทนเกษตรกร มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้ไว้ จำนวน 195 ราย 222 บัญชี เพื่อจัดทำแผนการจัดการหนี้ ลูกหนี้สหกรณ์ ตามนโยบายการจัดการหนี้ของ กฟก.ซึ่งได้อนุมัติแผนการจัดการหนี้และกรอบงบประมาณเพื่อการจัดการหนี้ ปี 2563 จากผลการเจรจาในครั้งนี้ สหกรณ์ยินยอมให้กองทุนฯ ชำระหนี้แทนเกษตรกร ซึ่งมีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ฯ จำนวน 5 ราย 5 สัญญา ซึ่งสำนักงานจะเร่งจัดทำแผนการจัดการหนี้เสนอคณะอนุกรรมการฯ จังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาอนุมัติชำระหนี้แทนฯ ต่อไป

ประชุม คกก.หนี้

วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2563) สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) โดยสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร ประชุมคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ครั้งที่ 6/2563 โดยมีนายจารึก บุญพิมพ์ เป็นประธาน ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีวาระพิจารณาดังนี้ พิจารณากำหนดสถาบันเจ้าหนี้เป็นนิติบุคคล (เพิ่มเติม) มติที่ประชุมไม่เห็นชอบกำหนดสถาบันเจ้าหนี้ (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)) เป็นสถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถดำเนินการจัดการหนี้สินให้เกษตรกรได้ เนื่องจากบรรษัทดังกล่าว เป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และการประกอบธุรกิจ ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของสถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถดำเนินการได้ ,พิจารณารายชื่อเกษตรกรเพื่อขออนุมัติชำระหนี้แทนเกษตรกร มติที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติรายชื่อตามที่เสนอในครั้งนี้จำนวน 23 ราย ซึ่งเป็นหนี้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถชำระหนี้แทนเกษตรกรได้ สำหรับรายชื่อที่ขอชำระหนี้แทนครั้งนี้ซึ่งมีอยู่ 23 รายนั้น เนื่องจากเป็นหนี้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอยู่ในชั้นเร่งด่วนคือบังคับคดีขายทอดตลาดและผ่านการตรวจสอบครบถ้วนสมบูรณ์ตามกระบวนการของกองทุนฟื้นฟูฯ ทุกขั้นตอนแล้ว ,พิจารณา (ร่าง) หลักเกณฑ์การชำระหนี้แทนเกษตรกร ลูกหนี้สถาบันเกษตรกร(สหกรณ์) มติที่ประชุมเห็นชอบ (ร่าง) ดังกล่าว และจะมีการแต่งตั้งผู้แทนจากกรมบังคับคดีเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนข้อมูลการดำเนินการที่มีความเกี่ยวข้องในขั้นตอนของการบังคับคดีให้ถูกต้อง,พิจารณาโครงการคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประชุมสัญจร 4 ภาค ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามเสนอที่จะมีการลงพื้นที่สัญจรในช่วงระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค. 2563 ตามแผน ที่กำหนดไว้

ประชุม อนุฯพิจารณาหลักเกณฑ์ลูกหนี้ 4 แบงค์รัฐและหนี้เกิน 2.5 ล้าน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) โดยสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีลูกหนี้ธนาคารของรัฐและหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท ครั้งที่ 2/2563 ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยนายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้รับมอบหมายที่ประชุมเป็นประธานการประชุม สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของคณะอนุฯดังกล่าว เนื่องจากหมดวาระลงในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ตามคำสั่งฯ โดยมีวาระพิจารณา (ร่าง) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ และพิจารณา (ร่าง) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กรณีหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน 2 (ร่าง) ดังกล่าว เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่จะประชุมในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นประธาน เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 2 (ร่าง) ดังกล่าวเสนอ ครม.ของบประมาณมาดำเนินการต่อ

นอกจากนี้ยังได้มีการหารือร่วมกับสถาบันเจ้าหนี้ของเกษตรกรสมาชิกตามที่กลุ่มเครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้เร่งให้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อขอให้ธนาคารและสถาบันเจ้าหนี้ต่างๆ ชะลอหรือยุติการขายทอดตลาดนั้น ผลการหารือสรุปได้ว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลหนี้สินของเกษตรกรร่วมกับสถาบันเจ้าหนี้ 4 แห่งของรัฐ ที่เกษตรกรอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร จากนั้นจะดำเนินการเชิญเกษตรกรซึ่งเป็นหนี้เร่งด่วนในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาด สถาบันเจ้าหนี้ ตัวแทนจากกรมบังคับคดี และผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 นี้เป็นต้นไป

ประชุม คกก.บริหาร

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีนายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหารคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธาน ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยที่ประชุมมีวาระพิจารณา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร การติดตามและประเมินผลการดำเนินการ การเบิกจ่ายเงิน และการใช้คืนเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 , พิจารณาอนุมัติโครงการภายใต้แผนงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปี 2563 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามแผน โดยในส่วนของงบประมาณที่จะต้องอนุมัติจัดสรรให้สำนักงานสาขาให้คำนึงถึงขนาดของสำนักงานสาขาจังหวัดด้วยเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์เพื่อเกษตรกรสมาชิกมากที่สุด

เกษตรกรสมาชิก กฟก. ติดตามการนัดหมายเจรจาหนี้สินกับสถาบันเจ้าหนี้

วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2563) เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กว่า 20 คน เดินทางมายังสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อเร่งรัดติดตามการเจรจาหนี้สินร่วมกับธนาคารเจ้าหนี้ของเกษตรกรสมาชิก โดยนายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการเป็นผู้รับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้เกษตรกรสมาชิกได้รับความเดือดร้อนจากการที่ธนาคารต่างๆ ไม่ชะลอหรือยุติการขายทอดตลาด ซึ่งนายมนัส วงษ์จันทร์ รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร ชี้แจงว่า ในวันที่ 18 ก.พ.2563 จะประสานเพื่อนัดหมายเนื่องจากจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีลูกหนี้ธนาคารของรัฐและหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการประชุมกับสถาบันเจ้าหนี้ได้ภายในวันศุกร์นี้

กฟก.ยโสธร ส่งมอบโฉนดคืนเกษตรกรสมาชิกกว่า 30 ไร่

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดยโสธร โดยนางนุชฎา จำเริญสาร หัวหน้าสำนักงานได้โอนโฉนดและส่งมอบโฉนดคืนให้กับเกษตรกรสมาชิก ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ชำระหนี้แทนกับสหกรณ์การเกษตรเลิงนกทา จำกัด ซึ่งครบกำหนดสัญญาชำระเงินคืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมปิดบัญชีขอไถ่ถอนหลักประกันคืนจำนวน 3 ราย  4 แปลง เนื้อที่รวม 32 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินที่ดินจังหวัดยโสธร สาขาเลิงนกทา

กฟก.กาฬสินธุ์ คืนโฉนดที่ดินเกษตรกรสมาชิก

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563
นางดวงใจ ทองโสภณ รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการโอนหลักประกันคืนให้กับเกษตรกร จำนวน 1 ราย มีเนื้อที่รวมจำนวน 1 งาน 5 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ สาขากมลาไสย ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับสหกรณ์
โดยเกษตรกรได้สิทธิ์ตัดดอกทั้งหมดและลดเงินต้น 50% อัตราค่าจัดการร้อยละ 1 ต่อปี กำหนดผ่อนชำระไม่เกิน 20 ปี และไถ่ถอนพร้อมโอนหลักประกันมากองทุนฟื้นฟูฯ และเกษตรกรได้ชำระคืนตามสัญญาเช่าซื้อเรียบร้อยแล้ว จึงได้ดำเนินการโอนและมอบโฉนดคืนให้เกษตรกร ตามมาตรา 37/9 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542

นายกรัฐมนตรี มอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิก กฟก. ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14.00 น. นายสไกร พิมพ์บึง รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วยนางสาวอธิภัทร ก้อวงค์ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน และคณะเจ้าหน้าที่ร่วมให้การต้อนรับการตรวจราชการนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา) และคณะนายกรัฐมนตรี ในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาหมอกควันและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของจังหวัดน่าน และเป็นประธานในการมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร และการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร โดยมีนายวรกิตติ ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นำหัวหน้าหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมให้การตอนรับการลงพื้นที่ดังกล่าว ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดน่าน

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร และนโยบายการรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกร เพื่อส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปนั้น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร และพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร จึงได้เร่งดำเนินการตามโนบาย เพื่อบรรเทาทุกข์ความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกรมาโดยตลอดนั้น  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ชำระหนี้ให้แก่สถาบันเจ้าหนี้แทนเกษตรกร ณ 31 มกราคม 2563 จำนวน 29,360 ราย เป็นเงิน 6,194,719,396.33 บาท และได้มีการโอนหลักทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ที่ กฟก. จำนวน 21,462 แปลง รวมเนื้อที่ 155,260 ไร่ 3 งาน 78.2 ตารางวา

โดยในพื้นที่จังหวัดน่าน สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกร เพื่อลดการดำเนินคดี ลดการบังคับคดี การขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินของเกษตรกร ภายใต้โครงการของรัฐบาลในมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการชำระหนี้แทนเกษตรกร ให้กับเกษตรกร ที่เป็นหนี้เร่งด่วน ถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี พิพากษา บังคับคดี ขายทอดตลาดแล้ว จำนวน 153 ราย รวมเป็นเงิน 11,038,595.41 บาท  เมื่อ กฟก. ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แทนเกษตรกรแล้ว หลักทรัพย์ค้ำประกันแห่งหนี้ของเกษตรกร จะถูกโอนตามกฎหมายมาไว้ที่ กฟก. เพื่อเก็บรักษาไว้ให้เกษตรกร โดยเมื่อเกษตรกรได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพหลังจัดการหนี้ และได้ชำระหนี้คืนตามที่ได้ทำสัญญาไว้แล้ว จึงจะสามารถขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้นั้น

ในปี 2563 นี้ จังหวัดน่าน มีเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนและเข้าสู่กระบวนการเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้กำหนดมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกร จำนวน 2 ราย จำนวน 3 แปลง เนื้อที่รวม 13 ไร่ 3 งาน 04 ตารางวา ดังนี้

1. นายอัด ปายสาร ที่อยู่ 148 ม.14 ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน มอบโฉนดที่ดิน จำนวน 2 แปลง รวมพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน 7 ตารางวา

2. นายแถลง จันทร์คำเรือง ที่อยู่ 59/1 ม.1 ต.ทุ่งศรีทอง อ.เวียงสา จ.น่าน มอบโฉนด น.ส.3 ก จำนวน 1 แปลงจำนวนพื้นที่ 10 ไร่ – งาน 97 ตารางวา

นับเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ที่เน้นการสร้างวินัยทางการเงินให้กับเกษตรกร และให้การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยสามารถรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกร เพื่อส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

ประชุมคณะทำงานพิจารณา (ร่าง) ระเบียบฯ ครั้งที่6/2563

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร จัดประชุมคณะทำงานพิจารณา (ร่าง) ระเบียบ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหนี้ของเกษตรกร ครั้งที่ 6/2563  โดยมีนายนคร  ศรีวิพัฒน์ เป็นประธานการประชุม  โดยที่ประชุมได้พิจารณา (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่องหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ และการจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร และพิจารณา (ร่าง)  ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ฯ เรื่อง การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีมูลหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท พ.ศ. ….  ณ  ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ

ประชุมคณะทำงานตรวจสอบรายชื่อฯ ก่อนการชำระหนี้แทน

วันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2563) สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร จัดประชุมคณะทำงานตรวจสอบรายชื่อ และคุณสมบัติเกษตรกรก่อนการชำระหนี้แทน ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุมชั้น 4 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีนายวิเชียร บุตรศรี ประธานคณะทำงานเป็นประธาน มีวาระในการพิจารณากลั่นกรองรายชื่อเกษตรกรสมาชิกที่เป็นหนี้เร่งด่วน กรณีหนี้สถาบันเกษตรกร(สหกรณ์) ธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคล ซึ่งจากการพิจารณาที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายชื่อเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องในครั้งนี้ จำนวน 23 ราย ซึ่งเป็นหนี้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถชำระหนี้แทนเกษตรกรได้ โดยที่ประชุมจะนำเสนอคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรเพื่อพิจารณาอนุมัติชำระหนี้แทนต่อไป