กฟก.ระยอง ร่วมงาน ปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน

rn

rayong128

rn

rn

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 นายธนสรรค์ สีสม รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดระยองและเกษตรกรสมาชิก เข้าร่วมในการพิสูจน์ความสำเร็จโครงการปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับหอการค้าจังหวัดระยอง เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ณ ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง  จ.ระยอง ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นายวิรัตน์ ศิริสกุลงาม ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง นายอดิศร พวงชมพู ผู้รับผิดชอบโครงการ ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยผลผลิตมันสำปะหลังในแปลงที่เข้าร่วมโครงการให้ผลผลผลิตเฉลี่ยไร่ละประมาณ 30 ตัน ภายในงานมีการจัดการแข่งขันขุดมันสำปะหลัง ผู้ชนะเลิศขุดได้มันสำปะหลัง 1 ต้น น้ำหนัก 2 กิโลกรัม

rn

////////////////////////////

ตั้งเป้าอนุมัติอย่างน้อยจ.ละ5โครงการ การบ้านหัวหน้าสนง.กองทุนฯภาคใต้

 

rn

tai

rn

 

rn

เผยกลยุทธ์ขับเคลื่อนพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้ ตั้งเป้าหัวหน้าสำนักงานเร่งดำเนินการสนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ สมยศ ภิราญคำขีดเส้น 4 เดือนสุดท้ายปี 55 แต่ละจังหวัดต้องเสนอโครงการเพื่ออนุมัติอย่างน้อยจังหวัดละ 5 โครงการ ลั่น ไม่ต้องห่วงเรื่องงบประมาณ เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่จะผลักดันและเสนอขอ

rn

ภูเก็ต นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวให้นโยบายและติดตามงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม แก่หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดภาคใต้ ในระหว่างร่วมงานสัมมนาโครงการ สรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ติดตามการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการบริหารสำนักงาน สาขาจังหวัดภาคใต้ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม 1 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเพิร์ล จังหวัดภูเก็ต ว่า งานส่งเสริมและสนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพแก่องค์กรเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถือว่ายังมีองค์กรเสนอแผนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นงบอุดหนุนหรืองบกู้ยืม

rn

ดังนั้นระยะเวลาที่เหลืออยู่ประมาณ 4 เดือนสุดท้าย ในช่วงปีงบประมาณ 2555 ผมจึงขอกำหนดเป้าหมายให้หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดภาคใต้ เร่งดำเนินการเพื่อผลักดันให้องค์กรเกษตรกรเสนอแผนหรือโครงการ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณอย่างน้อยจังหวัดละ 5 โครงการ

rn

รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวด้วยว่า หัวหน้าสำนักงานไม่ต้องเกรงว่า ทางสำนักงานจะไม่มีงบประมาณที่จะสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นงบกู้ยืม หรืองบประมาณเพื่อการสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรหรืองบอุดหนุน แต่ขอให้หัวหน้าสำนักงานเร่งเสนอโครงการเข้ามาเพื่อขออนุมัติ

rn

ส่วนแนวทางในการดำเนินงานนั้น นายสมยศ ระบุว่า เนื่องจากองค์กรเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ จะมีทั้งองค์กรที่ยังมีกิจกรรมและมีการเคลื่อนไหว เพื่อดำเนินกิจกรรมและองค์กรที่ไม่ดำเนินกิจกรรมแล้ว หัวหน้าสำนักงานจะต้องคัดแยก และจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน โดยเริ่มจากองค์กรที่ยังมีการเคลื่อนไหว หรือมีการทำกิจกรรมก่อน จากนั้นค่อยนำไปสู่การสนับสนุนองค์กรที่ไม่ได้ดำเนินกิจกรรม อาทิ การจัดเวทีประชุมตัวแทนองค์กร เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหว หรือจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก่อนนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อไป

rn

สำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ การฟื้นฟูสภาพปกติ คือให้องค์กรเกษตรกรที่ประสงค์จะของบประมาณสนับสนุน จัดทำแผนหรือโครงการ เสนอผ่านสำนักงานเพื่อขออนุมัติ และโครงการฟื้นฟูหลังการจัดการหนี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวอาจใช้งบประมาณของสำนักงาน หรือเกษตรกรบางรายไม่ต้องการใช้งบประมาณของสำนักงาน ก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

rn

นอกจากนั้นนายสมยศ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ของพนักงาน ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานได้ดำเนินการขอจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งสหกรณ์แล้ว รอผลการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าในเร็ววันนี้ทุกอย่างคงจะเรียบร้อย

ปักธง“ภูเก็ต”เมืองแห่งการฟื้นฟูฯ

 

rn

tai02

rn

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เตรียมปรับนโยบายดำเนินงานเชิงรุก ผลักดัน จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองแห่งการส่งเสริมด้านฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม สมยศ ภิราญคำเลขาธิการกองทุนฯ เผยต้องการผลักดันงานฟื้นฟูฯให้เกิดในพื้นที่ภาคใต้อย่างทั่วถึง

rn

ภูเก็ต นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวในระหว่างการตรวจเยี่ยม องค์กรร่วมใจพัฒนาเกษตรเกาะแก้ว รหัสองค์กร 8343000994 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณกู้ยืม เป็นจำนวนเงิน 320,510 บาท ว่า จากการติดตามและตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและรับฟังบรรยายสรุปสภาพพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ตพบว่า เกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องหนี้สิน

rn

ซึ่งจากการรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร(ทะเบียนหนี้) จะเห็นว่าเกษตรกรในจังหวัดภูเก็ตมาขึ้นทะเบียนหนี้น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ทางภาคใต้ ดังนั้นการดำเนินการของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการให้บริการแก่เกษตรกรใหม่

rn

รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวต่อไปว่า เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกษตรกรอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศ แม้ว่าในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จะไม่ได้ให้ความสนใจขึ้นทะเบียนเกษตรกร หรือมีจำนวนเกษตรกรที่มีปัญหาหนี้น้อย แต่จังหวัดภูเก็ตก็ยังมีเกษตรกร ที่ผลิตพืชผลทางการเกษตร มีการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชอื่น ๆ

rn

ผมเห็นว่าเมื่อเกษตรกรให้ความสนใจใช้บริการด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินน้อย ทางสำนักงานกองทุน จึงสมควรจะส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ จะเป็นการต่อยอดจากอาชีพเดิม หรือสร้างอาชีพใหม่ที่จะสามารถทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงทุนของสำนักงานได้

อุปสรรคการจัดเลือกตั้งพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้

 

rn

tai3

rn

ประชาสัมพันธ์–บัญชีรายชื่อซ้ำ–หน่วยเลือกตั้งกระจุก

rn

อุปสรรคการจัดเลือกตั้งพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้

rn

แม้นว่าการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2555 จะผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา และมีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการแล้ว โดยในพื้นที่ภาคใต้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องเกษตรกร สนับสนุนให้เข้ามาทำหน้าจำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ 2.นายวีระพงศ์ สกล 3.นายสุภาพ คชนูด และ4.นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โดยมีผลคะแนนมากน้อยกว่ากันตามลำดับนั้น

rn

ถึงแม้ว่าภายหลังจากการประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งแล้ว ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องเกษตรกรทั้งหมด ยังไม่ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านการลงนามรับรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ตามที

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะผู้จัดการเลือกตั้ง ซึ่งดำเนินการร่วมกับกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยได้สรุปปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเลือกตั้ง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ในคราวต่อไปให้สมบูรณ์ที่สุด และมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด

rn

โดยเฉพาะสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 14 จังหวัดประกอบไปด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี ตรัง และชุมพร ที่ได้จัดประชุมเพื่อสรุปงานเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งขึ้น ในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเพิร์ล อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งในระดับบริหารและปฏิบัติงาน จากสำนักงานใหญ่และสาขาจังหวัดเข้าร่วมเกือบ 100 คน และมีนายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานเปิดงาน สัมมนาตามโครงการ สรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ติดตามการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการบริหารสำนักงาน สาขาจังหวัดภาคใต้

rn

บัญชีรายชื่อล่าช้าและไม่ตรงกับบช.ปกครอง

rn

บรรยากาศการจัดสัมมนาเต็มไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากมีพนักงานเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสาขาจังหวัดทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งได้เข้าร่วมในเวที แม้ว่าจะเกิดพายุฝนตกหนักในช่วงดังกล่าว โดยในการจัดกิจกรรมนั้น ได้จำแนกกลุ่มจังหวัดออกเป็น 4 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มไปร่วมกันระดมความเห็น ทั้งปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในการจัดเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในคราวต่อไป

rn

ประเด็น ปัญหา อุปสรรค การจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ที่ประชุมได้ร่วมกันสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้ 1. บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยเฉพาะบัญชี 2 สำนักงานใหญ่จัดส่งให้สาขาจังหวัดล่าช้า นอกจากนั้นบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ที่สำนักงานส่งให้สาขากับบัญชีรายชื่อที่กรมการปกครองประกาศยังมีรายชื่อไม่ตรงกัน และเป็นบัญชีรายชื่อที่ไม่เป็นปัจจุบัน และข้อมูลบัตรประชาชนยังไม่ถูกต้อง 2. การจัดส่งเอกสารแผ่นพับเพื่อการรณรงค์การเลือกตั้งไปยังสำนักงานสาขาล่าช้า 3. งบประมาณที่สำนักงานจัดให้สาขาเพื่อใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อม เพื่อจัดการเลือกตั้งน้อย 4.การประสานงานเพื่อทำงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่เชิงบูรณาการมีระยะเวลาสั้น 5. การจัดหน่วยเลือกตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวในพื้นที่เดียวกัน ทำให้เกษตรกรออกมาใช้สิทธิ์น้อย เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย 6. การมอบหมายงานให้กรมการปกครองดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ทางสำนักงานควรกำหนดกรอบการดำเนินงานให้ชัดเจน 7. การจัดประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกษตรกรไม่รับรู้ว่าจะมีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร อีกทั้งมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์สั้น 8. การนับคะเลือกตั้งมีปัญหาเนื่องจากผลไม่ตรงกัน และไม่มีความโปร่งใส 9. การประกาศรับรองคุณสมบัติผู้สมัครมีความผิดพลาด 10. ขาดแผนการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง

rn

ปรับฐานข้อมูลใหม่-อับงบปชส.ทั้งปี

rn

ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการเลือกตั้ง ที่ประชุมได้มีข้อสรุปร่วมกันดังนี้ 1. การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สำนักงานควรปรับปรุงบัญชีรายชื่อ เพื่อให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ทุก ๆ 6 เดือน และควรแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันตรวจสอบบัญชีให้เกิดความถูกต้อง และควรสำเนาบัญชีรายชื่อแจกจ่ายแก่ผู้สมัครทุกคน 2. งบประมาณสนับสนุนการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานควรพิจารณาจัดสรรให้มากขึ้น และเป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ 3. ควรจัดหารางวัลตอบแทนแก่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด และหรือพื้นที่จังหวัดที่สามารถรณรงค์ให้เกษตรกรออกมาใช้สิทธิ์สูงที่สุดในแต่ละภูมิภาค 4. ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้งงานด้านการจัดการหนี้ และงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจน 5. การประเมินผลการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานควรมอบหมายสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานดำเนินการประเมินผล เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่การแก้ไขต่อไปในอนาคต 6. ควรใช้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย อาทิ การจัดเรียลลีตี้โชว์ เพื่อสร้างแรงจูงใจและสร้างสัมพันธ์ที่ดีของเกษตรกรและควรดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 7. สำนักงานควรนำข้อสรุปด้านการจัดการเลือกตั้งไปปรับปรุง และจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์เพื่อเตรียมการเลือกตั้งในคราวต่อไป

rn

8. การจัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ ควรจัดงบเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ตลอดทั้งปี และควรจัดทำสื่อที่มีความหลากหลายเพื่อแจกจ่ายให้ถึงตัวเกษตรกร 9.ควรรณรงค์ให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงสิทธิ์พึงมีพึงได้ของเกษตรกร หากออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และกำหนดโทษกรณีที่เกษตรกรไม่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 10.ควรเพิ่มวาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนเกษตรกร เป็นคราวละ 4 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน 11. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ควรจัดการเลือกตั้งเอง

rn

ยอมรับความผิดพลาดลั่นพร้อมแก้

rn

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวภายหลังการรับฟังการสรุปและสะท้อนปัญหาในการจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ว่า สำนักงานยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และยอมรับว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่ร่วมกันสะท้อนปัญหาเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งทางสำนักงานพยายามแก้ไขให้ถูกต้องและดำเนินการได้ 

rn

การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้ง ทางสำนักงานพยายามดำเนินการ แต่เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะต้องร่วมมือกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่นเรื่องงบประมาณ เราก็ถูกเสนอตัดงบประมาณที่ขอเพื่อจัดการเลือกตั้ง จากรรมาธิการงบประมาณลง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยและไม่สามารถสนับสนุนการทำงานของสาขาได้อย่างเต็มที่รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กล่าวและว่า

rn

ส่วนปัญหาเรื่องระบบฐานข้อมูลองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรสมาชิก ขณะนี้ทางสำนักงานกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง คาดว่าในเร็ว ๆ นี้จะดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากเรากำลังพัฒนาระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะดำเนินการไปอย่างล่าช้าและไม่ทันใจ แต่เราก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

rn

 

ปรับแผน 4 ด้านประเมินผลสำเร็จ “บริหาร-ฟื้นฟู-จัดการหนี้-การเงิน”

 

rn

tai4

rn

สำนักตรวจสอบ ปรับแผน 4 ด้าน ประเมินความสำเร็จของสำนักงาน นิติธรรม์ พิชิตเธียรธรรมระบุ ด้านบริหารสำนักงาน การเงิน การจัดการหนี้ของเกษตรกร และการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรชี้การประเมินทุกอย่างจะวัดจากผลสำเร็จ และผลสำฤทธิ์ในการบริหารสำนักงาน

rn

              ภูเก็ต นายนิติธรรม์ พิชิตเธียรธรรม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ กล่าวชี้แจงถึงแผนการตรวจสอบกิจการภายในองค์กร ในระหว่างการสัมมนาโครงการสัมมนาสรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.2555 ติดตามการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการบริหารสำนักงาน สาขาจังหวัดภาคใต้ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 31พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมเพิร์ล จังหวัดภูเก็ต ว่า สำนักตรวจสอบได้ปรับแผนงานในการตรวจสอบจากเดิม 3 ด้าน เป็น 4 ด้าน ประกอบไปด้วย 1.การตรวจสอบด้านการบริหารสำนักงาน 2.การตรวจสอบด้านการเงิน 3.การตรวจสอบด้านการจัดการหนี้ และ 4.การตรวจสอบด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร

rn

การตรวจสอบทั้ง 4 ด้าน ทางสำนักตรวจสอบ จะเน้นในเรื่องผลสำเร็จและผลสำฤทธิ์ของการดำเนินงาน โดยเฉพาะงานที่สำนักงานกำหนดในแผนที่จะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ

rn

             ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ กล่าวชี้แจงรายละเอียดในการตรวจสอบแต่ละด้านว่า การตรวจสอบด้านการบริหารสำนักงาน ทางสำนักตรวจสอบกำหนดกรอบการตรวจสอบดังนี้ 1.เรื่องสถานที่ตั้งสำนักงาน 2.การจัดว่างโต๊ะ เก้าอี้ 3.ความสะอาดเรียบร้อย 4.การจัดวางแฟ้มเอกสารต่าง ๆ 5.การดูแลทรัพย์สินของสำนักงาน เช่นการจัดทำทะเบียนควบคุม การจัดเก็บ และซ่อมแซม 6.การปิดประกาศข่าวสารของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรบริเวณป้ายประชาสัมพันธ์ 7.พฤติกรรมของหัวหน้าสำนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการให้บริการแก่เกษตรกร

rn

              ส่วนการตรวจสอบเรื่องการเงิน นายนิติธรรม์ กล่าวว่า ทางสำนักตรวจสอบกำหนดกรอบคร่าว ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้จ่ายเงินของสำนักงาน ทางสำนักตรวจสอบจะดูว่า มีการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ ของกองทุนหรือไม่ มีการถัวจ่ายเงินงบประมาณจากกรอบอื่น ๆ บ่อยหรือเปล่า โดยเฉพาะในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อาทิ ค่าที่พัก เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง และมีการเบิกซ้ำซ้อนหรือเปล่า สิ่งที่ทางสำนักตรวจสอบกังวลในคณะนี้คือ การเบิกค่าเดินทางโดยเฉพาะค่าเช่าเหมารถยนต์ประจำสำนักงานรายวันก่อนหน้านี้ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง

rn

               “สำหรับการตรวจสอบในเรื่องการจัดการหนี้ เราจะตรวจสอบโดยการประเมินค่าของเกษตรกร โดยคำนวณจากจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ และจำนวนเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดการหนี้ การตรวจสอบการทำนิติกรรมสัญญา การโอนหลักทรัพย์ของเกษตรกร การจัดทำการ์ดลูกหนี้รายตัว

rn

              ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ยังกล่าวต่อไปด้วยว่า นอกจากนั้นจะตรวจสอบเรื่องการจัดเก็บหนี้ จากเกษตรกรที่สำนักงานได้ชำระหนี้แทน โดยในการตรวจสอบจะพิจารณาจ่ายจำนวนลูกหนี้ที่กองทุนได้ชำระหนี้แทน หักล้างกับจำนวนลูกหนี้ที่ชำระหนี้คือกับกองทุน และการออกหนังสือเพื่อทวงถาม หรือการติดตามหนี้จากเกษตรกร

rn

               ส่วนการตรวจสอบเรื่องการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายนิติธรรม์ กล่าวว่า การตรวจสอบจะแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางแรกเป็นการประเมินสำนักงานสาขา ทำโดยนับเอาองค์กรเกษตรกรทั้งหมดเป็นตัวตั้ง และเอาจำนวนองค์กรเกษตรกรที่เสนอขอสนับสนุนงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นงบอุดหนุนหรืองบกู้ยืม มาเป็นตัวเฉลี่ยเพื่อคำนวณสัดส่วน

rn

ประเด็นต่อมาจะเป็นการประเมินจากประสิทธิภาพขององค์กรเกษตรกร โดยเฉพาะการบริหารจัดการองค์กร การใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการ การจัดทำการ์ดลูกหนี้รายตัวขององค์กรเกษตรกร รวมทั้งการจัดทำระบบฐานข้อมูลของสำนักงาน เพื่อควบคุมการชำระเงินกู้ยืม

rn


สมาชิกเกษตรกร กฟก. ยโสธร เฮ..ได้รับการจัดการหนี้เร่งด่วน

 

rn

yaso14

rn

เมื่อวันที่  1  มิถุนายน 2555  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดยโสธร  ได้ดำเนินชำระหนี้สินแทนสมาชิกเกษตรกร  กรณีถูกสหกรณ์การเกษตรคำเขื่อนแก้ว  ดำเนินคดีและพิพากษา  จำนวน 4 ราย  มูลหนี้  416,492.91  บาท 

rn

นางสาวสุชาดารัช  โพธิคลัง  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดยโสธร   กล่าวว่า เกษตรกรทั้ง 4 ราย ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้แทนให้ในวันนี้ เป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตรคำเขื่อนแก้ว จำกัด เป็นหนี้กรณีถูกดำเนินคดี 1 ราย และกรณีถูกพิพากษา 3 ราย ยอดหนี้รวม 416,492.91 บาท ซึ่งสำนักงานช่วยรักษาที่ดินทำกินไว้ไม่ให้ตกไปอยู่ในเอื้อมมือของนายทุน จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 23 ตารางวา จากการที่ได้พูดคุยกับเกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือในครั้งนี้ ทุกคนต่างรู้สึกดีใจที่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปช่วยเหลือ ชำระหนี้แทน ทำให้จำนวนหนี้ลดลงครึ่งหนึ่ง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงาน  สาขาจังหวัดยโสธร  ได้ชำระหนี้สินแทนสมาชิกเกษตรกรรวมทั้งสิ้น  64  องค์กร 231 ราย  เป็นเงิน 30,837,094.27  บาท  แบ่งเป็น ประเภทใช้บุคคลค้ำประกัน  140 คน  และประเภทใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน  91 ราย  181 แปลง รวมที่ดินทั้งหมด 1,308  ไร่ 1 งาน 89 ตารางวา

rn

สำนักงานสาขาจังหวัดยโสธร มีภารกิจหลักในการดูแลฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และดูแลแบ่งเบาภาระหนี้สินของเกษตรกรที่มีความเดือนร้อนเป็นหนี้ในระบบ ที่เกิดจากภาคเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นเกษตรกรรายใดที่มีความประสงค์จะขอรับบริการ หรือขอคำปรึกษาทั้ง 2 ด้านนี้ สามารถติดต่อขอทราบข้อมูลและหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ อาคารประชาสังคมจังหวัดยโสธร เลขที่ 59/1 ถนนวารีราชเดช อ.เมือง จ.ยโสธร เบอร์โทรศัพท์ 045-714072 ได้ในวันเวลาราชการ

rn

เยี่ยมสมาชิกเข้าร่วม ปคน. ทุกคนอุ่นใจ ความเป็นอยู่ดี หนี้ลดลง

 

rn

yso140655

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดยโสธร ร่วมกับคณะอนุกรรมการจังหวัดยโสธร  เยี่ยมสมาชิกเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ตาม มติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553

rn

นางสาวสุชาดารัช  โพธิคลัง  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดยโสธร   กล่าวว่า โครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ตาม มติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553  จังหวัดยโสธร มีรายชื่อเกษตรกรที่สามารถเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ จำนวนทั้งสิ้น  4,568 คน ประกอบด้วย  กลุ่มที่ 1  จำนวน  410 คน  และกลุ่มที่ 2  จำนวน  4,158 คน   สมาชิกเกษตรกรแจ้งเข้าร่วมโครงการจำนวน 1,552  คน  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดยโสธร ได้นำเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมของหน่วยฝึกอบรมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในเขตจังหวัดยโสธร จำนวน 5 หน่วยฝึกอบรม  และได้ผ่านการฝึกอบรมฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,075 ราย  125 องค์กร  โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น  2,113,925 บาท  สมาชิกเกษตรกรได้ดำเนินจัดทำสัญญา ปคน.3 และโอนหนี้แล้ว จำนวน  57 คน  จากรายชื่อสมาชิกเกษตรกรในจังหวัดยโสธรที่สามารถจัดทำสัญญา ปคน.3  จำนวนทั้งสิ้น  263 คน

rn

ในวันพุธที่  7  มิถุนายน  2555  ที่จะถึงนี้  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดยโสธร และสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3  ร่วมกับ ธ.ก.ส. จังหวัดยโสธร จะดำเนินการจัดเวทีความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ตาม มติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553  ณ ห้องประชุม 1   อาคารหลังใหม่  ศาลากลางจังหวัดยโสธร

rn


rn

yso1406552

บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการตามบทเฉพาะกาลของ พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒

บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการตามบทเฉพาะกาลของ พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒

rnดาวน์โหลด